วิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือน


วิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือน

"วิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือน"

บันทึกนี้ ผู้เขียน ขอนำเรื่อง "วิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือน" มาเล่าเพื่อทราบถึงวิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบันว่ามีความเป็นมาอย่างไร...และเพื่อให้ข้าราชการยุคใหม่ได้ทราบอย่างถูกต้อง...โดยมีวิวัฒนาการ ดังนี้...

1. ยุคระบบศักดินา - บรรดาศักดิ์

2. ยุคระบบชั้นยศ (พ.ศ. 2472 - 2475)

3. ยุคระบบตำแหน่ง (พ.ศ. 2476 - 2478)

4. ยุคระบบชั้นตำแหน่ง (พ.ศ. 2479 - 2517)

5. ยุคระบบจำแนกตำแหน่ง (พ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน)

1. ยุคระบบศักดินา - บรรดาศักดิ์

1.1 ใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นหลัก

1.2 มีการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5

1.3 แยกข้าราชการพลเรือนออกจากทหาร

1.4 มีการสอบแข่งขันเข้ารับราชการ

1.5 เลิกระบบกินเมือง

1.6 เปลี่ยนจาก "ข้าราชการปกครอง" เป็น "ข้าราชการพลเรือน"

1.7 ส่งเสริมให้คนท้องถิ่นเป็นข้าราชการท้องถิ่น

การถือศักดินาจะสะท้อนให้เห็นถึง

1. การกำหนดตำแหน่ง

2. ความรับผิดชอบและงานในหน้าที่

3. สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ข้าราชการพึงได้รับ

ตัวอย่าง : พระยานิติศาสตร์ไพศาล

ยศ = พระยา

ราชทินนาม = นิติศาสตร์ไพศาล

หน้าที่ = หน้าที่ในด้านกฎหมาย/ตุลาการ

2. ยุคระบบชั้นยศ (พ.ศ. 2472 - 2475)

2.1 ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471

2.2 มีการใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลครั้งแรก

2.3 คัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ารับราชการเป็นอาชีพโดยการสอบแข่งขัน

2.4 มีคณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติ (ก.ร.พ.) เป็นองค์กรกลางการบริหารงานบุคคล

2.5 กำหนดประเภทข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ เสมียนพนักงาน

2.6 กำหนดชั้นยศของข้าราชการเป็น ชั้นสัญญาบัตรและชั้นราชบุรุษ

3. ยุคระบบตำแหน่ง (พ.ศ. 2476 - 2478)

3.1 ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476 โดย

- ยกเลิกยศและขั้นข้าราชการพลเรือน (ยกเว้นราชการพลเรือนสามัญ)

- เปลี่ยนเป็นการจำแนกตำแหน่ง

- กำหนดโครงสร้างเงินเดือน

3.2 กำหนดประเภทข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้แก่

- ข้าราชการการเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ

- ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์

3.3 ชั้นข้าราชการพลเรือน

- ปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนกประจำแผนกและเสมียนพนักงาน

4. ยุคระบบชั้นตำแหน่ง (พ.ศ. 2479 - 2517)

4.1 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479

4.2 กลับมาใช้ชั้นยศเหมือนเดิม แต่ปรับเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา - ตรี - โท - เอก และชั้นพิเศษ

4.3 เปลี่ยน ก.ร.พ. เป็น ก.พ.

4.4 เพิ่มประเภท "ข้าราชการพลเรือนฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร"

4.5 ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497

4.6 เพิ่มประเภท "ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ"

4.7 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง ปลัดทบวง รองปลัดทบวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง

4.8 หัวหน้าแผนก ประจำแผนก เสมียนพนักงาน

5. ยุคระบบจำแนกตำแหน่ง (พ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน)

5.1 ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518

- ยกเลิกชั้นยศที่ประจำตัวข้าราชการ

- แยกเป็นสายงานต่าง ๆ

- กำหนดตำแหน่งข้าราชการไว้ 11 ระดับ

- เปิดโอกาสรับคนนอกให้เข้ารับราชการ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ

5.2 ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

- จำแนกตำแหน่งเป็นกลุ่มสายงาน 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานทั่วไปและกลุ่มงานวิชาการ

5.3 ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

- ยกเลิกระดับตำแหน่ง 11 ระดับ เปลี่ยนเป็นตำแหน่งประเภทต่าง ๆ 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป

ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับราชการไทยและการเป็นข้าราชการ

สำนักงาน ก.พ.

หมายเลขบันทึก: 350710เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2010 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท