พูดอย่างไรให้มีเสน่ห์


พูดอย่างไรให้มีเสน่ห์

 

 

 

 

การพูดเป็นการสื่อสารที่สำคัญที่จะบ่งบอกถึงความคิดอารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลได้ แต่ละวันเราจะสื่อสารด้วยภาษท่าทางอย่างเดียวนั้น จะทำให้คนเกิดการรับรู้ ตอบสนองช้าหรืออาจจะแปลความผิดได้ แต่การพูดจะสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยใจคอ ความตั้งใจ การเจตนา การใส่ใจต่อผู้ฟังได้เป็นอย่างดี การพูดที่พูดออกจากใจ จะมีความสัมพันธ์กับแววตาซึ่งจะทำให้ผู้ฟังอ่านใจหรือทายใจเข้าใจตรงกัน ตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง แต่ขณะเดียวกัน การพูดก็สามารถทำให้คนเราไม่เข้าใจกันได้เช่นกัน การพูดส่อเสียด การพูดประชดประชัน การพูดแบบมีเลสนัย และสามารถทำให้คนทะเลาะกันได้ ดังสุภาษิตที่ว่า “พุดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากเป็นสี” การพูดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือการพูดได้ และการพูดเป็น การพูดได้หมายถึง การที่บุคลสามารถเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูดต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหา ความหมาย ผลกระทบของคำพูดผลกรพทบที่พูดออกไป แต่การพูดเป็นนั้น หมายถึงการพูดที่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ ถูกอักขระ อักษรควบกล้ำ พูดชัดเจน และที่สำคัญกว่านั้นคือการพูดให้เหมาะสมกับบุคคล เวลา สถานที่ อย่างสุภาพ เหมาะสม ซึ่งการพูดชัดเจน และที่สำคัญนั้นทำให้เป็นที่พอใจของผู้ฟังและเสริมเสน่ห์ให้กับผู้พูดได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงขอเสนอเทคนิคการพูดให้มีเสน่ห์ไว้ดังนี้

 

 

 

 

1. 

พูดอย่างสร้างสรรค์ โดยการพูดในเชิงบวก ไม่ตำหนิ ไม่ดูถูกคนฟัง ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีสิ่งที่ดีประโยชน์ในตัวเอง เพียงแต่มองให้เห็นส่วนที่ดี

 

 

 

 

2. 

คิดก่อนพูด พูดในสิ่งที่ดี และเป็นไปได้ไม่พูดถึงส่วนที่เป็นจุดด้อยของคู่สนทนา เช่น อ้วน แก่ ผมหงอก ลูกเกเร เพราะสิ่งเหล่านี้ใครก็ทราบ และตัวเขาเองก็ทราบคงไม่จำเป็นต้องพูดอีก ควรพูดส่วนที่ดีมีลักษณะเด่น เช่นการมีความสามารถ มีน้ำใจ ขยัน เป็นต้น

 

 

 

 

3. 

งดการนินทา การนินทาใคร ๆ ก็ไม่ชอบ เพราะการนินทานั้นย่อมพูดถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนนั้น ๆ ทำให้ผู้พูดมีค่าต่ำลงทันที ไม่เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น และไม่มีใครอยากเข้าใกล้กลัวถูกนินทาจะเป็นลักษณะที่ว่า “ดีแต่พูด พูดแต่สิ่งไม่ดี”

 

 

 

 

4. 

ยอมรับฟังคนอื่น ไม่ผูกขาดการพูด ให้โอกาสคู่สนทนาได้พูดบ้าง

 

 

 

 

5. 

ประเมินผู้ฟัง ความพร้อมของคนฟัง จังหวะและโอกาส สังเกตความสนใจของผู้ฟังเพราะชื่นชอบ ฟังเพราะเกรงใจ หรือฟังเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญถ้าจะพูดเรื่องส่วนตัวของผู้ฟังควรทันต่อข้อมูลปัจจุบันด้วย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โคราช12
หมายเลขบันทึก: 350683เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2010 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะต้องทำอย่างไรถึงได้สิ่งเหล่านี้มาอยู่ในตัวเราได้ล่ะ

สวัสดีค่ะคุณสาลินี

ปกติจะชื่นชมคนที่มีเก่ง พูดดี และถ้าคนทุกคนพึงระลึกถึง 5 ข้อนี้ สังคมเราคงจะน่าอยู่มากมาก

ไม่ต้องคอยหดหู่ใจกับคำพูดที่ไม่น่าฟัง โดยเฉพาะการนินทาว่าร้ายกัน แต่สำหรับดิฉันปลงได้นานแล้วกับคำนินทา

อาจะเป็นเพราะประสบการณ์เริ่มมากขึ้น จึงจะบอกว่าเองไว้เสมอว่า ถ้าคนที่เขานินทาเราแล้วเขามีความสุขก็ถือว่าเราทำบุญก็แล้วกัน..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท