เรียนรู้จากการปฏิรูปการศึกษาของ สรอ.



          ข่าวจาก New York Times ที่นี่ ทำให้ผมเห็นว่า ใน สรอ. เขาปฏิรูปการศึกษาโดยไม่ใช้คำโตๆ อย่างประเทศไทย   แต่เขาทำวิจัยแล้วหาทางพัฒนาระดับขีดความสามารถของผู้เรียน   ดังจะเห็นว่าต่อไปเด็กที่จบเกรด ๑๒ จะมีขีดความสามารถเท่ากับ นศ. ปี ๑ ในมหาวิทยาลัย   คือเขายกมาตรฐานการศึกษาขึ้น ๑ ปี   ดังข้อความนี้

          By fifth grade, for example, students would be required to write essays in which they introduce, support and defend opinions, using specific facts and details. And by 12th grade, students would be expected to solve problems or answer questions by conducting focused research projects — and display skills generally associated today with the first year of college.

          ไม่ทราบผมเข้าข้างตัวเองหรือเปล่าที่ตีความว่า เขาใช้วิธีกำหนด Qualifications Framework ของแต่ละชั้นปี   เอามาเป็นแม่บทในกฎหมาย   บังคับใช้ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของเขา   โดยมุ่งให้การศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ   เน้นการมองอนาคต การสร้างคนเพื่ออนาคต   เพียงแต่เขาไม่เรียก QF เท่านั้น

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ มี.ค. ๕๓
             

คำสำคัญ (Tags): #530408#usa#usqf
หมายเลขบันทึก: 350334เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2010 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท