มารู้จักหมอนรองแผลกดทับ จากยางพารา


มารู้จักหมอนรองแผลกดทับ จากยางพารา

ฉบับที่ 1088 ประจำวันที่ 3-4-2010  ถึง 6-4-2010 ]

มารู้จักหมอนรองแผลกดทับ จากยางพารา

   + อันดับข่าวอ่านมากที่สุดนี้
เสี่ยตันฟุ้งโออิชิโตท้าวิกฤติ...
อสังหาฯฝ่ากระแสม็อบแดง ...
ปณท.เทพันล.พัฒนาไอที ...
หุ้นไทยหวั่นทหาร 'เอ็กเซอร์ไซซ์ '...
ถอดรหัส 'สูตร321' นรก-สวรรค์ การเมืองไทย...
'ทีโอที'ปลุกผีเทเลคอมพูล...
บาทแข็งสูญ 6 แสนล้าน...
 
 


                      ในปัจจุบันปัญหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับตัวได้เป็นเวลานาน มักเกิดอาการของแผล กดทับบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อทำให้เกิดความพิการ และต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา การป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตทำได้โดยการพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง แต่ในผู้ป่วยที่ดมยาสลบและผ่าตัดเป็นเวลานานไม่สามารถขยับตัวได้ จึงหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะเกิดแรงดันกดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

เหตุนี้คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งประกอบด้วย ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ คณะแพทยศาสตร์, ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.เจริญ ยุทธ เดชวายุกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ศ.นพ.วิทูร ลีลามานิตย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงมีความพยายามที่จะประดิษฐ์วัสดุรองรับเพื่อป้องกันบริเวณ

ที่จะเกิดแผลกดทับสูง เช่น บริเวณศีรษะและใบหน้า ด้วยความพยายามใช้ยางพาราแปรรูป ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายภายในประเทศและช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ยางพารา ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่าหลายเท่า โดยหมอนเจลฯ ที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคา 8,000-10,000 บาท ในขณะที่หมอนเจลฯ ที่ผลิตเองมีราคาประมาณ 4,500 บาท

หมอนเจลรองศีรษะป้องกันแผลกดทับ (Latex polymer head pad for intraoperative pressure sore pre-vention) ที่ว่านี้ผลิตจากพอรียูรีเทนเจลแล้วห่อหุ้มด้วยยางพารา แปรรูปที่ปรับโมเลกุลแล้ว เพื่อให้สามารถยึดหยุ่นได้ตามแรงกดทับ และพยายามปรับความนิ่มของเจลให้เหมาะกับการใช้

งาน รูปทรงของหมอนออกแบบเพื่อรองรับศีรษะสำหรับใช้ใน การผ่าตัดท่านอนตะแคงและคว่ำ เพื่อลดแรงกดบริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้ม และ ลูกตา และออกแบบให้มีช่องสำหรับใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อดูแลผู้ป่วยได้สะดวก ขึ้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก 22 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 10 เซนติเมตร สูง 5 เซ็นติเมตร

จากการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยจำนวน 51 รายที่มาผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึกในห้องผ่าตัดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบว่าผู้ป่วย 35 ราย หรือร้อยละ 68.6 ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสหมอนเจลฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และผู้ป่วย 16 ราย หรือร้อยละ 31.4 ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสหมอนเจลฯ เกิดรอยแดงเล็กน้อย โดยที่ผู้ป่วยทุกคนที่ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง สามารถหายกลับสู่สภาพเดิมภายในเวลา 30-60 นาที

นอกจากนี้ การนำไปใช้ในห้องผ่าตัดใหญ่ของโรงพยาบาล สงขลานครินทร์แล้ว ปัจจุบันหมอนเจลฯมีการนำไปใช้ในห้องผ่าตัดใหญ่โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งโรงพยาบาลอีกหลายแห่งทั่วประเทศ และจากการตอบรับอันดีจากผู้ใช้ คณะผู้วิจัยจึงได้ต่อยอดประดิษฐ์วัสดุรองรับป้องกันแผลกดทับในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยมากขึ้น ได้แก่ “แผ่นรองนั่งป้องกันแผลกดทับ” สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และ “หมอนรองรักแร้ป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดท่านอนคว่ำ” อีกด้วย

        ที่นำมาบอกล่าวนี้ก็เพื่อจะได้ทราบข้อมูลว่าถ้าใครมีญาติเจ็บป่วยนอนอยู่กับที่ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ท่านผู้ใดสนใจก็สามารถติดต่อไปที่คณะวิจัยมหาวทยาลัยสงขลานครินทร์ดังมีรายนามปรากฏอยู่ข้างต้นแล้ว 

      จากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 3-6 เมษายน  พศ.2553

 

หมายเลขบันทึก: 353883เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท