โรคติดเชื้อที่มีเห็บเป็นพานะนำโรคในสุนัข


โรคติดเชื้อ

 

โรคติดเชื้อที่มีเห็บเป็นพาหะนำโรคในสุนัข

เห็บสุนัขจัดเป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญมากที่สุดของสุนัขและก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อการเลี้ยงสุนัขในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อยชื้นซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและการแพร่กระจายของเห็บ ดังนั้นจึงพบโรคติดเชื้อที่อาศัยเห็บเป็นพาหะอยู่เสมอ

โรคติดเชื้อที่อาศัยเห็บเป็นพาหะนำโรคในสุนัขได้แก่ โรคติดเชื้อเออร์ลิเชีย (Ehrlichiosis) โรคติดเชื้อเฮปปาโตซูน (Hepatozoonosis) และ โรคติดเชื้อบาบิเซีย (Babesiosis)

โรคติดเชื้อเออร์ลิเซีย (Ehrlichiosis)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อริกเกตเซีย ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ Ehrlichia canis โดยเชื้อดังกล่าวอยู่ในไซโตพลาสซึมของเม็ดเลือดขาวชนิโมโนไซท์ (monocyte) มีลักษณะเป็นกลุ่ม สุนัขจะติดโรคนี้จากการที่ถูกเห็บกัด

อาการ

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะเฉียบพลัน สุนัขจะแสดงอาการซึม มีไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง บางรายอาจะมีเลือดออกบริเวณผิวหนังและเยื่อเมือก เลือดกำเดาไหล หายใจลำบาก ม้ามโค โลหิตจาง

ระยะที่ไม่แสดงอาการ

สุนัขจะแสดงอาการปกติ

ระยะเรื้อรัง

สุนัขจะแสดงอาการซึม มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผอม เยื่อเมือกซีด อาจมีจุดเลือดออกที่ผิวหนังและพบเลือดกำเดาไหลได้มากขึ้น โลหิตจาง มีอาการบวมน้ำโดยเฉพาะที่ขาหลังและลูกอัณฑะ สุนัขที่กำลังเป็นสัดจะมีเลือดออกนานขึ้น ผสมไม่ติดหรือแท้ง บางรายอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น สูญเสียการทรงตัว และการมองเห็น เช่น กระจกตาขุ่น มีเลือดออกในช่องหน้าตา หรือ ตาบอด รวมทั้งการเกิดภาวะไตวาย และข้ออักเสบ

โรคติดเชื้อปาโตซูน (Hepatozoonosis)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ได้แก่ Hepatozoon canis เชื้อดังกล่าวอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) โดยสุนัขจะติดโรคนี้โดยการ กินเห็บ ที่มีเชื้อชนิดนี้

อาการ

สุนัขจะแสดงอาการซึม มีไข้สูง น้ำหนักลด เยื่อเมือกซีด โลหิตจาง ปวดทั่วร่างกาย ลักษณะการเดินผิดปกติ ขาแข็ง กล้ามเนื้อไวต่อการกระตุ้น กล้ามเนื้อฝ่อลีบและอ่อนแรงซึ่งเห็นได้ชัดในรายที่เป็นเรื้อรัง สูญเสียการทรงตัว ขาหลังเป็นอัมพาตบางส่วน บางรายอาจมีอุจจาระปนเลือด รายที่มีอาการรุนแรงอาจพบอาการเส้นเลือดอักเสบและอุดตัน และการเกิดภาวะไตวาย

โรคติดเชื้อบาบีเซีย (Babesiosis)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิหนึ่ง ได้แก่ Babesiacanis เชื้อดังกล่าวอยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง โดยสุนัขจะติดโรคนี้จากการที่ถูกเห็บกัด

าการ

สุนัขจะแสดงอาการซึม มีไข้สูง อาเจียน ม้ามโต ต่อมน้ำเหลือโต เยื่อเมือกซีด โลหิตจาง ภาวะดีซ่าย ปัสสาวะปนเลือด นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น หายใจลำบาก มีการบวมน้ำในปอด ภาวะท้องมาน การบวมน้ำในส่วนต่าง ๆ เช่น รอบตา ปลายขา และถุงอัณฑะ กล้ามเนื้ออักเสบ ข้อบวม เจ็บหลัง

การวินิจฉัย

1. จากประวัติและอาการของสัตว์ป่วย

2. การตรวจเลือดเพื่อดูระดับของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ค่าทางเคมีคลินิก และตรวจหาเชื้อที่ผิวเม็ดเลือดแดง (สำหรับเชื้อบาบีเซีย) และภายในเม็ดเลือดขาว (สำหรับเชื้อเออร์ลิเชีย และ เฮปปาโตซูน)

3. การตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนตี้บอดี้ที่มีต่อเชื้อ ซึ่งขณะนี้มีชุดทดสอบสำหรับการติดเชื้อเฉพาะโรคติดเชื้อ Ehrlichia canis เท่านั้น


การรักษา

การรักษาโรคติดเชื้อเออร์ลิเซีย ส่วนใหญ่มักให้ยาปฎิชีวนะที่จำเพาะต่อโรคนี้

ส่วนการรักษาโรคติดเชื้อบาบีเซีย มักให้ยาที่จำเพาะเจาจงโดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อเฮปปาโตซูน ขณะนี้ยังไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้

นอกจากนี้อาจให้สารน้ำบำบัด สารอาหารวิตามินเสริม และยาบำรุงเลือดด้วย

ในกรณีที่สุนัขมีปัญหาโลหิตจางอย่างรุนแรงอาจจำเป็นที่จะต้องทำการถ่ายเลือดด้วย


การป้องกัน

การควบคุมไม่ให้มีเห็บอยู่บนตัวสุนัขและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าและป้องกันเห็น เช่น ยาหยดหลัง สเปรย์ โดยยาที่นิยมและมีความปลอดภัยสูงได้แก่ Frontline หรือ Revolution เป็นต้น

 

 

 

จาก ร.พ.สัตว์สุวรรณชาด

 

http://www.mrjackkennel.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=109131&Ntype=0
หมายเลขบันทึก: 351823เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2010 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท