บันทึกการเมืองไทย : มองต่างมุมในวงวิชาการสังคมศาสตร์


แล้วแต่ใครจะเน้นให้น้ำหนักที่มุมไหน ละเลยข้อมูลใด

บันทึกการเมืองไทย  : มองต่างมุม

ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบ เมษายน ๒๕๕๓ ผมได้รับ อี-เมล์ ที่ส่งเป็นวงใหญ่    แสดงจุดยืนหรือมุมมองที่ต่างกันของคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัย   จึงนำมาบันทึกไว้

 

อี-เมล์ จาก บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ (thunderbolt(at)gmail.com  

๑๐ เมษายน ๒๕๕๓

ประกาศ "อภิสิทธิ์ต้องลาออก! ใครสั่งฆ่าประชาชนต้องถูกนำมารับโทษ!นักวิชาการที่สนันสนุนพรก.ฉุกเฉินต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ!"

เรียนทุกท่าน

ขณะนี้มีความพยายามจากลุ่มนักวิชาการ 303 คนที่สนันนสนุนพรก.ฉุกเฉินจะล้างตัว ให้พ้นความรับผิดชอบจากการสนันสนุนการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเสื้อแดง ต่อไปนี้เป็นภาพบางส่วนที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์และนักข่าวส่งมาให้เพื่อเผย แพร่

มีรายงานว่านอกจากทหารยิงปืนกระสุนจริงเข้าตรงๆ ยังมียิงจากเฮลิคอปเตอร์

และมีที่ใช้กระบองรุมตีจนกระโหลกแตกตาย มีจำนวนหนึ่งที่ถูกลากหายไปหลังแนวทหาร

รัฐบาลอภิสิทธิ์หมดความชอบธรรมแล้ว!

ผมและผู้ที่ลงรายนามต่อไปนี้ขอเสนอให้ "อภิสิทธิ์ต้องลาออก!

ใครสั่งฆ่าประชาชนต้องถูกนำมารับโทษ!

นักวิชาการที่ออกมาสนับสนุนการใช้พรก. ฉุกเฉินต้องแสดงความรับผิดชอบ!

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร

โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ

ศุภชัย ศุภผล          นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพิ่มพล กันเทพา      นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภิภัทรภรณ์ ทองศรี ประชาชน

 

คำตอบของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ก่อนที่จะลงชื่อหรือไม่ลง ผมขออนญาต ถามคำถามที่ฟังดูโง่ๆสักคำถามหนึ่ง

     ผมใช้คำว่าฟังดูโง่ๆ ไมใช่เป็นโวหาร หรือเสียดสีอะไรทั้งสิ้น แต่ผมรู้สึกจริงๆว่า   ฟังดูโง่ๆ แต่กระทันหัน   ก็ตอบไม่ถูก

     คำถามคือ  กรณี รัฐบาลสมชาย ที่มีการสลายการชุมนุมของพันธมิตร จนมีคนตาย   จะเรียกว่าเป็นการ "สั่งฆ่าประชาชน" ได้หรือไม่? ถ้าไม่ได้ เพราะอะไร

     ผมยอมรับว่า ตอนนี้ อารมณ์ผมถูกครอบงำด้วยความเสียใจมากๆ   มากเสียจนไม่รู้สึกโกรธ หรือโกรธไม่ออก (และก็เลยอาจจะทำให้ ตอบคำถามที่ฟังดูโง่ๆไม่ได้)

     ทีเสียใจ เพราะผมเชื่อจริงๆว่า เหตุที่เกิดในวันนี้ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ร้อยเปอร์เซนต์

     ผมขอฝากกระทู้ที่ผมเขียนไว้ ทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ ให้ลองอ่านดู   จะไม่เห็นด้วยก็ได้       หรือวิพากษ์วิจารณ์ก็ได้

     ก่อนเหตุการณ์

    ttp://weareallhuman.net/index.php?showtopic=46059&view=findpost&p=604013

     หลังเหตุการณ์

     http://weareallhuman.net/index.php?showtopic=46486&st=0

     ปล. by the way อันนี้ ไม่แน่ใจจะเกี่ยวกับประเด็นเมล์เรียกร้องของ  อ.บุญส่งหรือไม่ แต่มีการ confirm ว่า ในบรรดาคนที่ตาย มีทหาร 2 นาย (เป็นพลทหาร) อย่างน้อย   อาจจะไม่เกี่ยวในแง่ที่ว่า "นายกฯสั่งฆ่าประชาชน" คงไม่รวม พลทหาร 2 คนนี้ด้วย

     ขออภัยทีอาจจะทำให้ขัดใจด้วยคำถาม หรือเมล์ที่ฟังดูโง่ๆ   อย่างที่สารภาพจริงๆว่า ตอนนี้ ผมเสียใจมาก   และคนที่กำล้งเสียใจ บางทีอาจจะพูดหรือแสดงความเห็นอะไรที่โง่ๆออกไปก็ได้

 

ความเห็นของ Anusorn Unno

เรียนทุกท่าน

     บังเอิญผมมีโอกาสดูถ่ายทอดสดเหตุการณ์ทั้งสองเวทีโดยตลอดทางอินเตอร์เน็ต  ก็เลยรู้สึกเสียใจและโกรธมากเช่นเดียวกัน และรู้สึกว่าอาจจะพูดอะไรโง่ๆ ออกมามากกว่ามาก แต่ก็คิดว่าจำเป็นครับ

     ข้อแรก ผมคิดว่าเงื่อนไขที่นำไปสู่การปราบปรามของ ๒ กรณีต่างกัน

     กรณีพันธมิตรเป็นการบุกรุกและปิดล้อมรัฐสภา เป็นการข่มขู่คุกคามผู้อื่นซึ่งหน้า   การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่เป็นไปเพื่อคลี่คลายปัญหานั้นๆ

     แต่กรณีเสื้อแดงเป็นการชุมนุมกันในที่มั่นของตัวเอง ไม่ได้ไปเคลื่อนไหวกดดันใครโดยตรง       ข้ออ้างในการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่เป็นการอาศัยเหตุการณ์จากที่อื่นมาประกอบกับการตีความว่าการชุมนุมนั้นผิดกฎหมาย

     (ซึ่งกรณีนี้สามารถถกเถียงกันได้ว่าผิดหรือไม่ หรือแม้ว่าผิดจริงตามกฎหมายข้อใดข้อหนึ่ง        ก็ฟังไม่ขึ้นหากจะใช้เป็นเหตุในการใช้อย่างกำลังเต็มรูปแบบในการคลี่คลาย)

     ข้อสอง ลักษณะของปัญหาต่างกัน

     กรณีพันธมิตรมีตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการพกพาและใช้อาวุธในการ เคลื่อนไหว        แต่กรณีเสื้อแดงไม่ปรากฏ   แกนนำบนเวทีประกาศอย่างต่อเนื่องให้ด่านหน้ารับมือกับการรุกคืบกดดันของ ทหารด้วยมือและเท้าและแม้แกนนำระดับรองจะพลั้งปากด้วยความโกรธแค้นว่าจะใช้ ความรุนแรงโดยเฉพาะหลังจากที่ทราบว่ามีเสื้อแดงคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต แต่แกนนำหลักเช่นณัฐวุฒิกล่าวเตือนให้สติอย่างชัดเจน

     และดูเหมือนว่าจะได้รับการตอบสนองทั้งจากผู้เข้าร่วมและแกนนำระดับรอง ฉะนั้นรัฐบาลและทหารจึงไม่มีเหตุอันควรที่จะใช้กำลังเต็มรูปแบบในการสลายการ ชุมนุมที่แกนนำและผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่สมาทานสันติวิธี

     ข้อสาม กรณีข่าวการตายของพลทหาร ๒ นายนั้นยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใด   ในชั้นต้นบนเวทีสันนิษฐานว่าการตายของทหารจำนวนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้เอ็ม ๗๙   ซึ่งสมาชิกเสื้อแดงในการควบคุมไม่มี อาจเป็นของกลุ่มอื่น

     และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ณัฐวุฒิเลือกที่จะเสนอข้อเรียกร้องสงบศึก  (ขณะที่จตุพรสันนิษฐานต่อมาบนอีกเวทีว่าอาจจะเป็นทหารยิงกันเอง) แทนที่จะเผด็จศึกตามข้อเสนอของแกนนำระดับรอง ฉะนั้นความตายของพลทหารจึงไม่อาจให้ความหมายได้ชัดเพราะไม่ชัดว่าเป็นความตายโดย ใคร

     ขณะที่ความตายของเสื้อแดงชัดพอที่จะสามารถให้ความหมายได้   (ส่วนจะให้ความหมายอย่างไร เป็นการ “สั่งฆ่าประชาชน” หรือไม่ เป็นอีกกรณี

     เพราะหลายครั้งที่ปฏิบัติการของทหารไทยไม่สอดคล้องกับระดับนโยบาย ๑๐๐      เปอร์เซ็นต์)

     เพราะเหตุนี้ ผมจึงคิดว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์และทหารกระทำผิดอย่างอุกฉกรรจ์  ชนิดเทียบไม่ได้กับรัฐบาลสมชาย (โดยยังไม่นับระดับของความสูญเสีย)   และยินดีที่จะแสดงออกซึ่งความคิดนี้ในรูปแบบที่อาจารย์บุญส่งเสนอมา รวมทั้งรูปแบบอื่นๆ ที่จะตามมา โดยเฉพาะการเอาผิดกับผู้มีส่วนที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย

     ขอบคุณครับ

     อนุสรณ์

 

ความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ตอบคุณ Anusorn

คุณ เขียนว่า ""อหิงสา สันติ" ผมคิดว่าคงนิยามกันได้หลายลักษณะ..."

ผม สงสัยว่า จะนิยามอย่างอื่น นอกจาก หรือขัดกับที่เผมเสนอวา " ไม่สู้ตอบ หาทางหนี หรือยอมให้จับ" ได้อย่างไร

ความจริง โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับการอธิบาย "อหิงหา สันติ" ในลักษณะ "หลักการ" ตามที่มีการอธิบายกันในสังคมไทยในระยะทศวรรษที่ผ่านมา (e.g. ชัยวัฒน์ et al)

แต่ผมมอง "อหิงสา สันติ" ตามที่ผมเสนอรูปธรรมมานี้ "ไม่สู้ ตอบ หาทางหนี ยอมให้จับ" ในฐานะเป็น "เครื่องมือป้องกันตัวเอง" คือ ป้องกันความปลอดภัยของมวลชน และเป็นการ แสดงออกของวิธีคิดทีถือเอาความปลอดภัยของมวลชนเป็นศูนย์กลาง เหนือกว่าข้อเรียกร้อง

ในแง่นี้ ผมยืนยันว่า (ก) แกนนำเสื้อแดง ไมใช่อหิงหา จริงๆ และ (ข) วิธีคิดของแกนนำเสื้อแดง ไม่ต่างจากแกนนำพันธมิตร ในส่วนนี้ คือไม่ได้มีวิธีคิดที่มองว่า ควรถือเอาความปลอดภัยเป็นศูนย์กลางเหนือกว่าข้อเรียกร้อง และ การ "อหิงหา" (ไม่สู้ตอบ หาทางหนี ยอมให้จับ") เป็นเรืื่องการป้องกันตัวที่สำคัญ

ปล. เรื่อง ไม่มีอาวุธ นั้น ตราบใดที่ไม่ "อหิงสา" แบบที่ผมเสนอ (คือ แทนที่จะ ไม่สู้ตอบ ก็สู้ตอบ ฯลฯ ฯลฯ) ต่อให้เป็นเพียงแค่ ธงชาติที่ถือ ไม้กระบอง ก้อนหิน ฯลฯ ก็ใช้เป็นอาวุธที่ทำความบาดเจ็บได้ และนำไปสู่การโต้ตอบที่รุนแรงยิ่งกว่า ได้ กรณีพันธมิตร ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว (เรื่องธง ฯลฯ) และเมื่อวานนี้ เท่าที่ผมเห็น "อาวุธ" เหล่านี้่ ก็มีการใช้จริงๆในหมู่เสื้อแดง เพราะมาจากไอเดียที่ผมพูดถึงนี้ คือ ไม่ได้มองว่า การ "หนี ไม่สู้" คือท่าทีที่ถูกต้อง

สุดท้าย ที่พูดนี่ ไมใช่ต้องการใส่ร้ายเสื้อแดง หรือแก้ตัวให้รัฐบาล แต่ผมว่า เป็นการ naive มากเกินไป ทีจะบอกว่า เสื้อแดงเองไม่มีอาวุธเลย หรือไม่ได้เตรียมอาวุธไว้ เมือวานซืนหรือเมื่อวาน ก่อนการปะทะ ก็มีการจับการ์ดเสื้อแดง ที่พกอาวุธไม่น้อยเหมือนกัน (รวม 3 คน ถ้าผมจำไม่ผิด 2 คนครั้งหนึ่ง อีก 1 คน อีกครั้งหนึ่ง) ซึี่งพวกเขายอมรับในแง่เป็นการ์ดเสื้อแดง และยอมรับว่า เป็นอาวุธของพวกเขา แต่พวกเขาอ้างว่า เป็นอาวุธที่ยึดมาจากทหารอีกที (ตอนไป ไทยคม ?) แต่เก็บไว้ ไม่ทันได้ "นำส่งให้แกนนำ" ผมอย่างน้อยรู้สึกว่า ควร skeptical ต่อคำอธิบายนี้่ แต่ต่อให้เป็นจริงว่า เขาเพียงเก็บไว้ ยังไม่ทันนำส่ง ถ้าในสถานการณ์แบบคอกวัว ตราบเท่าที่ ไม่มีความชัดเจนในทางความคิดแต่ต้นเรื่อง "อหิงสา" (ไม่สู้ตอบ หนี ยอมให้จับ) โอกาสที่เขาจะตอบโต้ด้วยอาวุธจริงเหล่านี้ ก็เป็นไปได้สูง

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

 

ความเห็นของคุณ sutara

ตอนสมัยรบ.สมชายกลุ่มนี้ได้มีการเรียกร้องให้ลาออกรึเปล่าคะ? ถามเพราะไม่รู้จริงๆ ไม่เคยได้รับเมล...

และถามจริงๆ เมื่อแกนนำแดงรู้แล้วว่ารบ.จะสลายการชุมนุม ถ้าเห็นว่าชีวิตมนุษย์สำคัญที่สุด ทำไมไม่สั่งให้ถอยหรือให้สลายตัวไปก่อนคะ  รอเหตุการณ์สงบแล้วจะมาชุมนุมกันใหม่เมื่อไรก็ได้ การต่อสู้นี้เรื่องใหญ่ อุดมการณ์ใหญ่ ทำไมจะต้องเร่งให้ชนะวันนี้เดี๋ยวนี้เท่านั้นหรือ แล้วชัยชนะมีค่ามากกว่า "ชีวิตคน" หรือคะ???

จากที่เมื่อวานดูข่าวตลอดก็เห็นอยู่ว่าทหารแนวหน้าไม่มีการใช้อาวุธเลย มีแต่เอาโล่ห์ดัน เห็นก็เห็นอยู่ว่าทหารเอาจริง ไม่เลิกภารกิจแน่ จะสลายแน่ ทำไมไม่ถอยเสียละคะ เพราะถ้าประชาชนถอยหนีไป มันก็ไม่ต้องปะทะกัน ไม่ต้องสูญเสีย ทหารเขาไม่ตามไปไล่กระทืบประชาชนที่ยอมถอยหนีไปหรอกนะคะ

แล้วก่อนหน้านี้ที่การชุมนุมเป็นไปอย่างผิดกม. และมีการท้าทายกม.อยู่ตลอดเวลา เช่นการไปบุกยึด บุกล้อม บุกข่มขู่ผู้อื่น การปิดถนน การประกาศจะไปตามจุดที่มี พรก. ว่าห้ามไปนั้น พวกท่านได้ออกมาคัดค้านหรือไม่คะ หรือว่าอยากจะได้แต่ชัยชนะตามอุดมการณ์ตนเองจนไม่เลือกวิธีการ????

การสลายเกิดขึ้นเป็นเพียงผลจากเหตุของการท้าทายจากแกนนำเอง เมื่อแกนนำก้าวข้ามขอบเขตกม. รัฐก็มีหน้าที่ต้องรักษากม.และความสงบ ช้าเร็วเราก็รู้ว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าแกนนำควบคุมม็อบให้อยู่ภายใต้กม.การสลายก็จะไม่เกิดขึ้น... (ถ้าคิดว่าจงใจแต่จะสลายคงไม่รอจนครบเดือนแบบนี้)

ถามว่าที่แกนนำทำผิดกม.กันอยู่ไม่เว้นแต่ละวันเพื่อกระตุ้นให้เราต้องมาถึง วันนี้สักวันใช่หรือไม่???

พวกท่านการศึกษาก็สูง ขอจงมีสปิริตที่สูงด้วย อย่าเอาแต่ใจตัวเองจนไม่เลือกวิธีการที่ถูกต้อง อย่าให้คนเขาต้องคิดว่าท่านเป็น "นักวิชาเกิน" เลย

 

อี-เมล์ วงนี้ยาวและดุเดือดครับ มีการกล่าวหากันด้วย ว่าเป็นนักวิชาการแดง   มีการเอาแถลงการณ์สมัยพันธมิตรมาฟื้นความหลัง ว่ามุมมองปัจจุบันของคนบางกลุ่มเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร   ผมเอามาเพียงบางส่วนเพื่อสะท้อนให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันในวงนักวิชาการสายสังคมศาสตร์ส่วนหนึ่ง    คนที่มีวิจารณญาณพอจะมองออกนะครับว่าใครให้น้ำหนักกับมุมไหน

วิจารณ์ พานิช

๑๓ เม.ย. ๕๓    

หมายเลขบันทึก: 351375เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 04:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สงสารประเทศไทยคะอาจารย์

ขอให้ประเทศสงบสุขโดยเร็ว

สภาวะ เบื่อการเมืองอย่างรุนแรง

เป็นการพิสูจน์ว่า dialogue ทำกันบนกระดานข่าว หรือ virtual world ยากมากน่ะครับ

เพราะข้อมูล ไม่ได้ถูกถ่ายทอด "ทั้งหมด" โดยผู้พูด ขาดอวจนภาษา แววตา สีหน้า อารมณ์ และในทางกลับกันอาจจะ "จมลึก" ลงไปในห้วงแห่ง One fact, One view เท่านั้น สิ่งที่ฝ่ายหนึ่งนำเสนอซึมซัมยากสู่อีกฝ่ายหนึ่ง

เห็นได้อย่างไร?

ว่าอย่างไหนที่เราเรียกว่า fact อย่างไหนที่เราเรียกว่า rumour ถ้าเมื่อไรก็ตาม เรา jump on conclusion โดยอ่านข่าว เห็นรูป และได้ข้อสรุป เราอยากจะ underestimate ไปว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นมันมี "เหตุปัจจัย" ไม่ใช่เป็นไปแบบ linear equation (อาทิ ทหารถือปืน มีคนตาย เพราะฉะนั้นทหารยิงคนตาย เป็นต้น)

ถ้าเมื่อไรก็ตาม เราสามารถชะลอการด่วนตัดสิน แล้วลองให้คำอธิบายแบบอื่นๆ และพบว่ามัน "อาจ" เป็นไปแบบอื่นก็ได้ แล้วเรายังสรุปแบบเดิม อันนี้จะได้เริ่มฉุกคิดว่า "เอ... ทำไมเรายึดคำอธิบายเดิมๆล่ะ ทั้งๆที่มันอาจจะเป็นแบบอื่นก็ได้?"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท