๔.รูปแบบของข้อสอบแบบเลือกตอบ


รูปแบบของข้อสอบแบบเลือกตอบ โดย...อาจารย์เยาวเรศ จันทะแสน

1. รูปแบบคำถามเดี่ยว (Single Question)
1.0 แบบคำถามถูก
    1.1 ชนิดคำตอบถูกต้อง คือ เป็นคำถามที่มีคำตอบถูกต้องแน่นอนตามหลักวิชานั้น ๆ และมีคำตอบถูกต้องเพียงประการเดียวทุกข้อ
    1.2 ชนิดคำตอบที่ดีที่สุด
    1.3 ชนิดคำตอบใกล้เคียง เป็นคำถามที่ต้องการให้หาคำตอบที่มีค่าใกล้เคียงที่สุด
2.0 แบบเติมคำ
    2.1 ชนิดเติมแห่งเดียว
    2.2 ชนิดเติม 2 แห่ง
3.0 แบบเปลี่ยนแทน
    3.1 ชนิดเปลี่ยนแปลง เป็นคำถามที่ต้องการวัดความสามารถในการแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง
    3.2 ชนิดปรับปรุง เป็นคำถามที่ต้องการให้ปรับปรุงถ้อยคำสำนวนที่มีคุณภาพ
4.0 แบบคำตอบไม่จำกัด เป็นคำถามที่มีตัวเลือกเป็นคำตอบถูกแต่ละข้อไม่จำกัดตายตัวว่ามี 1 ตัวเลือก เหมือนข้อสอบเลือกตอบทั่ว ๆ ไป
5.0 แบบคำตอบรวม
    5.1 ชนิดคำตอบผสม
    5.2 ชนิดคำตอบคู่
6.0 แบบคำตอบไม่สมบูรณ์
    6.1 ชนิดคำตอบย่อ
    6.2 ชนิดคำตอบไม่สำเร็จ
7.0 แบบนิเสธ
    7.1 ชนิดตำแหน่งผิด
    7.2 ชนิดประเภทของความผิด
    7.3 ชนิดตรงข้าม
    7.4 ชนิดคำตอบผิด
8.0 แบบเรียงลำดับ
    8.1 ชนิดลำดับเรื่องราว
    8.2 ชนิดลำดับเวลา
    8.3 ชนิดลำดับคุณลักษณะ
    8.4 ชนิดลำดับวิธีการ
     8.5 ชนิดลำดับเหตุผล
9.0 แบบอนุกรม
    9.1 ชนิดต่ออนุกรม
    9.2 ชนิดอนุกรมสัมพันธ์
10.0 แบบขาดเกิน
    10.1 ชนิดขาด
    10.2 ชนิดเกิน
    10.3 ชนิดเพียงพอ
11.0 แบบสัมพันธ์
    11.1 ชนิดสาเหตุและผล
    11.2 ชนิดอุปมาอุปไมย
    11.3 ชนิดเชื่อมโยง

2. รูปแบบตัวเลือกคงที่ (Constant Choice)
ชนิดที่ 1 : แบบจำแนกประเภท
    รูปแบบคำถามชนิดนี้มีจุดมุ่งหมายให้จำแนกหรือจัดประเภทเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งแทรกอยู่แล้วโดยทั่วไป ในทุกวิชา แต่สามารถพัฒนาให้เป็นคำถามที่ยากขึ้นโดยให้จำแนกในแง่ของการ แปลความและตี ความหมาย
ชนิดที่ 2 : แบบหลายคำตอบ
1. ต้องเป็นเนื้อเรื่องใหญ่ที่มีหัวข้อย่อยมาก ๆ หรือมีสมาชิกมีเงื่อนไข เกี่ยวกับเรื่องราวนั้นๆ
2. ปัญหาที่ถามแต่ละข้อเหล่านั้น อาจมีคำตอบถูกอยูหลายประการหรือเกี่ยวข้องกับหลาย สาเหตุหรือมี หลายเงื่อนไข
3. เป็นเจตนาที่จะวัดผลสัมฤทธิ์เบ็ดเสร็จของเรื่องน้นให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ไม่แยกเป็นชิ้น ๆ ท่อน ๆ เหมือนคำถามเดี่ยว
ชนิดที่ 3 : แบบหลายเงื่อนไข
    โครงสร้างทั่วไปของคำถามแบบนี้แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกเป็นการกำหนดเรื่องหรือทฤษฎีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จากนั้นยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ มาให้พิจารณาเป็นข้อ ๆ ถึงขั้นตอบว่า ข้อความแต่ละข้อนั้น ๆ กล่าวถูกต้อง หรือขัดแย้ง หรือสนับสนุน รวมเป็น 3 ตอน แบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐานจะเรียงสลับกันเป็นเงื่อนไข ตัวเลือก ตัวคำถาม

3. รูปแบบสถานการณ์ (Situational Test)
    เป็นข้อสอบที่ใช้วิธีการกำหนดข้อความ ภาพ ตาราง ให้อ่านหรือพิจารณาดูก่อน แล้วตั้งคำถามเกี่ยวกับ ข้อความหรือภาพ หรือตารางที่กำหนดให้
1. สถานการณ์ที่กำหนดขึ้น อาจจะใช้ข้อความ คำพูด คำสนทนา บทประพันธ์ หรือรูปภาพ หรือเป็นตารางตัวเลข 2. การถามควรถามแง่มุมที่ต้องคิดและพิจารณา ไม่ควรถามตรงตามสถานการณ์ที่กำหนดหรือถามนอกสถานการณ์จนเป็นเรื่องทั่วไป

อ้างอิงจาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/index.html

คำสำคัญ (Tags): #รูปแบบข้อสอบ
หมายเลขบันทึก: 353461เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท