ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

''สันติภาพบนเส้นทาง “สี่แพร่ง” ในสังคมไทยปัจจุบัน''


“สันติภาพกับความขัดแย้งมิใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เพราะ ความขัดแย้งที่ถูกเก็บกดมิให้แสดงออกอย่างสันติต่างหาก จึงเป็นชนวนไปสู่ความรุนแรงอันเป็นสิ่ง ที่อยู่ตรงข้ามกับสันติภาพได้”

๑. เกริ่นนำ

                นักวิชาการด้านสันติภาพหลายท่านมักจะมีข้อสังเกตต่อการนิยาม หรือให้คำจำกัดความต่อสันติภาพ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “การเข้าใจความหมายของสันติภาพที่แตกต่างกัน อาจจะทำให้เกิด ทัศนคติต่อสันติภาพแตกต่างกันได้” การตั้งข้อสังเกตเช่นนี้ ทำให้เกิดประเด็นคำถามตามมาว่า “เป็นไปได้หรือไม่ ที่สังคมโลก หรือสังคมไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ของความขัดแย้งและความรุนแรงอยู่ในขณะ นี้ เป็นเพราะแต่ละคน หรือกลุ่มคนให้คำนิยามคำว่าสันติภาพต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงนำไปสู่การปฏิบัติ หรือการแสวงหาเครื่องมือเพื่อเข้าถึงสันติภาพแตกต่างกัน”

                จะเห็นว่า ทัศนคติที่แตกต่างกันจัดได้ว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า ทำไมจึงเห็นต่าง เป็นการเห็นต่างๆ ที่ยืนอยู่บนฐานของชุดแนวคิด หรือการปฏิบัติอะไร แต่ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือ ทัศนคติที่แตกแตกกันดังกล่าวนั้น ได้นำไปสู่วิธีการ หรือการปฏิบัติที่จะเดินทางไปสู่สันติภาพแตกต่างกันด้วย หรือกล่าวอีกข้อสังเกตหนึ่งคือ จริงหรือไม่ เมื่อมีการ “ตีความ” หรือ “ให้ค่า” สันติภาพบนฐานของสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการสร้างเครื่องมือ หรือใช้เครื่องมือเดินไปสู่สันติภาพที่แตกต่างกันด้วย หากเป็นเช่นนี้ สันติภาพที่เราพยายามจะกล่าวถึง และเข้าถึงร่วมกันนั้น จะบรรจบพบกันได้อย่างไร จึงจะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

                 ฉะนั้น บทความนี้ จึงให้ความใส่ใจกับคำถามที่จะต้องตอบในสถานการณ์ปัจจุบันก็คือ “นักสันติภาพบางท่าน หรือบางกลุ่ม” ในโลกนี้มอง ตีความ หรือให้คุณค่าต่อสันติภาพอย่างไร เหมือนกันหรือไม่ สร้างวาทกรรมเกี่ยวกับสันติภาพบนพื้นฐานของอะไร เพราะการเข้าใจประเด็นเหล่านี้ จะมีผลต่อการแสวงหาเครื่องมือเพื่อก้าวไปสู่การสร้าง “สังคมสมดุล” หรือ “สังคมสมานุภาพ” ในโอกาสต่อไป

อ่านบทความฉบับเต็ม

http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=839&menutype=1&articlegroup_id=187

หมายเลขบันทึก: 352926เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นมัสการครับ

    ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ  ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวครับ

    ผมเห็นด้วยกับประเด็นสันติภาพแพร่งที่สี่ครับ  คือ  สันติภาพที่ปราศจากความรุนแรง แต่ขัดแย้งกันได้  

     ขัดแย้งอย่างไร ได้ประโยชน์

     ขัดแย้งอย่างไร  ไม่นำไปสู่ความรุนแรง

     ที่ผมเห็นด้วยกับประเด็นนี้   ผมมีเหตุผลในเบื้องต้นของผมว่าความขัดแย้ง เป็นเรื่องปกติครับ  ความขัดแย้งเป็นเรื่องความงดงามของการแสดงออกในการอยู่ร่วมกันด้วยความแตกต่าง  และ  การไม่มีความขัดแย้งเลย  เป็นเรื่องผิดปกติ

     ผมมองว่าความขัดแย้ง เป็นเรื่องของการเรียนรู้สู่การพัฒนาครับ  ประมาณว่า no conflict no progress

     ปัญหาก็คือว่า  เราจะอยู่กับความขัดแย้งได้อย่างไร โดยไม่นำไปสู่ความแตกแยก  แตกต่างโดยไม่แตกแยก

     ผมว่าทางออกเรายังพอมีอยู่นะครับ  คำตอบอยู่ที่ตรงนี้ครับ

 

    (ผมนำภาพมาจากคำบรรยายของลุงเอก พลเอกเอกชัย)

 

        คำตอบอยู่ที่  "การฟัง"  ครับ   ให้แต่ละฝ่าย  "ฟังกัน"  และ  "ฟังให้ได้ยิน"  จนไปถึง "ฟังอย่างลึกซึ้ง"

       ให้แต่ละฝ่าย เข้าใจถึงความรู้สึกและปัญหาของแต่ละฝ่าย  เพื่อจะได้นำข้อขัดแย้งมาแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกัน   โดยให้แต่ละฝ่ายยอมรับได้ด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน   ด้วยการแสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง

       การเจรจาที่ผ่านมา  ผู้เจรจาเองก็บอกว่า  คนเจรจาไม่ได้พูดให้คู่เจรจาฟัง  แต่ไปพูดให้คนดูโทรทัศน์ฟัง  เลยทำให้ดูเหมือนว่าไม่ได้เจรจากันเอง  นั่นคือ  มีแต่คนพูด แต่ไม่มีคนฟัง

       และหัวใจที่สำคัญของการเจรจา อยู่ที่ "ความไว้วางใจ" ต่อกันครับ  ต้องจริงใจและมีความไว้วางใจต่อกัน การเจรจาจึงจะบังเกิดผล  มิฉะนั้น no trust no talk

นมัสการพระอาจารย์

การที่พระสงฆ์ไปร่วมชุมนุมและแสดงกิริยาแบบที่เห็นในทีวี

เป็นบทบาทของสงฆ์หรือไม่

ผิดพระธรรมวินัยไหม?

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ความขัดแย้ง...หากเกิดกับการยอมรับที่เปิดใจกว้าง
  • น่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมนะเจ้าคะ
  • วันนี้มานิมนต์ท่านไปร่วมกิจกรรมกับเด็กบนดอยค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/publicmindkim/353781#1969591

นมัสการเจ้าค่ะ

แวะมานมัสการ

นมัสการลา

นมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ

  • ผมอ่านบทความของพระคุณเจ้าแล้วมีข้อกังขา รบกวนพระคุณเจ้าอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ และขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • ผมกำลังมองคำว่า สันติภาพเชิงลบ คือสันติภาพที่ปราศจากสงคราม และความรุนแรงทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น การทำร้ายร่างกาย และการทำสงคราม นั่นจะสอดคล้องกับ สันติภาพภายใน คือสภาวะที่จิตหลุดพ้นจากพันธนาการของกิเลส หรือจากการครอบงำของสิ่งต่างๆ อันเป็นสภาพจิตที่ไร้ความขัดแย้ง ความรุนแรงทุกชนิด หรือไม่ ? อยากให้พระคุณเจ้าอธิบายถึงที่มาของคำว่าสันติภาพเชิงลบครับ
  • ผมคิดเห็นว่าเหมือนกับเราสวมหมวกหลายๆ ใบในคนเดียวกัน แล้วเริ่มจะไม่เข้าใจบทบาทในหมวกแต่ละใบอย่างถ่องแท้เสียก่อน เลยมองว่าหมวกบางใบก็คับไป บีบรัดจำกัดสิทธิเกินไป เราไม่อยากใส่ บางใบก็หลวมเกินไป เราก็ไม่อยากใส่อีก แต่เรากำลังจะหาใบที่ใส่สบายตัวเราจนลืมไปว่า มันอยู่ที่ใจของเราครับ

 ขออนุญาตเพิ่มอีกอีกนิดว่า นั่นคือความรัก ความเข้าใจ ซึ่งเราจะนำหลักพรหมวิหาร4 มาใช้เพื่อแก้ปัญหาได้หรือเปล่าครับ? รบกวนพระคุณเจ้าโปรดอธิบายด้วยครับ

นมัสการพระอาจารย์

บทสรุปที่ดีของความขัดแย้ง ผมว่า?ฤษฎี WIN-WIN ยังใช้ได้ แต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีหรอก มีแต่ ข้าพเจ้า WIN- ท่าน ไปไหนก็ได้ ไม่ต้อง มา WIN กะฉัน มันเลยขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุด ต่างไม่ยอมรับ ในที่ประชุม ยอมรับ อกนอกห้องยังไม่พ้นประตูเลย ด่าในใจแล้ว ปัญหาอย่างนี้ จะแก้อย่างไร

กราบนมัสการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท