บันทึกนักอ่าน (๒๑) 3Ps มองรัฐบาล ผ่านแง่มุมในเชิงบวก


แง่มุม ในเชิงบวก

บันทึกนักอ่าน (๒๑) 3Ps มองรัฐบาล  ผ่านแง่มุมในเชิงบวก

*ต้นเหตุ*  คืนที่ผ่านมา ได้ผ่านการแลกเปลี่ยนความเห็นเล็ก ๆ ประจำค่ำคืนก่อนนอน กับคนที่บ้าน เพราะคนที่บ้านมีความทุกข์กับสถานการณ์ของบ้านเมือง  ว่าเหตุใด จึงไม่สลายการชุมนุม คนที่บ้านสงสารประเทศไทย   แต่ผู้เขียนสงสารคนที่บ้านมากกว่า ...จึงเป็นต้นเหตุแห่งการบันทึกนี้....

   ในหนังสือของ ดร.มาร์ติน  เชลิกแมน ที่ชื่อ Learnd  Optimism : How  to Change  Your  Mind  And Your  Life  ได้กล่าวว่าความเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้ายเป็นผลมาจาก “รูปแบบการอธิบายตนเอง” หรือวิธีที่คุณให้คำอธิบายกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ  โดยเขาได้อธิบายเรื่องนี้โดยใช้  3Ps คือ

ความคงทนถาวร (Permanence)

ความคลอบคลุม (Pervasiveness)

และความเป็นตนเอง (Personalization) 

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                ความคงทนถาวร  หลังจากประสบเหตุการณ์แย่             คนมองโลกในแง่ร้ายอาจจะพูดว่า “ไม่มีทางที่ทุกอย่างจะดีขึ้น” อย่างไรก็ตามก็เป็นไปได้ยากที่ทุกอย่างจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป  แม้ว่าบางครั้งก็ดูเหมือนว่ามันจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม  ให้ลองเลี่ยงที่จะใช้คำประเภท “ไม่มีทาง” หรือ “ตลอดไป”  ในทางตรงกันข้าม คนมองโลกในแง่ดีอาจจะพูดว่า “นี่เป็นความล้มเหลวชั่วคราว พรุ่งนี้มันจะต้องดีขึ้น” ดังนั้น จงฝึกนิสัยให้คิดเสียว่า มันเป็นเพียงแค่วันแย่ ๆ วันหนึ่งเท่านั้น

                ความคลอบคลุม  คนมองโลกในแง่ร้าย จะมองว่า  ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกระทบกระเทือนทุก ๆ อย่างในชีวิตของเขา  เปรียบได้กับการพลาดรถไฟขบวนหนึ่ง  แล้วก็ลงความเห็นไปเลยว่า รถไฟขบวนถัด ๆ มา ย่อมจะมาไม่ตรงเวลา  ในขณะที่คนมองโลกในแง่ดีจะแยกแยะความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง ดังนั้น  จงอย่าคิดว่าความล้มเหลวดังกล่าว จะส่งผลเสียไปยังส่วนอื่น ๆ ของชีวิต

            ความเป็นตนเอง  เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น  คนมองโลกในแง่ร้ายจะตำหนิตัวเอง  จมอยู่กับความหดหู่  รู้สึกว่าตัวเองกำลังตกเป็นเหยื่อและมองเห็นแต่ความล้มเหลวและโชคร้าย  ในขณะที่คนมองโลกในแง่ดี จะพยายามควบคุมเหตุการณ์และมักจะพูดว่า “ฉันจะออกไปจากสถานการณ์แย่ ๆ นี้ ได้อย่างไร”  ดังนั้น จงหยุดตำหนิตัวเองและให้หยุดคิดหาปัจจัยภายนอก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา  แทนที่จะนึกถึงความผิดของตัวเอง

            3Ps ข้างต้น ช่วยอธิบายได้ว่า  ทำไมคนเราที่ดูเหมือนว่าจะมีความสามารถ เหมือนๆ กัน แต่กลับมีวิธีในการจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เราก็ยังโชคดีตรงที่เราสามารถเรียนรู้ที่จะนำกรอบความคิดแบบต่าง ๆ กันมาใช้และมองโลกในแง่มุมในเชิงบวก

 จากหนังสือ  52  ทักษะพัฒนาสมอง  ผู้เขียน Bill  Licas

คำสำคัญ (Tags): #3ps
หมายเลขบันทึก: 350736เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2010 05:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวสดีค่ะ

เป็นข้อคิดดีๆ ขอแชร์ความคิดเห็นด้วยค่ะ

คนมองโลกแง่ดีมองปัญหาว่า..

ในด้านมิติเวลา ปัญหานี้อยู่ไม่นาน

ด้านผลกระทบ มันไม่ได้มีผลต่อชีวิตเราทุกด้าน กระทบด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เรายังคงดำเนินชีวิตต่อไปค่ะ

สวัสดีครับครูกานต์ มาเรียนรู้ 3 Ps

ความคงทนถาวร (Permanence)

ความคลอบคลุม (Pervasiveness)

และความเป็นตนเอง (Personalization)

เพื่อได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองครับ

สวัสดีค่ะ

  • แต่เราก็ยังโชคดีตรงที่เราสามารถเรียนรู้ที่จะนำกรอบความคิดแบบต่าง ๆ กันมาใช้และมองโลกในแง่มุมในเชิงบวก
  • สรุปได้ตรงใจแล้วค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท