สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม ปี 2553


เกษตรกรกรีดยางพารา

สรุปผลดำเนินงาน  

โครงการ ศูนย์กลางการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพครบวงจร ปี 2553 

กิจกรรม พัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้ผลิตยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * *

กิจกรรม จัดฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม

ความเป็นมาของโครงการ

                ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสุราษฏร์ธานี      โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด  2,618,858 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตประมาณ 2,063,697 ไร่  กระจายอยู่ในทุกอำเภอ  มีจำนวนเกษตรกร  76,171  ครัวเรือน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ปลูกยางพาราไม่เกิน  50 ไร่/ครัวเรือน มีผลผลิตเฉลี่ย 280  กิโลกรัม/ไร่   ผลผลิตรวม 578,434  ตัน    คิดเป็นมูลค่า 28,891  ล้านบาท  (คิดที่ 50บาท/กิโลกรัม)  ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับผลผลิตยางพารามากมาย เช่น อุตสาหกรรมถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ยางรัดของ ไม้ยางพารา ฯลฯ  ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ให้กับประชาชนทั่วทั้งประเทศ

                แต่ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจของโลกตกต่ำ   ความต้องการผลผลิตยางพาราของตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาผลผลิตยางพาราลดต่ำลงซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราโดยตรง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่น้อย   และปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียว อีกทั้งจ้างแรงงานในการกรีดยาง อาจส่งผลให้รายรับไม่พอกับรายจ่ายได้

                สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้วิเคราะห์จัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ยางพาราของสุราษฏร์ธานี  พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกยางพารายังขาดความรู้ในการจัดการสวนยางพาราอยู่มากโดยเริ่มตั้งแต่การเลือกพืชปลูกที่เหมาะสม  การจัดการปุ๋ย    และการกรีดยางที่ถูกวิธี    ปัญหามาจากการใช้แรงงานกรีดยางพาราจากนอกพื้นที่ อีกทั้งปัจจัยการผลิตราคาสูง ทำให้ผลผลิตยางพาราตกต่ำและอายุการกรีดสั้น ซึ่งเป็นการสูญเสียรายได้ของเกษตรกร  ประกอบกับสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอขาดโครงการสนับสนุนเกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับยางพาราเป็นเวลานาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้ผลิตยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด   โดยจัดการฝึกอบรมการกรีดยางพารา เพื่อให้เกษตรกรได้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น  ลดต้นทุนการผลิต  และยืดอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต     ตลอดจนสร้างอาชีพลดปัญหาการตกงานของเกษตรกรจังหวัดสุราษฏร์ธานี

        อำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้กำหนดการจัดฝึกอบรม  หลักสูตร   การกรีดยางที่ถูกต้องและเหมาะสม ระหว่างวันที่ 25–31 มีนาคม 2553 สถานที่บ่อน้ำร้อน หมู่ที่ 5ตำบลกรูด   อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานี

        ชี้แจงโครงการ/ พิธีเปิด                   ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.กรูด พบปะผู้เข้าอบรม

เกษตรกรผู้เข้าร่วมฝึกอบรม

บุคคลเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม  จำนวน 15 ราย   มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ  จำนวน 16 คน 

วิทยากรผู้ฝึกอบรม

1. นายทักสิน   วงษ์พิทักษ์  พนักงานตรวจจำแนกพันธุ์ยาง

ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี  ต.คันธุลี  อ.ท่าชนะ  จ.สุราษฏร์ธานี

โทรศัพท์ที่ทำงาน  077 - 274097 โทรสาร 077 – 286913 มือถือ 082 – 8147548

(หัวข้อฝึกอบรม : พันธุ์ยางพารา, การจัดการสวนและการบำรุงรักษาสวนยางพารา)

2. นายสินธุ์ชัย   สังสันไทย หัวหน้าแผนกปฏิบัติการ  สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฏร์ธานี    อ.เมือง  จ.สุราษฏร์ธานี

โทรศัพท์ที่ทำงาน  077-273944  โทรสาร 077- 273220  มือถือ  081 – 3964075

(หัวข้อฝึกอบรม : การใช้ปุ๋ยในสวนยางพารา)

3. นายกิตติศักดิ์   เทือกธรรม พนักงานสงเคราะห์สวนยาง 4  สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฏร์ธานี   อ.เมือง  จ.สุราษฏร์ธานี

โทรศัพท์ที่ทำงาน 077-273944  โทรสาร 077- 273220  มือถือ 087 – 7913700

(หัวข้อฝึกอบรม : โรคและศัตรูยางพารา)

4. นายอดุลย์    สยังกูล  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี  อ.เมือง  จ.สุราษฏร์ธานี

โทรศัพท์ที่ทำงาน 077 – 283657 โทรสาร 077-272662 มือถือ 089 – 6451384

(หัวข้อฝึกอบรม : การลับมีดกรีดยาง และการฝึกกรีดท่อนซุง)

5. นายวิสุตธิ์   พัฒน์จีน  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5  ต.กรูด ที่ทำการหมู่บ้านบ้านบ่อน้ำร้อน

อ.กาญจนดิษฐ์  จ.สุราษฏร์ธานี

มือถือ 080 – 6954839

(หัวข้อฝึกอบรม : การลับมีดกรีดยาง และการฝึกกรีดท่อนซุง)

6. นายธวัชชัย   ชุมวระ  เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์โทรศัพท์ที่ทำงาน / โทรสาร  077 – 379013   มือถือ  087 - 2773159

(หัวข้อฝึกอบรม : การฝึกกรีดท่อนซุง)

7. นายธวัช   วัชรนพวิภ เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ  086 – 2815017

(หัวข้อฝึกอบรม : การฝึกกรีดท่อนซุง)

8. นางกุหลาบ   ภัทรพงศ์ดิลก  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ 081 - 5391717    

(หัวข้อฝึกอบรม : การฝึกกรีดท่อนซุง)                                

9. นายสิทธิชัย   ช่วยสงค์   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  มือถือ  089 – 9633078

(หัวข้อฝึกอบรม : การกรีดยางพารา, มีดกรีดยาง และ การฝึกกรีดท่อนซุง)

10. นายธเรศ   ไข่มุกข์   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ 084 – 0612999

(หัวข้อฝึกอบรม  :การฝึกกรีดท่อนซุงและการแปรรูปยางพารา)

11. นายวีระ   พร้อมมูล  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ  086 - 9573879

(หัวข้อฝึกอบรม :  ทดสอบความรู้ก่อน/หลังการอบรม)

12. นางสุภาวดี   บุญสุวรรณ   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ  085 – 7875643

(หัวข้อฝึกอบรม :  กิจกรรมนันทนาการ)

13. นางสาวอรพันธ์  สิทธิพงษ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ 086 -2687016

(หัวข้อฝึกอบรม :  กิจกรรมนันทนาการ)

14.  นางวันทนา   ไข่มุกข์   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   มือถือ  087 - 4625031

(หัวข้อฝึกอบรม :  ทดสอบความรู้ก่อน/หลังการอบรม)

15. นายคำมน   ช่วยหอม   คนงาน

สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์    มือถือ   086 – 9511280

(หัวข้อฝึกอบรม : การฝึกกรีดท่อนซุง)

หลักสูตรการฝึกอบรม

           การฝึกอบรมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ซึ่งมีรายละเอียดหลักสูตร  ดังนี้

 ภาคทฤษฎี

  1. การกรีดยางพารา   โครงสร้างเปลือก  ท่อน้ำยาง  วัตถุประสงค์ของการกรีดยาง   อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการกรีดยาง  การเปิดกรีดยาง  ขั้นตอนการเปิดกรีด  วิธีการกรีดยาง  ระบบการกรีดยาง
  2. มีดกรีดยาง  การลับมีดกรีดยาง   อุปกรณ์ในการลับมีดกรีดยาง  การเลือกซื้อมีดกรีดยาง การเลือกซื้อหินลับมีดกรีดยาง  วิธีการลับมีด  การเก็บรักษามีดกรีดยาง
  3. คำแนะนำพันธุ์ยาง      พันธุ์ยางที่แนะนำในพื้นที่ปลูกใหม่      การเลือกซื้อต้นยางชำถุง     วิธีการติดตาเขียว  การปลูกยางพารา  การเตรียมพื้นที่ปลูก  การวางแนว  กำหนดแถวหลัก  วางแนวไม้ชะมบ  พื้นที่ที่เหมาะสม  สภาพพื้นที่     สภาพภูมิอากาศ    ลักษณะดิน    แหล่งน้ำ    การขุดหลุมปลูก  วิธีการปลูก   การขายน้ำยางสด   การกรีดและการเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน ระบบกรีด  เช่น  การกรีดหน้าปกติ   การกรีดยางพารา เช่น หลักในการกรีดยาง  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกรีด  การป้องกันกำจัดโรครากของยางพารา ได้แก่ โรครากขาว  โรครากแดง  โรครากน้ำตาล    อาการเปลือกแห้ง   การป้องกันการเกิดอาการเปลือกแห้ง  การปลูกผักเหลียงในสวนยางพารา    ผักพื้นบ้าน    ผักเศรษฐกิจ    ผักปลอดสารพิษ    การใช้ปุ๋ยในสวนยาง   เช่น  ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด    หลังเปิดกรีด     การผสมปุ๋ยเคมีใช้เองในสวนยาง   วิธีการผสมปุ๋ยเคมีใช้เองในสวนยางพารา 
  4. การใช้ปุ๋ยในสวนยางพารา      สูตรปุ๋ยที่แนะนำตั้งแต่แรกปลูกถึงก่อนเปิดกรีด     อัตราการใส่ปุ๋ย   การใส่ปุ๋ยหลังเปิดกรีด   การผสมปุ๋ยใช้เองตั้งแต่แรกปลูกถึงก่อนเปิดกรีด   การผสมปุ๋ยใช้เองหลังเปิดกรีด  ปุ๋ยอินทรีย์  การดัดแปลงปุ๋ยสูตรสำเร็จเพื่อใช้เอง    ข้อดีของการผสมปุ๋ยใช้เอง  การปลูกพืชคลุม  ประโยชน์ของพืชคลุม
  5. การจัดการด้านโรค และศัตรูยาง    ได้แก่    โรคราแป้ง    โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อคอลเลโทตริกัม    โรคใบจุดก้างปลา  โรคใบจุดตานก  โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า  โรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า  โรคราสีชมพู โรคราก  ได้แก่  โรครากขาว  โรครากแดง  โรครากน้ำตาล   แมลงและศัตรูยางพารา   ได้แก่ หนอนทราย  ปลวก   เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง   ไรพืช   อาการเปลือกแห้ง  อาการตายจากยอด  อาการที่เกิดจากฟ้าฝ่า  อาการโคนต้นไหม้   อาการขาดธาตุอาหาร  เป็นต้น
  6. การแปรรูปยาง   วิธีการผลิตยางแผ่นดิบ  ลักษณะยางแผ่นคุณภาพดี  วิธีการผลิตยางก้อนถ้วย

 เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฏร์นี

 ให้ความรู้วิชาการ เรื่อง การจัดการสวนยางพารา และโรคแมลง

 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี (คันธุลี) ให้ความรู้วิชาการ เรื่องพันธุ์ยางพารา

ภาคปฏิบัติ 

  1. วิธีการลับมีดกรีดยาง    เกณฑ์การตรวจสอบการลับมีด   การเก็บรักษามีดกรีดยาง
  2. การฝึกกรีดท่อนซุง

      เจ้าหน้าที่เกษตรผูกมัดต้นยาง                    สาธิตการลับมีด

สาธิตการกรีดยาง

ผลการฝึกอบรม

เกษตรกรร่วมโครงการ ดังกล่าวฯ จำนวน 16 ราย  (เป้าหมายเกษตรกร  15 ราย) ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน    มีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้      เกษตรกรมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จากเกษตรกรด้วยกันเอง  บ้างก็เล่าประสบการณ์ของตนเองให้เพื่อนสมาชิกได้รับฟัง      ร่วมกันแสดงความคิด        และมีการนำเอาปัญหาจากประสบการณ์ที่ตนเองพบมาพูดคุยกันและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ  และเกษตรที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับยางพารา  และทักษะในการกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม    สามารถเพิ่มทักษะการกรีดยางได้อย่างถูกวิธี

ผู้เข้าร่วมอบรมร้อยละ  90  เปอร์เซ็นต์      มีความรู้ความเข้าใจ     เรื่อง  การปลูกและดูแลรักษาสวนยางพาราได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตร     และมีทักษะในการกรีดยางที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถขยายผลให้แก่เกษตรกรข้างเคียงได้เป็นอย่างดี

 

นายสนิท  ศรีวิหค นายอำเภอกาญจนดิษฐ์  พบปะเกษตรกร และร่วมกรีดยาง

ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ พบปะเกษตรกร

งานเลี้ยงสังสรรค์  เย็นวันที่ 30 มีนาคม 2553

         ทดสอบหลังการอบรม                         เฉลยข้อสอบภาคทฤษฏี

ร่วมถ่ายภาพหลังการอบรมเสร็จสิ้น

ปัญหาอุปสรรค

  1. ฝนตกเล็กน้อย
  2. เกิดอุบัติมีดบาดมือบ้างสำหรับเยาวชน

 ข้อเสนอแนะ

  1. ผู้เข้าอบรมควรระมัดระวังมีดกรีดยาง  โดยเฉพาะเยาวชน
  2. ควรมีการกรีดยางในแปลงยางพาราด้วย  จะได้เกิดการปฏิบัติแบบจริงๆ
  3. ควรมีการศึกษาดูงานในแปลงยางพารา  โดยเฉพาะแปลงโรครากขาวของยางพารา  เพราะจะได้นำความรู้ไปจัดการสวนของตนเอง และสามารถเผยแพร่  ให้แก่เกษตรกรข้างเคียงได้เป็นอย่างดี
  4. เกษตรกรมีความพอใจกับการอบรมมาก  อยากให้สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ จัดอบรมแบบนี้บ่อยๆ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 353165เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ช่วยกันทำมาหากินทั้งสำนักงานฯ เลย นี่สิ.....น่าเอาเป็นแบบอย่างที่ดี สามัคคีคือพลัง สู้ๆๆ

สวัสดีครับ

  • ได้ผู้ที่เก่ง ในการกรีดยางอีกเพียบเลย
  • ไม่รู้ว่า ปีหน้ามีโครงการอย่างนี้อีกมั๊ย
  • มีคนสนใจมากเลยครับ

สวัสดีครับ ผมสนใจในการฝึกอบรม การกรีดยางด้วยครับ และไม่ทราบว่าจะมีการ จัดอบรมอีก เมื่อไหร่

หากมีการฝึกอบรม อีกครั้ง ขอความกรุณาแจ้ง มาทาง อีเมล์ ด้วยได้ไหมครับ หรือจะโทรมาบอกด้วยก้อจะดีมากครับ

เบอร์โทร 082 440 4544 e_mail [email protected]

ขอบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

สวัสดีครับ ผมสนใจในการฝึกอบรม การกรีดยาง และการเพาะยางชำถุง การติดตา และอื่นๆ ไม่ทราบว่าจะมีการ จัดอบรมอีก เมื่อไหร่ หากมีการฝึกอบรม อีกครั้ง ขอความกรุณาแจ้ง มาทาง อีเมล์ ด้วยได้ไหมครับ หรือจะโทรมาบอกด้วยก้อจะดีมากครับ

[email protected] 081-8914202( สุราษฎร์ธานี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท