คุณภาพที่พอเพียง : คุณภาพที่ยั่งยืนที่ตากใบ


คุณภาพที่พอเพียงที่มีฐานมาจากหลักการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน

          การพัฒนาคุณภาพที่พอเพียงเป็นไปตามหลังการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่มีพระเมตตา ทรงคิดค้น ทดลองใช้และใช้ได้ประโยชน์ พร้อมทั้งพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย และประชากรโลกที่กำลังประสบกับผลของการพัฒนาที่ผ่านมา หลักคิดสำคัญที่นำมาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลแบบพอพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ (Moderation) ความมีเหตุผล (Reasonableness) และภูมิคุ้มกันในตัว (Self-Immunity) ที่เป็นแนวคิดเดียวกันกับหลักการแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเห็นว่า "คุณภาพที่พอเพียงที่มีฐานมาจากหลักการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน "การนำพาการเรียนรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยจัดขึ้นที่ ห้องประชุมชญานิศ ภายในโรงพยาบาลฯ  ที่อาจารย์ที่ทำหน้าที่ใมหาวิทยาลัยฯ สอนนักศึกษาในสาขาวิชาบริหารโรงพยาบาล ได้ใช้เวลาช่วงหยุดภาคฤดูร้อน ปี 2553 ออกให้การบริการวิชาการ

พอได้เวลา 13.00 น. นพ.นายแพทย์สมชาย   ศรีสมบัณฑิต ผู้อำนวยการกล่าวตอนรับ และอาจารย์จิราวรรณ  พรหมเพชร ผู้ประสานงานคุณภาพที่ได้ทำการประสานและไปรับจากบ้านพักที่อำเภอสุไหโกลก จนทำให้มีวันนี้เกิดขึ้น แนะนำตัวผมนิดหน่อย แล้วยกเวทีให้ผม

                      

            

          หลักการและแนวความคิดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเป็นหลักในการดำรงชีวิต พร้อมทั้งได้ชี้แนะในการเนินชีวิตให้แก่ประชาชนชาวไทยมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี จนในปี พ.ศ. 2542 ปลายปี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกัน ประมวล กลั่นกรองกระแสพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำบทความดังกล่าวไปเผยแพร่ จนมาถึงวันนี้มากกว่า 10 ปี อีกทั้งขยายออกไปนอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจ ไปสู่การบริหาร การพัฒนาต่างๆอีกมากมาย ทั้งองค์กรตั้งแต่องค์กรขนาดเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่  ความสำคัญดังกว่าถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นต้นมา(พ.ศ.2545-2549) การยึดเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาก็เพื่อจะให้ประเทศเดินทางสายกลาง ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (คณะอนุกรรมการขบเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2550. หน้า 4)

         การพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลก็เช่นเดียวกัน หากนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ก็จะทำให้เห็นการพัฒนาคุณภาพที่สมเหตุ สมผล พอประมาณตามบริบท(Context) ของโรงพยาบาลและชุมชนที่โรงพยาบาลร่วมอยู่ และที่สำคัญก็คือเราได้กลับมาทบทวนความมีคุณค่าในองค์กร สังคมที่เรายึดถือกันมายาวนานเป็นเกาะกำบังเป็นภูมิคุ้มกันของแต่ละคนที่เกี่ยวข้องและของโรงพยาบาลเพื่อนำพาทุกท่านไปสู่ความยั่งยืนของโรงพยาบาลต่อไป

          การนำเอาหลักหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นด้วยเชิญชวนให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ การพัฒนาคุณภาพอย่างพอเพียง เสียก่อน ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยตัวเองได้อย่างไม่เดือดร้อน โดยการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับภาคีหุ้นส่วน มากกว่าพึ่งพาคนอื่น พร้อมทบทวนว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ประการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเราควรนำพาสิ่งใดมาเรียนรู้ก่อน  ที่ประชุมมีความเห็นที่หลากหลายและเสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่า ภูมิคุ้มกันในตัว (Self-Immunity) ควรนำมาเรียนรู้ก่อน  ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือน DNA ที่อยู่ในทุกท่านและเป็นสิ่งขับเคลื่อนการดำรงชีวิตให้ได้แสดงพฤติกรรมออกมาในทางที่เหมาะสม เป็นสิ่งกำกับอยู่จิตใจของเราเอง ที่มีการหล่อหลอมเรามาตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมานั้นคือ ความเป็นมนุษย์ (Humanized) ซึ่งได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมคุณธรรม จริยธรรม จริยธรรมวิชาชีพ จรรยาบรรณ ความมีสติ ที่รู้ว่าทำและไม่ทำอะไร ที่ปรากฏออกมาเป็นความรัก ความเมตตา ความกังวลเมื่อเห็นเขาได้รับทุกข์ ความเกื้อกูล รวมถึงความยินดีปรีดาเมื่อเห็นเขามีความสุข เป็นต้น นี้เป็นสิ่งกำกับให้เราได้ทำความดี ความงามฝากไว้ในระบบบริการสุขภาพของเรา  จะเห็นว่าในบางครั้งบางคราว การรับรู้ที่ขาดการระลึกรู้ อย่างเท่าทัน ก็จะทำให้จิตใจเราเตลิดไปตามการรับรู้ภายใต้ความคิดของเรา  และบางครั้งก็ไปสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ดังนั้นการภูมิคุ้มกันดังกล่าวคือที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นพื้นฐานทำให้เกิดความมีสติระลึกรู้ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกท่านควรได้รับการฝึกฝนให้รู้เท่าทันจิตใจของตนเอง ในช่วงนี้ผมเลยลองชวนให้มาทบทวน การเดินทางของความติดของแต่และคน (การทำงานของจิต) ซึ่งแต่ละท่านมีธรรมชาติของความนึกคิดที่เหมือนกัน แต่ทุกท่านก็มิได้แสดงออกที่ไปในทิศทางเดียวกัน  นั้นหมายถึงท่านที่ควบคุมความคิดจิตใจได้ก็จะไม่คิดอะไรเพลิดเพลินไปกับการรับรู้ที่ผ่านเข้ามา มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว ในขณะเดียวกันบางท่านที่ยังกำกับความคิดของตังเองไม่ได้ก็ต้องฝึกจิตใจของตนเอง “จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง”  “จิตที่ฝึกมาดีแล้วย่องนำพาความสุขมาให้” เฝ้าลมหายใจตนเองเป็นอีกบทเรียนที่เราได้เรียนรู้ร่วมกันในการเฝ้าความคิดให้จดจ่อในเรื่องใกล้ตัวของเรา (ผมอยากสร้างบทเรียนพลังของความคิดที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)ที่ทรงพลังนุภาพ นี้ต่อ  แต่เวลาจำกัด) ตรงนี้เป็นผลของภูมิคุ้มกันนั้นจะทำให้ทุกท่านมีพลังทางความคิดในการต่อสู้กับการรับรู้เรื่องราวต่างๆ พร้อมทั้งใช้พลังตรงนี้ นำพาให้ตัวเรา งานของเราที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับผลงานทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอกที่ได้มอบความไว้วางใจให้ดูแลร่างกาย สุขภาพและจิตใจ ให้ทีมเราได้ช่วยดูแลในระบบบริการสุขภาพของเราต่อไป

(ประการที่ 2 และ ประการที่ 3 จะเอามาลงในโอกาสต่อไปครับ)

หมายเลขบันทึก: 350330เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2010 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาทักทายครับ

สบายดีนะครับอาจารย์

มโน ปุพฺพํ คมา ธมฺมา มโน เสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายีนี

ใจดี(คิดดี)> พูดดี ทำดี

จิตผุดผ่อง บุญช่วยปกป้อง ประดุจดังเงาตามตัว

อนุโมทนา ที่ช่วยกันส่งเสริมให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข

พระมหาสาธิต

นมัสการ ขอบพระคุณท่าน เป็นกำลังในซึ่งกันและกันครับ ผมจะทำหน้าที่ต่อไป

สวัสดีอาจารย์โย่ง ผมเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันสร้างสังคมสงบสุข ตรงนี้เป็นงานที่ผมฝันมาเกือบหมดชีวีตและตอนท้ายอย่างนี้ก็ได้รับโอกาสได้มาอยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เมล็ดพันธุ์อย่างผมกำลังเติบโต งอกงามทั้งภายนอกและภายในถึงแม้จะมีเวลาอีกไม่มากนัก ก็เป็นสิ่งดีๆที่สังคมได้มอบให้และผมรับด้วยความเต็มใจเป็นอย่างมากที่สุดเลยครับ 

 

ผมขอต่อนะครับ

          ประการที่สอง ได้แก่ความมีเหตุผล (Reasonableness) ข้อความนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานของคนทำงานที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ต้องทำงานภายใต้ความมีเหตุ มีผลที่มาจากเหตุปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมา หรือหากเราจะมองในเชิงระบบการพัฒนาคุณ กล่าวคือการดำเนินการใดๆจะต้องมีเป้าหมายในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับการใช้ทรัพยากร การดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันทั้งสิ้นที่เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร (บริบท) ซึ่งทั้งหมดให้อยู่ในระดับพอเพียงกับสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยอาศัยหลักวิชาการที่เราได้เล่าเรียนมาในแต่ละวิชาชีพ   หรือ       หลักการทฤษฎี แนวคิดต่างๆ ทำงานภายให้บริบทอย่างรอบครอบ คิดให้รอบด้านใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ และให้ใช้ความรู้ ความเป็นตรรกะ ความมีเหตุผลความเป็นที่ยอมรับ ที่สำคัญต้องมีฐานความรู้เป็นหลัก (Body of Knowledge)  เช่นความรู้ทางการแพทย์ ความรู้ในการรักษาโรค ความทางเภสัชวิทยา การติดเชื้อ เป็นต้น หรือทางการบริหาร เช่นการบริหารทรัพยากรต่างๆ (บุคคล งบประมาณ ครุภัณฑ์ต่างๆ การบริหารระบบ)การบริหารสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย  เป็นต้น เป็นนำความรู้ที่มีอยู่นำมาใช้เกิดประโยชน์ต่อตนเองหน่วยงาน และส่วนรวมที่เราเรียกว่าใช้ความรู้ในระดับปัญญาที่เป็นการบูรณาการเอาความเป็นจริงตามบริบทของโรงพยาบาลที่เป็นปรากฏการณ์ผ่านความคิดเห็นที่มีฐานมาจากองค์ความรู้  

          หากมองในปัจจุบันความรู้ส่วนใหญ่ที่เราใช้ในการทำงานกันในปัจจุบันเราจะใช้กันแค่ระดับสารสนเทศเท่านั้น ซึ่งต่อไปนี้อยากจะชวนให้นำเอาองค์ความรู้ที่เรามีอยู่ มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เห็น (Concern phenomena) ที่เป็นสารสนเทศเราก็จะเห็นความงามในความรู้ที่เราสามารถนำเอาองค์ความรู้ (knowledge based)มาอธิบายที่มาของสิ่งที่ปรากฏให้เราเห็นจากสารสนเทศ ซึ่งเป็นการให้ความเห็น หรือเราเรียกว่า ความคิดเห็น (Opinion) ที่เป็นการอธิบายความเรื่องราวดังกล่าวให้เห็นความงามที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ที่มีฐานมาจากองค์ความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ลดความผิดพลาดเพราะว่าผ่านการทบทวนอ้างอิงตามหลักวิชาการ จึงเชิญชวนให้นำเอาความมีเหตุผลมาใช้ให้มากขึ้น

          องค์ประกอบสุดท้ายของการพัฒนาคุณภาพที่พอเพียงได้แก่ ความพอประมาณ (Moderation) เป็นการพัฒนาคุณภาพโดยใช้ความตัวตน หรือโรงพยาบาลเป็นฐานในการพัฒนา (Hospital - Based) เราจะใช้คำว่า บริบท (Context) คำๆนี้ได้มีการให้นิยามที่แตกต่างกัน ผมเองได้บททวนจากหลายคน  ท้ายสุดก็ได้ความว่า การเป็นไปตามสภาพของโรงพยาบาลเอง ที่ได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ แสดงความสามารถที่เป็นความเป็นจริงให้องค์กรสามารถในการดำรงอยู่ สร้างให้เกิดความมีคุณค่า และความสามารถในการใช้คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ของ ได้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน  อาคาร ครุภัณฑ์ต่าง  งบประมาณ เวลา ระบบงานต่างๆ  เป็นต้น  ความเป็นบริบท ของโรงพยาบาลสามารถดูได้ทั้งปัจจัยภายในโรงพยาบาลที่ได้รวมเอามาตรฐานวิชีพเข้าไปด้วย  ศักยภาพในการความต้องการของภาคีหุ้นส่วนที่เป็นปัจจัยภายนอก รวมไปถึงแนวนโยบายของภาครัฐบาลทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น  ที่สำคัญจำเป็นก็คือการเข้าไปมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลที่จะทำการขันเคลื่อนไปสู่โยบายภิวัฒน์  ที่เป็นนโยบายที่สร้างมาจากภาคีหุ้นส่วนต่างๆ ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งอยู่ โดยอาศัยบริบทของโรงพยาบาลเป็นฐานในการพัฒนา

         หากเจ้าหน้าที่ได้เข้าใจในเรื่องบทบริบทของโรงพยาบาลเป็นอย่างดี นั้นหมายถึงว่าอย่างน้อยก็รู้และเข้าตนเอง และหน่วยงานของตนเองมากยิ่งขึ้น หากเราได้มีโอกาสได้คุยกันอย่างไม่ต้องกังวล ไม่กลัวก็จะพบว่าทุกคนในที่นี้รู้ว่าโรงพยาบาลเราเป็นอย่างไร รู้เข้าใจบริบทเป็นอย่างดีแต่เวลาขับเคลื่อนองค์กรบุคลากรก็ได้แสดงศักยภาพออกมา ในทุกองค์กรก็พบว่าการใช้ความสามารถที่เป็นศักยภาพดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่ในทิศทางที่หน่วยงาน และโรงพยาบาลกำหนดไว้ ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงาน เวลา รวมถึงงบประมาณของโรงพยาบาลที่มีจำกัดอยู่แล้ว  วิธีแก้ไขที่ผู้นำส่วนใหญ่เอาออกมาใช้ได้แก่การกำหนดกฎเกณฑ์ การทำงาน จำนวนผลผลิตของงาน กำหนดเวลา กำหนดสิ่งต่างที่ผู้บริหารเห็นว่าสามารถทำให้ผลงานสามารถออกมาได้ตามที่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานต้องการ ในการทำงานบริหารในอดีตก็เคยใช้วิธีการอย่างนี้  พอมาถึงวันนี้วิธีคิดของเราเปลี่ยนไป เริ่มให้ความสำคัญกับเป็นมนุษย์ให้คุณค่าคนอย่างเท่าเทียมกัน ร่วมกันกำหนดเป้าหมายความท้ายทาย ด้วยสร้างการเรียนรู้การทำงานอย่างมีส่วนร่วม ให้โอกาสบุคลากรทุกคนได้แสดงศักยภาพของตนเองส่งมอบความมีคุณค่าต่อให้กับคนอื่นๆโดยเฉพาะผู้รับบริหารของเรา กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลากรเท่านั้น ในด้านทรัพยากรอื่นก็ใช้พื้นฐานความมีคุณค่าของมนุษย์ตรงนี้แหละเป็นจุดเริ่มต้น ในเรื่องระบบงานนั้นหากคนที่มีส่วนได้เข้าใจตรงนี้ก็จะสร้างคุณค่าของระบบงานให้เกิดขึ้นต่อระบบบริการสุขภาพที่ได้สะท้อนผลออกมาเป็นทั้งผลผลิต และผลลัพธ์ซึ่งส่วนใหญ่ออกมาในรูปของตัวชี้วัดที่เป็นผลงานของโรงพยาบาลผ่านออกมาจากกระบวนการผลิตที่แสดงให้เห็นศักยภาพของการใช้ทรัพยากรในทุประเภท รวมอย่างนี้แหละที่เรียกว่าบริบทของโรงพยาบาล   เช่น

          โรงพยาบาลชุมชน 60 เตียง อยู่ติดกับประเทศมาเลเซีย ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล  ในระดับปฐมภูมิ และระดับทุติยภูมิในระดับ 2.1 ให้บริการตลอด  24 ชม. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ ใน 4 สาขาหลักโดยมีแพทย์ทั้งหมด 7 คน (อายุรแพทย์ประจำ 1 คน) ทันตแพทย์      2 คน  เภสัชกร 4 คน  พยาบาลวิชาชีพ  49 คน นักวิชาการสาธารณสุข 3 คน พยาบาลเทคนิค 3 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมทั้งสิ้น จำนวน 154 คน มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 300 คน ให้บริการแก่ ประชาชนที่มารับบริการที่อยู่ในเขต ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอตากใบ จำนวนประชากร 65,656 คน ชาย 32,305 คน ประชากรหญิง 33,350 คน ใน 13,996 หลังคาเรือน (ทะเบียนราษฎร์  ณ  วันที่  30   กันยายน  พ.ศ. 2551) และอำเภอใกล้เคียง

ความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่

  1. โรคในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความยากจน เช่น ภาวะโภชนาการพร่อง โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ รวมทั้งโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
  2. กลุ่มโรคที่เกิดเป็นการเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการบริโภคได้ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง รวมทั้งอุบัติเหตุ เป็นต้น
  3. โรคที่เกิดขึ้นและแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ ได้แก่ โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ หรือการกลับมาของวัณโรคที่ดื้อยาอย่างรุนแรงที่ทำให้การควบคุมป้องกันโรค เอดส์มีความซับซ้อนยากลำบากมากขึ้น

 

โรคของผู้ป่วยนอกที่มีความสำคัญ 5 อันดับแรก ปี 2552

1.  Essential (primary) hypertension.
2.  Non-insulin-dependent diabetes mellitus
3.  Acute nasopharyngitis ( common cold)                                                                                         

4.  Acute pharyngitis

 5.   Dyspepsia

โรคของผู้ป่วยในที่มีความสำคัญ 5 อันดับแรก ปี 2552

  1. Diarrhea  and gastroenteritis of presumed inf.
  2. Viral infection
  3. Acute  pharyngitis
  4. Dyspepsia
  5. Acute  bronchitis

 

สรุปปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญของประชาชน

  1. กลุ่มโรคเรื้อรัง             :  เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง (ขาดความต่อเนื่องในการรักษา อัตราการขาดนัดสูงขึ้น)
  2. โรคทางระบาดวิทยา   :  ไข้เลือดออก
  3. อนามัยแม่และเด็ก      
  4. โรคฉุกเฉิน                  :  MI
  5. Trauma                     :  HI
  6. โรคเฉพาะถิ่น              :  Dyspepsia
  7. โรคจากสถานการณ์     :  GSW

         นอกจากนี้แล้วผลการดำเนินงานในเชิงคุณภาพ และอุบัติการณ์ที่สำคัญที่ปรากฏให้เห็นผ่านระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล เช่น อัตราการเสียชีวิต การกลับมารักษาซ้ำ การติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นต้น 

          ตรงนี้แสดงให้เห็นการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทำการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพที่พัฒนาขึ้น เช่น การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจลดลงเป็นอย่างมากที่ทางโรงพยาบาลได้นำเอาการรักษาเบื้องต้นตามหลัก MONA อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะนอนโรงพยาบาล อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน และอัตราการตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง เป็นต้น  

             การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Sustainable Quality Development)

          การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืนในภาพกว้างๆที่เกี่ยวโยงกับมนุษย์ส่วนใหญ่ ได้ชักชวนให้คนในโรพยาบาลได้คิดถึงโลกใบนี้โดยเอาเวลามาเป็นสิ่งกำหนดโดยเริ่มจากยุควิทยาศาสตร์ที่นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่เราเรียกว่าความเจริญลองทบทวนว่ามีอะไรเกิดขึ้นอย่างมากมายบ้าง และมีอะไรในโลกใบนี้ลดน้อยลงไปบ้าง บทเรียนที่พบจากการเรียนรู้ก็ มนุษย์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทรัพยากรต่างๆลดลงอย่างมากน่าใจหาย เช่นพลังงานน้ำมัน ป่าไม้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปโดยน้ำมือมนุษย์ในทางที่เสื่อมลง จนโลกใบนี้ต้องปรับตนเองเพื่อให้ดำรงอยู่ได้หรือให้ทุกอย่างบนโลกใบนี้อยู่ได้ได้แก่ การเกิดแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ล้วนแต่เป็นการปรับตัวของโลกเข้าไปสู่ความสมดุลทั้งสิ้น  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในมุมมองของประกรโลกมนุษย์บางกลุ่มก็กลบมองว่าโลกโหดร้ายเหลือเกินที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วยและล้มตายเป็นอย่างมาก หากมองอย่างนี้ความเจริญเติบโตที่เกิดจากการพัฒนาของมนุษย์เราก็ไม่ได้เกิดความยั่งยืนหรือถาวรไม่รู้เมื่อไรเราจะไปถึงจุดนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า “การพัฒนาที่มนุษย์ชนะ... แต่โลกหายนะ”  “มนุษย์มองว่าจะเอาอย่างไรกับธรรมชาติ ไม่ได้มองว่าจะทำอย่างไรกับตนเอง”  “มนุษย์เรากำลังจะเอาชนะโลก เรายังไม่ทันจะเอาชนะโลก โลกหายนะเสียก่อน” (พระธรรมปิฎก, 2546, หน้า 156-157)

          การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่เกิดความยั่งยืนนี้แหละมีความสำคัญ เรามักจะได้ยินมีผู้บริหารพูดกันเสมอว่าโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองแล้ว หยุดการพัฒนา ไม่มีการพัฒนาจนไม่ผ่านการประเมินซ้ำ โรงพยาบาลหลายแห่งไม่ประสงค์ขอรับการประเมิน หลายโรงพยาบาลเปลี่ยนเอาระบบการพัฒนาคุณภาพอื่นที่เห็นว่าง่ายมาเป็นเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพ เป็นต้น อย่างนี้ก็อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพที่ไม่ยั่งยืน หากแต่ว่ากระบวนการ หรือวิธีการนั้นไม่ได้มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเป็นการเฉพาะแต่โรงพยาบาลทุกแห่งก็มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามวิถีของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และหากจะบอกว่าเอาตรวจประเมินมาเป็นเครื่องชี้วัดโรงพยาบาลในการพัฒนาคุณภาพก็อาจจะไม่เป็นธรรมสำหรับโรงพยาบาลทั้งนี้เพราะว่าโรงพยาบาลสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน สภาวะสุขภาพในพื้นที่ และดำรงความเป็นอยู่มาอย่างยาวนานและก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปอย่างนี้ก็เป็นความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลเช่นกัน และที่สำคัญคือไม่ผ่านกระบวนการเยี่ยมสำรวจจากองค์ภายนอก โดยทุกคนในองค์กรเห็น ทำไปตามความสามารถ ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ รู้ว่ากำลังพัฒนาการให้ผู้รับบริการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยเฉพาะมีความปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น

          การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานมาจากความสมดุลในศักยภาพของทรัพยากร ความต้องการของชุมชนหรือสภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงนโยบายของส่วนกลางที่เกิดมาจากความต้องการของพื้นที่ กล่าวคือเป็นการพัฒนาคุณภาพที่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นภาวะสุขภาพ การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากชุมชนและสังคมโดยโรงพยาบาลต้องรักษาความสมดุลไว้ให้ได้ถึงจะเป็นการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน และที่สำคัญต้องนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นการพัฒนาตามแบบของโรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้นเอง

          ในการเรียนรู้ผมใช้เวลาประมาณ 2.5 ชั่วโมง โดยเหลือเวลาไว้สัก 20 นาทีเพื่อเติมประเด็นที่ยังขาดที่เกี่ยวกับคุณภาพที่พอเพียง: คุณภาพที่ยั่งยืน เสร็จแล้วท่านผู้อำนวยการและทีมงานพาผมและลูกหลานเยี่ยมชมโรงพยาบาล ประเด็นสำคัญที่ได้เข้าไปเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ไม่ว่าทางกายภาพทั้งภายในอาคาร และภายนอก ที่มีภูมิสถาปัตย์ที่น่าอยู่ ทั้งต้นไม้ที่มีร่มเย็น สนามหญ้า สระน้ำเลี้ยงปลา ที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทีมงานเป็นอย่างดีโรงพยาบาลได้อาศัยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้มาเยียน เรียนรู้ดูแลตนเองผ่านกระจกเงาบานใหญ่ที่ติดเอาไว้ในทุกตึกสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้มารับบริการจะได้ดูตนเองก่อนที่จะมาให้คนอื่นดู หรือจะไปดูแลผู้อื่นสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล.........

                   ..............................................................

  • คุณภาพคับแก้วนะคะท่านอาจารย์
  • ไปอำนาจเจริญเมื่อใดอย่าลืมส่งข่าวนะคะ
  • ระลึกถึงท่านเสมอ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท