บันทึกตอบความเห็น"ศรัทธา ....."


จากบันทึก ราวกับพระพุทธองค์ทรง ทั้งปลอบและขู่(1) คุณพ่อน้องซอมพอได้ทิ้งคำถามไว้ว่า

  • ศรัทธาเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความเพียร ศีล สมาธิ และปัญญา ที่เขาเรียกว่า "พละ ๕" ใช่ไหมครับ
  • แต่หลายกรณีเราพบว่า "ความศรัทธา" ก็นำไปสู่แนวทางที่ไม่เหมาะ ไม่ควรก็มี ทำไงดีครับ
  • ขอคำชี้แนะด้วยครับ

ขออนุญาตเรียนดังนี้นะคะ

ศรัทธาในศาสนาพุทธมีหลายระดับค่ะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ชักนำเราเข้าสู่ศาสนาพุทธ หลักธรรมในศาสนาพุทธมักสัมพันธ์กับการ หมุนวน ค่ะ ดังเช่นคำว่าศรัทธานี้ อันที่จริงเป็นปัญญาในระดับต้น

ปัญญา แบ่งเป็น 3 ระดับ คือศรัทธา สัมมาทิฏฐิ และญาณ

ทั้งศรัทธา และสัมมาทิฏฐิ ก็ยังมีระดับความ แก่รอบ อีกค่ะ แต่จะเป็นระดับต้นๆ คือยังมีความเป็นสัมมาทิฏฐิน้อยๆอยู่ หรือมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังเรียกชื่อเดิม จนเมื่อพัฒนาถึงระดับสูงสุด จึงเปลี่ยนรูปไป เช่น สัมมาทิฏฐิที่เจริญเต็มที่ ก็กลายเป็นญาณไปค่ะ

เหตุที่ศรัทธาเป็นปัญญาระดับหนึ่งก็เพราะ ต้องประกอบด้วยการพิจารณา และการหาเหตุผลเพิ่มเติมค่ะ เพราะถ้าศรัทธาแล้วมอบใจให้ไปเลย ไม่ศึกษาต่อ ศรัทธาก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาสไปได้ ดังนั้นถ้าจะไม่ต้องการให้ศรัทธานำไปสู่ความงมงาย ก็ต้องอาศัยการศึกษาเข้าช่วยค่ะ

คำว่าศรัทธาที่น่าสนใจคือในหมวดธรรม คือ อินทรีย์5 และพละ 5 เพราะประกอบด้วยธรรมที่มีชื่อเหมือนกัน แต่หน้าที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา

อินทรีย์ 5 (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์) คือ สภาพที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนในการกวาดล้าง หรือครอบงำอกุศลธรรมอันตรงข้ามกัน เป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เป็นธรรมที่พระพุทธองค์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า เป็นผลต่อเนื่องกัน นั่นคือ

มีศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร เมื่อมีความเพียร ช่วยให้สติมั่นคง เมื่อสติมั่นคง เวลากำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็เกิดความเข้าใจในคุณโทษของวัฏฏะ เห็นอริยสัจ คือเกิดปัญญานั่นเอง

(แต่ธรรมทั้ง 5 นี้ ต้องสมดุลกัน (สมตา) ค่ะ เช่นหากศรัทธามากไป ก็อาจละเลยการใช้ปัญญา ถ้าเพียรมากไปก็อาจเคร่งเครียดได้ พิจาณามากไปก็อาจฟุ้งซ่านได้ จึงต้องใช้สติ คอยควบคุม ต้องใช้วิมังสา (ธรรมในอิทธิบาท 4) คอยตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อปรับสมดุลของธรรม อย่าให้ธรรมใดธรรมหนึ่งมากเกินไป แต่อย่างไรก็ดี มีบางที่พระพุทธองค์รับรองว่ามี บางท่าน มีเพียงปัญญาอย่างเดียวก็หลุดพ้นได้)

ศรัทธาอาจไม่นับเนื่องรวมในหมวดอินทรีย์ 5ก็ได้ค่ะ เช่นศรัทธาที่นำไปสู่สีลัพพตปรามาส จนกว่าจะเป็นศรัทธาที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปสู่การปล่อยวาง จึงจะนับเนื่องเป็นหมวดธรรมนี้ (พุทธทาสภิกขุ โพธิปักขิยธรรมประยุกต์ หน้า 319) นั่นคือ เมื่อเริ่มศรัทธาแล้ว จึงเพิ่มการศึกษาและการปฏิบัติ เมื่อศึกษาและปฏิบัติ ก็หมุนวนไปเพิ่มศรัทธาให้ยิ่งแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จนไม่คลอนแคลนไปจากพระพุทธองค์ ไปจากการปฏิบัติ (ในโพธิปักขิยธรรม 37 อันเป็นธรรมที่นำไปสู่การหลุดพ้น รวมเอาทั้งอินทรีย์ และพละ เข้าไว้ด้วย แสดงถึงความสำคัญของธรรมนี้ค่ะ)

ส่วนพละ 5 ธรรมอันเป็นพลัง มีชื่อเดียวกับอินทรีย์ค่ะ เพียงแต่เติมคำพละต่อท้าย (สัทธาพละ วิริยะพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ) คือ มีกำลังจนธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเข้าครอบงำไม่ได้ เช่น ศรัทธาที่แก่กล้าจนใครมาชวนให้เปลี่ยนศาสนาก็ไม่เปลี่ยน ศรัทธาที่มากขึ้น(เพราะเห็นผลในการปฏิบัติ)จนไม่ยอมถอยหลังในการปฏิบัติ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปัญญาเจริญขึ้นมาก ศรัทธาควรจะหายไปค่ะ เพราะความเชื่อโดยมีบุคคลภายนอกเป็นปัจจัย ถูกแทนที่ด้วยด้วยความรู้แจ้งด้วยตนเองหมดแล้ว ดังคำว่าอรหันต์นั้น เรียกอีกอย่างว่า อัสสัทธะ คือผู้ไม่มีศรัทธานั่นเอง

ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น คือมรรคมีองค์ 8 ที่รวบยอดลงเป็นหลักไตรสิกขา ค่ะ

ซึ่งมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยสัจจ์ ข้อ 4 หรือมัชฌิมาปฏิปทา (แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายคือความหลุดพ้น) คือ

1 สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ( ความหมายอยู่ใน ราวกับพระพุทธองค์ทรง ทั้งปลอบและขู่ (3) แล้วค่ะ)

2 สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริออกจากกาม ดำริในการไม่พยาบาท ดำริในการไม่เบียดเบียนและผู้อื่นให้เดือดร้อน

3 สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดให้เขาแตกกัน

4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ หรือประพฤติชอบ นั่นคือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือประกอบอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย (แต่ในทางศาสนารวมอาชีพที่ทำลายชีวิตและความปลอดภัยของผู้อื่นด้วย เช่นไม่ค้าขายยาพิษ อาวุธ เป็นต้น)

6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือเพียรปิดกั้นอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรระงับอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด และเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

7 สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่สติปัฏฐาน 4

8 สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4

สัมมาทิฏฐิ จัดเป็นปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเป็นศีล ส่วน สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเป็นสมาธิ ค่ะ

การนำธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ประโยชน์กับชีวิต เราจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมรรค จึงเกิดการหมุนวนของมรรคค่ะ มรรคจึงค่อยๆ สุกรอบ ขึ้นเรื่อยๆตามการปฏิบัติ

แล้วมรรคที่เป็นโลกิยะค่อยๆเปลี่ยนเป็นมรรคที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปสู่การปล่อยวาง (บางที่ว่าการสลัดคืนบ้าง นิพพานบ้าง) อันเป็นมรรคฝ่ายโลกุตตระ

มรรค จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเราค่ะ จากเราที่เป็นปุถุชน ให้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นกัลยาณชน จนไปสู่อริยบุคคลตามลำดับ

เรื่องราวยาวไปนิด หวังว่าคงครอบคลุมคำถามนะคะ

และขอบคุณค่ะที่ไว้ใจให้หาเรื่องมาเล่า

หมายเลขบันทึก: 354267เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

....การนำธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ประโยชน์กับชีวิต เราจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมรรค จึงเกิดการหมุนวนของมรรคค่ะ มรรคจึงค่อยๆ “สุกรอบ” ขึ้นเรื่อยๆตามการปฏิบัติ...............

 

ครูกระเเตชอบประโยคนี้จังค่ะ....ขอบคุณบันทึกดีๆที่ให้ความกระจ่างในเรื่องของศรัทธานะคะ

ว้าว...มาไม่ทันมาตายี..อิๆๆ

ขอบพระคุณที่อธิบายธรรมอย่างละเอียดครับ...

ชอบภาพบรรยากาส เช่นนี้จังครับ..

อยากให้มีบทความแบบนี้ใน G2K มากขั้นในครับ เป็นอะไรที่ดีครับ

  • ขอบคุณอย่างยิ่งนักครับ เข้าใจอะไรอีกมาก คงต้องนำเอาไปฝึกฝนตนเองต่อไปครับ
  • ด้วยจิตคารวะ

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาทักทายค่ะ

ไม่ได้คุยกันเลยนะค่ะ

คิดถึงค่ะ

สบายดีหรือเปล่าค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้ค่ะ ธรรมมะเป็นเรื่องใกล้ตัว ปฏิบัติธรรม นำสุขใจ

สติ สมาธิ นำมาใช้บ่อยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา..มาเรียนรู้ธรรมมะที่นำมาซึ่งความสุขใจ..ถ้าได้ฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

 

มาส่งรอยยิ้มและความปรารถนาดีต่อกัน  และเรียนรู้ธรรมะ ปฏิบัติแล้วมีแต่ความสุข สงบ เย็นใจค่ะ

ขอให้มีความสุขและพบกับสิ่งดีๆ ตลอดๆไปนะคะ

 

 

ขอบคุณ ครับที่แวะอ่านบันทึกที่ดูเหมือนไร้สาระ

ขอบคุณกับความรู้ในทางพุทธ อย่างมากมาย

ขอบคุณ

คุณ ณัฐรดา อุบาสิกา ที่ให้กำลังใจ

  • มาเยี่ยม มาสดับรับฟังธรรมะ ตอนเช้า...

มาชวนไปถวายพระพรครบ ๖๐ ปีวันราชาภิเษกสมรสค่ะ :

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/354672

2274022y9b148k6z9 

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

มาทักทายและนำดอกกระบองเพ็ชรบาน มาฝากค่ะ

(^___^)

Pa2700090 

เจอแล้วพี่ณัฐรดา พี่น่าจะทรายเรื่องนี้น่ะค่ะ

พวกเค้าอยู่บนฝาผนังโบสถ์ค่ะพี่ พี่รู้มั้ยค่ะว่าพวกเค้าคือนางฟ้าหรือนางมารในตำนานค่ะ

 

http://gotoknow.org/blog/pa17/354086

พี่ณัฐรดา ช่วยอธิบายให้กอได้รู้หน่อยน่ะค่ะ

ในบันทึกที่แนบมาค่ะ ขอบคุณน่ะค่ะ

พี่สาวกอบอกว่า ก็มันมีทั้งที่เป็นนางฟ้า และที่มารมันแปลงมา

เค้าแค่จินตนาการของคนที่วาด

กอก็เลยสงสัยว่าคนที่วาดเค้าลามกหรือเปล่าค่ะ ทำไมไม่ให้ใส่สไบสวย ๆ น่าจะดูดีกว่าด้วยซ้ำ

ทำให้คนอื่นต้องมาดูถูกศาสนาเรา

พี่ณัฐค่ะ สบายดีไหมเอ่ย  ใกล้ถึงเทศกาลหยุดผ่อนพักกาย ฝีกจิตอีกแล้วนะคะ

คงคิดถึงพี่ณัฐ ปูจะไปฝึกจิต เก็บตัวเงียบๆ สักพักค่ะ ไม่ทราบว่าจะได้แค่ไหน ;)

คิดถึงภาพวาด สวย ลายเส้นงาม เปี่ยมความหมาย ของพี่ณัฐ ขอบคุณค่ะ

  • ตามมาอ่าน
  • หาพี่ไม่พบ(ว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงประกาศหาญาติแล้ว กลัวเขาว่า ฮ่าๆ)
  • โอโหคนเต็มเลย
  • เอามาฝากครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/361188

พี่ณัฐจ๋า มาด้วยความคิดถึง มาชวนไปชมเมฆฝีมือแฟนภาพวาดพี่ณัฐด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

ตั้งใจมาทักทาย รายงานตัวกับพี่ครับ

พี่คงสุขกาย สบายใจดีนะครับ

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท