บทคัดย่องานวิจัย


เศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อเรื่อง   การรายงานรายงานการใช้คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียงสู่สถานศึกษา

ผู้วิจัย      มาลี  สืบกระแส  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  สพท.ลพบุรีเขต 1 

ปีที่วิจัย    พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

              การรายงานรายงานการใช้คู่มือเอียดดังต่อไปนี้ึกษา  เพื่อก่อให้เกิดต่อวงวิชาการ    ให้เป็นหัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา  รับผิดแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้

                1. เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

                       1)  ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  เทียบกับเกณฑ์ 80 / 80

                       2) ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาจากร้อยละของความก้าวหน้าก่อนและหลังการศึกษาคู่มือ และจากการทดสอบ            ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการศึกษาคู่มือ

                2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาระหว่างก่อนและหลังการศึกษาคู่มือ

                3. เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

                4. เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของนักเรียน หลังการใช้คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในการนิเทศ         การจัดการเรียนรู้

                 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่  ครูและนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  จำนวน  235  โรง ประกอบด้วย  ครู จำนวน 4,019  คน โรงเรียน จำนวน 235โรง นักเรียน  จำนวน 70,031  คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 363 คน   โดยการการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน จำนวน  726  คน  ให้ครูกลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากจากนักเรียนที่เรียนกับครูกลุ่มตัวอย่าง   อัตราจำนวนครู:นักเรียนเท่ากับ  1:2 

         สรุปผลการดำเนินการ

                1. ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

                       1.1  ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ  ภาพรวมพบว่าคู่มือมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย=4.38)

                        1.2  ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  เทียบกับเกณฑ์ 80 / 80  ภาพรวมพบว่า  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  89.05/91.04 

                        1.3  ประสิทธิภาพของคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาจากร้อยละของความก้าวหน้าก่อนและหลังการศึกษาคู่มือ และจากการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการศึกษาคู่มือโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ  39.29  และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  113.80  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  59.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25

                2. ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาระหว่างก่อนและหลังการศึกษาคู่มือโดยภาพรวม  พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังศึกษาคู่มือสูงกว่าก่อนศึกษาคู่มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

                3. ผลการศึกษาการปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาพรวมพบว่าครูปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่  เมื่อจำแนกรายข้อ พบว่าส่วนใหญ่การปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูอยู่ในระดับปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่  ยกเว้นข้อที่  3 ปฏิบัติตนโดยอาศัยความมีเหตุมีผล  อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นประจำ( =4.52)  ข้อที่  6 มีคุณธรรมและใช้หลักความซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินชีวิต อยู่ในปฏิบัติเป็นประจำ( =4.54)  และข้อที่  9 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นประจำ

                4. ผลการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของนักเรียน หลังการใช้คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในการนิเทศการจัดการเรียนรู้

                        4.1 การเปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของนักเรียน หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                        4.2  ผลงานการเขียนแผนผังความคิดสะท้อนพฤติกรรมการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของนักเรียน  พบว่า  ได้คะแนนระดับเหรียญทอง (ดีมาก)  มากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  85.26  รองลงมาได้แก่คะแนนระดับเหรียญเงิน (ดี)  คิดเป็นร้อยละ  12.94  และอันดับสุดท้ายได้แก่คะแนนระดับเหรียญทองแดง(พอใช้) คิดเป็นร้อยละ  1.80  ไม่มีผลงานของนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับชมเชย

                        4.3  การปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ภาพรวมพบว่า  นักเรียนปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปฏิบัติเป็นประจำ

หมายเลขบันทึก: 353462เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สุพิชฌาย์ ฟ้าหวั่น

สวัสดีค่ะ

ขอความกรุณาช่วยเป็นที่ปรึกษาให้บ้างได้ไหมคะ

พอดีสนใจทำเรื่องนี้เพิ่งเป็นศน.ได้ 1 ปีเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท