๓.การสร้างแบบทดสอบชนิดต่าง ๆ


การสร้างแบบทดสอบชนิดต่าง ๆ โดย..อาจารย์เยาวเรศ จันทะแสน

1. ข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test)
ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบที่มีเฉพาะ คำถาม แล้วให้เขียนตอบอย่างเสรี
หลักในการสร้าง
1. เขียนคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการตอบให้ชัดเจน
2. ควรเขียนคำถามให้ชัดเจน และควรใช้คำถามให้ใช้ความคิด เช่น จงอธิบาย จงวิเคราะห์
3. กำหนดเวลาให้ตอบนานพอสมควร
4. เลือกถามเฉพาะจุดที่สำคัญของเรื่อง
5. คำถามแต่ละข้อมีความยากง่ายไม่เท่ากัน

2. ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด (True - false Test)
ลักษณะทั่วไป ข้อสอบเลือกตอบมี 2 ตัวเลือก เช่น ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่
หลักในการสร้าง
1. เขียนคำถามให้รัดกุมสั้น ๆ
2. ควรเขียนคำถามด้วยภาษาง่าย ๆ ชัดเจนตรงไปตรงมา
3. ควรออกข้อสอบให้มีข้อถูกกับข้อผิดจำนวนใกล้เคียงกัน
4. หลักการให้คะแนนไม่ควรใช้วิธีหักคะแนนหรือติดลบในข้อที่ตอบผิด

3. ข้อสอบแบบเติมคำ (Completion Test)
ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยประโยคหรือข้อความที่ยังไม่สมบูรณ์แล้วให้ผู้ตอบเติมคำ หรือประโยค
หลักในการสร้าง
1. ไม่ควรใช้ข้อความหรือประโยคจากหนังสือแล้วตัดคำบางคำ หรือบางข้อความออกมาใช้เป็นคำถาม
2. คำตอบที่ต้องการให้เติมหรือที่ถูก จะต้องเป็นคำตอบที่เฉพาะเจาะจงไม่ตีความได้หลายนัย
3. แต่ละข้อความให้เติมแห่งเดียวตอนท้ายของประโยคหรือข้อความ แต่ถ้าจำเป็นอาจเว้นให้เติมส่วนอื่น
4. ตำแหน่งที่เติมต้องเป็นจุดสำคัญจริง ๆ

4. ข้อทดสอบแบบตอบสั้น ๆ (Short Answer Test)
หลักในการสร้าง
1. คำตอบที่ต้องการมักจะสั้นเป็นคำเดียว วลีเดียว หรือประโยคสั้น ๆ
2. คำตอบที่ได้ต้องเป็นประเภทตายตัวแน่นอน
3. มักจะเป็นคำถามที่ถามเกี่ยวกับ ศัพท์ กฎ นิยาม ทฤษฎี หลักการ

5. ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching Test)
ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบเลือกตอบชนิดหนึ่ง โดยมีคำหรือข้อความแยกออกจากกันเป็น 2 ชุด แล้วให้ผู้ตอบเลือกจับคู่ว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักในการสร้าง
1. ตัวเลือกต้องมีจำนวนมากกว่าตัวยืน 2-4 ข้อ
2. ตัวยืนควรจะมี จำนวน 5-15 ข้อ ถ้าตัวยืนมีจำนวนน้อยเกินไปจะจับคู่หาคำตอบได้ง่ายมาก
3. ข้อความในแต่ละชุดต้องเป็นเอกพันธ์
4. ตัวยืนในแต่ละข้อมีโอกาสจับคู่กับตัวเลือกทุกข้อ
5. ข้อสอบในชุดตัวยืนและตัวเลือกทุกข้อต้องอยู่ในหน้าเดียวกัน
6. ต้องระบุความสัมพันธ์ของข้อความทั้งสองชุดให้ชัดเจน โดยเขียนคำชี้แจงว่าจะให้จับคู่โดยยึดความสัมพันธ์แบบใด
7. รูปแบบของข้อสอบจับคู่ ส่วนใหญ่จะให้ผู้ตอบนำอักษร หน้าข้อความทางขวามือไปใส่ใน วงเล็บหน้า ข้อความทาง ด้านซ้ายมือที่คิดว่าสัมพันธ์กัน

6. ข้อสอบเลือกตอบ (Multiple Choice Test)
ลักษณะทั่วไป คำถามแบบเลือกตอบจะประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง และคำถามแบบเลือกตอบที่ดี นิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกันดูเผิน ๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถูกหมด
หลักในการสร้าง
1. เขียนตอนนำให้เป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ อาจใส่เครื่องหมายปรัศนี (?)
2. เน้นเรื่องจะถามให้ชัดเจนและตรงจุดไม่คลุมเครือ
3. ควรถามในเรื่องที่มีคุณค่าต่อการวัด
4. หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ
5. อย่าใช้คำฟุ่มเฟือย
6. เขียนตัวเลือกให้เป็นเอกพันธ์
7. ควรเรียงลำดับตัวเลขในตัวเลือกต่าง ๆ
8. เขียนตัวเลือกให้อิสระขาดจากกัน
9. ควรมีตัวเลือก 4-5 ตัว
10. อย่าแนะคำตอบ

 

อ้างอิงจาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/index.html

หมายเลขบันทึก: 353460เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท