KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 94. อัตตา


• ในระดับปุถุชน และในการดำเนินการ KM อัตตาเป็นได้ทั้งประโยชน์และโทษ
• อัตตาในระดับที่ “พอดี” เป็นประโยชน์ต่อการทำ KM    สิ่งนี้เรียกว่า “ความมั่นใจในตนเอง”
• สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การยอมรับและเคารพ ใน “อัตตาที่พอดี” ของเพื่อนร่วมงาน และผู้อื่น
• “อัตตาที่พอดี” ช่วยให้มีความกล้าและมั่นใจจะเสนอ การตีความของตน ต่อประสบการณ์ของตน     และช่วยให้ตระหนักว่าตนเองมองภาพได้ไม่ครบถ้วน 
• อัตตาเป็นโทษ เมื่อเลยขีดของความพอดี  กลายเป็นอัตตาจัด    ทำให้ไม่สามารถ “ฟังอย่างลึก” ได้    ไม่สามารถทำ “สุนทรียสนทนา” ได้    อัตตาที่รุนแรง ทำให้เป็นบุคคลที่ไม่เรียนรู้    ไม่เรียนจากผู้อื่น เพราะคิดว่า “ข้าแน่”  “กูเก่งกว่ามึง”
• อัตตา ไม่ได้มีแค่ระดับบุคคล    มีอยู่ในระดับองค์กรด้วย    องค์กรที่ทำหน้าที่เชิงอำนาจ จะมีอัตตา ระดับองค์กรสูง และทำให้สมาชิกขององค์กรพลอยอาศัยองค์กรสร้างอัตตาจัดของตนเอง (ระดับบุคคล)    องค์กรที่อัตตาจัด จะมีโอกาสปรับตัวยาก เจ๊งง่าย 
• อัตตารวมหมู่ (collective ego) มีอยู่ในวิชาชีพด้วย    เช่นในประเทศไทย หมอมีอัตตาว่าตนสูงกว่าพยาบาล   แต่ในโรงพยาบาลของมูลนิธิฉือจี้ ไต้หวัน เขาไม่มีท่าทีเช่นนั้น    เขาเคารพหน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน    อัตตารวมหมู่ในกลุ่มวิชาชีพ ทำให้บางวิชาชีพมีการเรียนรู้ต่ำ    หรือกล่าวได้ว่าเรียนรู้อยู่เฉพาะความรู้เชิงเทคนิคในวิชาชีพของตน ตัดขาดจากการเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนของโลกภายนอก    อัตตาของกลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจเช่นนี้ทำอันตรายต่อสังคมได้มาก
• การทำ KM ต้องการการปฏิบัติตนเชิงอัตตาที่พอดี    ทำให้มีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจในทีมงาน    แต่ในขณะเดียวกันก็เคารพในความเห็น/วิธีการที่แตกต่าง 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ มิย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 35056เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมมากเลยครับ

อัตตาน้อยไป ก็ทำงานไม่ได้ อ่อนแอปวกเปียก

อัตตามากไป ก็ทำงานไม่ได้เช่นกัน  โดนคนเกลียดเยอะ

 

ฝ่ายบริหารจึงต้องหา มุข มาลดอัตตาให้คนบางคนในองค์กรบ่อยๆ 

และ เสริมแรงให้คนบางคนเช่นกัน

การรู้จักตนเอง ด้วยการทำ reflection หรือ hansei เป็นอีกรูปแบบของการ ลดอัตตา

อัตตาเป็นของเห็นยากแถมมีลักษณะเฉพาะ คือ คนอื่นเห็นแต่เจ้าตัวไม่เห็น  ถ้าเป็นอัตตาของลูกน้องหัวหน้าก็พอหามุขมาช่วยลดได้บ้าง  แต่ถ้าเป็นอัตตาของผู้บริหาร  (ยิ่งผู้บริหารที่เก่ง ดีและประสบความสำเร็จมากๆ)จะหามุขไหนมาลดได้คะ

ไม่คิดว่าจะมีใครรู้ว่า "อัตตาที่พอดี" มันคือเท่าไหร่ หากทุกคนเชื่อแบบนี้ ต่างคนก็ต่างถืออัตตาที่พอดีของตัวเองใส่กัน ผมยังเชื่อในการฝึกตนเพื่อไม่มีมีอัตตา เราจะได้เปิดใจเข้าหากันได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ความมั่นใจใน "ตน" เอง ไม่จำเป็นต้องออกมาจากอัตตาที่พอดี

พระพุทธเจ้าสอนว่าเมื่อไม่มีอัตตา เราก็จะเข้าใจเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง ความมั่นใจก็น่าจะออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท