๒๐ ปีกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย


...

    ประเทศเยอรมันและโลกฉลอง การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินเมื่อ ๒๐ปีก่อนในฐานะวันแห่งความยินดีปรีดา ในการฉลองที่กรุงเบอร์ลินเมื่อ วันที่ ๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Horst Köhler ได้ยกให้วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๑๙๘๙ เป็นการเปลี่ยนแปลงศักราชสู่เสรีภาพและประชาธิปไตย นายกฯ Angela Merkel กล่าวถึงหนึ่งในวันที่มีความสุขที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมันที่ยังเยาว์ จุดสูงสุดของงานได้แก่งานฉลองอิสรภาพในตอนเย็นที่ BrandenburgerTor ที่ซึ่งชาวเยอรมันและแขกหลายพันคน รวมทั้งผู้นำประเทศและหัวหน้ารัฐบาลจากราว ๓๐ ประเทศมาชุมนุมกันเพื่อล่มแผ่น โดมิโนขนาดยักษ์ราว ๑,๐๐๐ แผ่นที่เป็นสัญลักษณ์ของกำแพง ประธานาธิบดี Köhler ระบุว่ากำแพงเป็นสิ่งก่อสร้างของความหวาดกลัว ในวันที่ ๙ พฤศจิกายนเมื่อ๒๐ปีก่อนมันเป็นสถานที่แห่งความยินดีปรีดาการเปลี่ยนแปลง ทำให้โฉมหน้าของทวีปเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง นางแมร์เคล กล่าวถึงการเติมเต็มความฝันและยกย่องความกล้าหาญ ของประชาชนในอดีตประเทศเยอรมันตะวันออก ในที่สุดวาระสุดท้ายของสงครามเย็นก็มาถึง ซึ่งทำให้คุ้มค่ากับการต่อสู้ นาย Klaus Wowereit ผู้ว่าราชการกรุงเบอร์ลิน ได้กล่าวขอบคุณอดีตพันธมิตรฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซียและสหรัฐอเมริกาสำหรับการมีส่วนใน การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งของประเทศเยอรมัน ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ประธานาธิบดี Dmitri Medwedew ของรัสเซีย ฯ Gordon Brown ของอังกฤษและนาง Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐได้กล่าว สุนทรพจน์สั้นๆ ต่อชาวเบอร์ลิน นอกจากนั้น ยังมีแขกที่ไม่มีผู้ใดคาด ได้แก่ประธานาธิบดี Barack Obama ที่กล่าวแสดงความยินดีในวาระครบรอบ ๒๐ ปีกำแพงล่ม โดยถ่ายทอดผ่านวิดีทัศน์

   ทั้งนี้หล้ง ๒๘ ปี ๒ เดือนและ ๒๘ วันของการแบ่งแยกประเทศ นาย Gunter Schabowski สมาชิก SED ได้ประกาศ การเปิดพรมแดนของประเทศเยอรมันตะวันออกอย่างที่ไม่มีผู้ใดคาด ในเย็นวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๑๙๘๙ เวลา ๑๙. ๐๔ น.๑๑นาทีหลังประโยคประวัติศาสตร์ของนาย Schabowski สำนักตัวแทนข่าวเยอรมัน ได้ส่งข่าวด่วนว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พลเมืองเยอรมันตะวันออกสามารถ เดินทางออกนอกประเทศได้โดยตรง ที่ด่านทุกแห่งระหว่างเยอรมันตะวันออกและสหพันธ์สาธารณรัฐ ข่าวกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าแรกทีเดียว สื่อของเยอรมันตะวันออกไม่ได้รายงานเกี่ยวกับการประกาศอย่างเป็นทางการ หลังจากที่คิวยาวขึ้นทุกที การข้ามแดนที่ถนน Bornholmer ได้เปิดขึ้นเป็นจุดแรก โดยให้ผ่านแดนได้หลักการแสดงบัตรประชาชน หลังจากนั้นมีการเปิดที่ข้ามแดนอีกบางแห่ง เนื่องจากจำนวนผู้คนที่ล้นหลามทำให้ ไม่ต้องแสดงบัตรประชาชนเสียด้วยซ้ำ ในบ่าย วันที่ ๑๐ พฤศจิกายนมีการรายงานว่ากำแพงมีรู มีที่ข้ามแดนใหม่ ๙ แห่ง ต่อมาที่ Potsdamer Platz มีการทลายบางส่วนของกำแพง การที่เลือกวันที่ ๓ ตุลาคมเป็นชาติ เนื่องจากใน วันที่ ๓ ตุลาคม ๑๙๙๐ เยอรมันตะวันออกได้เข้าร่วมกับสหพันธ์สาธารณรัฐ อย่างเป็นทางการ นับแต่ปี ๑๙๙๐ วันที่ ๓ ตุลาคมจึงเป็นวันชาติของประเทศเยอรมันที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหนึ่ง โดยแทนวันที่ ๑๗ มิถุนายนของสหพันธ์สาธารณรัฐและ ๗ ตุลาคมของเยอรมันตะวันออก

 

ครูยุ: ครั้งแรกก็งง..ว่าวันไหนกันแน่ ตอนนี้เป็นทางการแล้ว..ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 353130เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

รัฐบาลเยอรมันคงบริหารงานหนัก เห็นคนจำนวนมาก ไปร่วมในวันฉลอง

ขอบคุณมากค่ะกับข่าวที่ให้ความรู้

สวัสดีค่ะคุณMalinee

วันแรกที่ประกาศเปิดพรมแดน รัฐบาลรับขวัญประชาชน

ฝั่งตะวันออกคนละ ๑๐๐ MD ทั้งประเทศ หน้าธนาคารทุก

แห่งขณะนั้น แถวยาวออกมานอกถนน (เงินฟรีนี่ค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท