พัฒนาฝ่าวิกฤตไล่ที่ชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต-คลองเตย


รวมคน รวมเงิน สร้างอาชีพ เพื่อที่อยู่อาศัยยั่งยืน

รวมคน-ออมเงิน-แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย 

คือทางออกใหม่ ชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต 

ความเป็นมา            
         ชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต  ตั้งอยู่ถนนพระราม 4        แยกซอยไผ่สิงห์โต (ข้างลานจอดรถใต้ดิน สถานีศูนย์สิริกิตต์)  เขตคลองเตย กรุงเทพฯ    ประวัติเริ่มในปี 2533-2534 ทางกรุงเทพมหานครได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติทำการรื้อย้ายชุมชนไผ่สิงโต เพื่อปรับภูมิทัศน์หน้าศูนย์ประชุมสิริกิตต์ โดยให้ประชาชนย้ายขึ้นไปอาศัยในอาคารสูง 26 ชั้น  ในพื้นที่ใกล้เคียง  อีกส่วนหนึ่งเลือกย้ายไปอยู่ที่ดินห่างไกลไป 25 กิโลเมตร    (แถวรามอินทราและหนองจอก)   สำหรับชาวบ้านกลุ่ม    ที่ยังตกสำรวจได้ย้ายไปอยู่อาศัยกันในพื้นที่ริมคลองไผ่สิงห์โต จนเป็นชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โตในปัจจุบันนี้  ในชุมชนมีจำนวน 57 หลัง ประชากรรวม 210 คน    โดย นางพิมพ์ใจ  ผาตา  เป็นประธานชุมชน

ประมาณกลางปี 2546 ชุมชนได้รับจดหมายเตือนจากฝ่ายโยธาสำนักงานเขตคลองเตยเรื่องการบุกรุกที่ดิน กทม.

งานพัฒนาคือการแก้ปัญหา

                เพื่อทุเลาการถูกไล่ที่ ทางชาวบ้านได้เจรจากับ กทม. และดำเนินการปรับปรุงสภาพชุมชนให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยย้ายสายไฟฟ้าเข้าใต้ชายคาบ้าน ได้ทาสีบ้านเป็นสีฟ้า และจัดสวนไม้กระถางตามริมขอบทางเดินและทางเท้าในบริเวณรอบๆ ชุมชน  พร้อมกับประกอบอาชีพอย่างแข็งขัน หารายได้เตรียมสร้างที่อยู่อาศัยใหม่

อาชีพหลักมากกว่าครึ่งของประชากรมีอาชีพค้าขายในตลาดสดคลองเตย เช่น ขายผัก ขายกบ ขายปลา ขายห่อหมก (ทำเองในชุมชน) ขายปลาส้ม (ทำเองในชุมชน)

ทำปลาส้ม  ใช้ข้าวเหนียวสำหรับการหมักวันละ 1 กระสอบ ขายปลาส้มได้วันละ 1 ตันเศษ  รายได้ประมาณวันละ  45,000   และเศษอาหารที่เหลือ/ทิ้ง จากการทำปลาส้มนั้นจะมีผุ้มารับซื้อไปทำหัวอาหารปลาเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ต่อไป ส่วนประกอบในการผลิตจะไม่มีการทิ้งให้เสียเปล่า และสำหรับแรงงานที่ใช้ในการผลิตก็จะเป็นคนในครอบครัว เช่น ลูก หลาน ญาติ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนนั้นเอง   ทำห่อหมก ในชุมชนนี้มีประมาณ 4-5 ราย ที่ถือว่าเป็นลิตรายใหญ่ๆ และห่อหมกที่นับว่าขายดีที่สุด คือ ห่อหมดเทวดา โดยมีคุณฉวี  ก้อนจำปา เป็นเจ้าของ นองจากนั้น ยังมีห่อหมกอีกหลายชนิด  ทำส่งวันละ 5 – 6 พันห่อต่อวัน โดยจะขายส่งห่อละ 7 บาท มูลค่าขายส่งวันละ 42,000 บาท  ทำปลาดุกย่าง-  แต่ละวันจะใช้ปลาดุกวันละ 5,000 ตัว ขายส่งเป็นรายได้วันละ 15,000 บาท

            ด้วยธุรกิจหลักสามประการนี้มีมูลค่ารวมวันละ แสนกว่าบาท  หักต้นทุนประมาณครึ่งหนี่งเหลือเป็นกำไรประมาณ 50,000 บาทต่อวัน  คงเหลือเป็นรายได้สุทธิครอบครัวละ 1,000 บาทต่อวัน   ซึ่งพอเลี้ยงชีพตัวเอง และ เป็นงานบริการเลี้ยงผู้บริโภคคนเดินถนนวันละ 20,000 คน

จัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  

         คณะกรรมการมีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน มีลูกหลานมาช่วยเป็นอาสาสมัครเก็บเงินทุกคืน โดยการหมุนเวียนทำงานคนละหนึ่งสัปดาห์ การออมทรัพย์เริ่มทุกวันประมาณ ช่วงเวลา    19.00-20.00 น. ที่บ้านประธานชุมชน  การใช้เงินจะออมเพื่อใช้เรื่องที่อยู่อาศัยเท่านั้น ปัจจุบันมีเงินอยู่ในบัญชี 1,300,000 บาท (ณ.ตุลาคม2549) ยังดำเนินการต่อเนื่องโดยมีลูกหลานในชุมชนมา ร่วมเป็นอาสาสมัครเก็บเงินออมรายวัน      การออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่กระตุ้นให้คนเกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย  และเป็นการสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี         ทำให้เกิดการขยายผลไปสู่การตั้งกองทุนส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ทำเสนอไปที่ สำนักงาน SML ชุมชนได้ผ่านกระบวนการทำประชามติในชุมชน ซึ่งมีความพร้อมที่จะทำงานได้ทุกเมื่อ       และกองทุนนี้ยังส่งเสริมการศึกษา โดยการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของลูกหลานในชุมชน

กระบวนการทำงาน             
                การประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือนสมาชิก จะมาร่วมประชุมประมาณร้อยละ 80     สำหรับสมาชิกที่ไม่มาประชุม จะมีกรรมการไปพูดคุย เพื่อให้ทราบเหตุผลที่ขาดประชุม      และแจ้งเรื่องมติการประชุมให้ทราบเสมอ     จึงเห็นได้ว่าความเป็นอยู่ของชาว ชุมชนมีความใกล้ชิดกันเนื่อง
          จากมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบที่เป็นทางการ และไม่ เป็นทางการ      ประกอบกับการที่มีคณะกรรมการชุมชนที่เข้มแข็งให้ ความใส่ใจติดตามเพื่อน  บ้านอย่างต่อเนื่อง    ด้วยเหตุนี้เมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในชุมชน จึงทำให้ได้รับความร่วมเป็นอย่าง                      

รางวัลความสำเร็จ

                ประมาณต้นปี 2548 ชุมชนได้รับเลือกเป็นชุมชนนำร่อง โครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นหนึ่งในสองแห่งของเขตคลองเตย     และเมื่อเดือนกันยายน ผลการจัดเวทีตั้งกองทุน SML ชุมชนได้ผ่านเกณฑ์การตั้งกองทุนSML โดยเสนอแผนงานจัดตั้งเป็นกลุ่มสนับสนุนอาชีพ และศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 351607เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2010 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้ยินมาว่า ชุมชนที่อยู่ข้างตึกทรัพย์สิน (ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย) ทางกทม.จะขอคืนพื้นที่โดยจะทำจดหมายใน 3 เดือนข้าวหน้า และให้เงินจำนวน หนึ่งแสนห้าหมื่นเพื่อเอาไปหาที่อื่นอยุ่จริงไหมคะ และทำไมชุมชนนี้ไม่ได้อยุ่ตึกทรัพย์สินเหมือนที่คนอื่นอยุ่ แล้วนึกจะมาขอคืนพื้นที่กันตอนนี้คะ 17/1/12

คนที่มีสิทธิ์ก็ได้ย้ายไปอยู่ตึกหมดแล้ว ที่เห็นเหลืออยู่คือพวกเจ้าไร้ศาล มาอาศัยเป็นติ่งเกาะเอาไว้ อ้างว่าไม่ได้พิสูจน์กรรมสิทธิ์ว่าอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทรัพย์สินหรือของกทม. หน้าด้านอยู่ไปวันๆ ไม่ว่าจะที่ของใครก็ถือว่าเป็นของหลวงใช้สิทธิ์อะไรมาจับจอง ตอนมาอยู่แรกๆ เป็นเพิงเป็นกระต๊อบก็ไม่มีใครเชิญมา 22ธ.ค.2558

ตอนนี้สกปรกและเหม็นมาก ตอนกลางคืนไม่มีทางเท้าให้เดิน มีแต่คนมาทำห่อหมกจุดไฟนึ่งห่อหมก ควรจะอยู่กันโดยให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ฟุตบาทบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท