ชีวิตที่พอเพียง : ๙๘๘. รับใช้มูลนิธิทำงาน SE


        วันที่ ๑๙ มี.ค. ๕๓ ผมเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปี ของ ๒ มูลนิธิ คือ มสช. และ มสส.   โดยผมบอกตัวเองว่า ทั้ง ๒ มูลนิธิทำงานต่างจาก “มูลนิธิ” ในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ ว่าทำงานสังคมสงเคราะห์ หรือทำงานช่วยเหลือผู้ยากไร้ 

          ทั้ง ๒ มูลนิธิทำงานที่ยากกว่านั้น และสำคัญกว่านั้น   คืองานช่วยเหลือสังคมไทย หรือรับใช้สังคม ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา    ด้วยการทำงานเชิงสร้างปัญญาให้แก่สังคมไทย   โดยไม่ได้เน้นทำงานด้วยเงินบริจาค (donation)   แต่เน้นทำงานด้วยเงินทุนวิจัย (grants)   เป็นการทำงานโดยรายได้ที่ได้มาจากการทำงาน ไม่ใช่รายได้จากการบริจาค   ไม่ไปขอเงินใคร   แต่เอาฝีมือความสามารถในการทำงานไปเสนอโครงการรับทุนสนับสนุน   ถ้าผลงานดี ต่อไปก็ได้ทุนอีกหรือได้ทุนเพิ่มขึ้น 

          ทั้ง ๒ มูลนิธิมีบุญคุณต่อผมมาก   ทำให้ผมได้ความรู้เรื่องวิธีทำงานให้แก่สังคมอย่างอิสระ โดยใช้ฝีมือหรือความสามารถในการผลิตผลงานในการหารายได้มาทำงาน   ซึ่งต่างจากการทำงานราชการที่ไม่อิสระ เพราะมีกฎระเบียบมาก และมีการเมืองเรื่องการแก่งแย่งผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนหน่วยงาน มาก   การทำงานของมูลนิธิทั้ง ๒ จึงเป็นการทำงานเพื่อสังคมโดยการหารายได้มาทำงาน   ลักษณะของหน่วยงานแบบนี้เรียกว่า SE – Social Enterprise   ซึ่งหมายถึงการทำงานหารายได้โดยมีเป้าหมายหลักที่ประโยชน์ต่อสังคม หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น   เป็นหน่วยงานสาธารณะที่ไม่ใช่หน่วยราชการ   ที่ทำงานโดยมีคุณค่าหรือธงนำคือจิตสาธารณะ หรือความมุ่งหมายที่จะทำประโยชน์สาธารณะ 

          จากประสบการณ์นี้ เราจึงตั้งมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมขึ้นทำงาน SE ในอีกบริบทหนึ่ง   คือเพื่อเผยแพร่เครื่องมือเพื่อการเป็นสังคมอุดมปัญญา หรือสังคมเรียนรู้ 

          และผมมีโอกาสไปรับใช้มูลนิธิสยามกัมมาจล ทำงานส่งเสริมการพัฒนาเยาวชน

          ในการประชุม มีการพูดกันเรื่องการสื่อสารสาธารณะ   ว่าควรมีการพัฒนาสื่อมวลชนให้มีความรู้เรื่องเนื้อหาสาระ (content) ที่สื่อควรเรียนรู้เพื่อการทำหน้าที่สื่อที่ดี   แต่จะมีปัญหาที่นักข่าวทั้งหลายจะมีจริตการทำงานแบบไม่ต้องการลงลึก    แต่ต้องการความรวดเร็ว “ไม่ตกข่าว” มากกว่า  

          มีการพูดกันเรื่อง การมีนโยบายด้านอุดมศึกษาของชาติ   ให้มหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับสังคมในพื้นที่จังหวัด    เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของจังหวัด   เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการที่มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ชี้นำสังคม 

          ปี ๒๕๕๓ มสส. จะมีงานหลัก ๓ ด้านคือ (๑) งานพัฒนาจิตวิญญาณ  (๒) งานพัฒนาเด็กปฐมวัย  (๓) งานพัฒนาครูเพื่อศิษย์ 

 

งานพัฒนาจิตวิญญาณในการทำงานหรือใช้การทำงานนั้นเองเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตวิญญาณ

มีการสร้างองค์ความรู้ให้แก่สังคมไทย   ว่า “Soft KM” หรือ KM with spiritual reflection ทำให้เกิดการพัฒนาจิต 


   เกิดเครือข่ายโรงพยาบาล จากที่เริ่มต้น ๕๐ แห่ง   มีกิจกรรม ลปรร. งานประจำ อย่างสม่ำเสมอ เกิดการพัฒนาจิตใจ   และเกิดการขยายตัวของการทำกิจกรรมนี้   บางแห่งมีผลเปลี่ยนรูปแบบการประชุม   รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ มีเจ้าหน้าถึง ๑,๐๐๐ คนที่ทำกิจกรรมนี้เป็นประจำ 

   มีเครือข่ายครูที่เริ่มไว้   แต่ไม่ขยายตัวเอง 

   กิจกรรมต่อไป  (๑) ศึกษานิเทศก์  (๒) HRD course : KM with spiritual reflection  (๓) เครือข่ายวิทยากร  (๔) ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดวงพัฒนาจิตจากงานประจำอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อเป็น reinforcement

 

งานพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

 เริ่มด้วยงานวิชาการและนโยบาย โดยทำงานร่วมกับกรมอนามัย   มี ศ. นพ. ประเวศ วะสี เป็นประธาน   ต่อไปจะมีงานสร้างเครือข่าย 

 กิจกรรม ๖ ด้าน  ได้แก่  (๑) การสร้างความผูกพันในครอบครัว (attachment)   จะมีการทำหนังสือเล่มแรก (Bookstart)   ให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังแต่แรกเกิด เพื่อให้เกิด attachment   ความผูกพันนี้จะเกิดได้ในช่วง ๓ ปีแรกของชีวิตเท่านั้น   (๒) ไอโอดีน ต้องให้เพียงพอตั้งแต่แรกปฏิสนธิ  (๓) ดนตรี เพื่อสร้าง creativity   ต้องทำในช่วง ๖ ปีแรก  (๔) การเล่น  (๕) ศูนย์เด็กปฐมวัย  (๖) –

งานพัฒนาครูเพื่อศิษย์

 

 ทำร่วมกับ สคส.

 ปีแรกใช้เงิน สสส. ทำ ๕ จังหวัด   ใช้กลไก CA   สร้าง CA 20 คนในแต่ละจังหวัด   ให้จัดวง ลปรร. เองได้

 แนะนำให้ให้ reward โดยจัดอบรม content ที่ครูต้องการ   เพื่อให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่สนุกสนานและได้สาระที่ถูกต้องลึกซึ้งตามวัย   รวมทั้งทักษะในการ inspire เด็ก

 

วิจารณ์ พานิช
๑๙ มี.ค. ๕๓

                
       

มุมหนึ่งของห้องประชุม

 

อีกมุมหนึ่ง

 

ทีมงานของมสส.

หมายเลขบันทึก: 353160เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท