สุนทรียสนทนา...ตอนแรก


ไม่มีใครเกิดมาแล้วอยากเป็นคนเลว
ถือเป็นโอกาสดี ที่ได้ไปอบรมสุนทรียสนทนา เมื่อวันที่ 3-4 เมย. นี้ ตามโครงการพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลมโนรมย์ โดยมีแพทย์หญิงสมพิศ จำปาเงิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ  ท่านเป็นผู้นำทีมกระบวนกร มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพวกเรา (พวกที่ไม่รู้อะไรมาก่อนเลยกับสุนทรียสนทนา)
                และจากกระบวนการเรียนรู้ที่ทีมวิทยากรจัดให้ เราจึงได้ทราบว่า (ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัย เพราะเป็นการสรุปมาจากการเรียนรู้จากทีมวิทยากรและจากผู้ที่รับการอบรมด้วยกัน)
                                สุนทรียสนทนา การให้ความสำคัญกับการฟังมากกว่าการพูด ซึ่งเป็นข้อหนึ่งในสี่ข้อของหัวใจนักปราชญ์ ( สุ=ฟัง, จิ=คิด, ปุ=อ่าน, ลิ=เขียน)
              การฟังที่ดีและได้ประโยชน์ คือการฟังอย่างลึกซึ้ง ( Deep listening ) อย่างมีสติ มีสมาธิ ฟังอย่างตั้งใจ อดทนที่จะฟังคำพูดทุกถ้อย คำ อดทนที่จะไม่ขัด หรือโต้แย้ง แม้ไม่เห็นด้วย ที่สำคัญการฟังที่ดี คือการที่เราได้ยินใจของผู้พูดด้วย อย่าด่วนสรุปตัดสินตามเสียงที่เราได้ยิน Suspension) ด้วยการฟังอย่างที่กล่าวมาแล้ว จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี
             ลืมบอกไปว่าการอบรมครั้งนี้ มีกิจกรรมสนุกๆ ให้พวกเราได้ร่วมทำหลายกิจกรรม และแต่ละกิจกรรม ก็โดนใจ.. ทำให้เราฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้  อย่างนึกไม่ถึง ตัวอย่างเช่น
                กิจกรรมสะท้อนกลับ (จับคู่ ผลัดกันเล่าเรื่องของตัวเอง ตามกติกาคือคนที่ฟังห้ามพูดหรือถามขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเล่าอยู่ เมื่อเล่าจบให้คนที่ฟังเล่าเรื่องของคู่สนทนา ) ทำให้เรานึกได้ว่า ...เมื่อตอนเป็นเด็กถ้าเราตั้งใจฟังคุณครู (ไม่ชวนเพื่อนคุย แอบกินขนม แอบวาดการ์ตูน ฯลฯ) แล้วละก็ เราต้องได้เกรด 4  แน่ๆ
                กิจกรรม Body scan ในท่าต่างๆ ตั้งแต่ ยืน นั่งนอน ทำให้เรามีสมาธิ สงบนิ่ง ได้หยุดพักและสำรวจตัวเอง (มีบางคนถึงกับหลับไปเลยในท่านอน) รู้สึกสบายอย่างที่ไม่เคยมานานแล้ว เหมือนได้ดูแลตัวเองเสียบ้าง...ดีเหมือนกันนะ
                กิจกรรม เชื่อใจเพื่อน ( จับคู่กัน แล้วสบตาจับมือ ส่งใจถึงกันผ่านดวงตาและมือต่างผลัดกันกล่าวคำ จงเชื่อใจฉัน และฉันจะเชื่อใจเธอ จากนั้นให้คนหนึ่งปิดตาให้อีกคนหนึ่งพาคนที่ปิดตาออกไปนอกห้องประชุม ไปรับรู้สัมผัสทั้ง 5 คือรูป รส  กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อครบแล้วให้เปลี่ยนกันทำเช่นเดิม)         ไม่น่าเชื่อว่าตอนที่เราถูกปิดตา นั้นเราได้ยินเสียงต่างๆ ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเสียงลมพัด เสียงใบไม้ไหว เสียงนกต่างๆ ที่มีแตกต่างกันถึง 4-5 ชนิด ได้ยินกระทั่งเสียงฝีเท้าคนที่เดินย่ำบนสนามหญ้า เราคิดของเราเองว่าบางครั้งถ้าเราปิดตาเสียมั่งก็ดีนะ
                และกิจกรรมที่จำชื่อไม่ได้ แต่เราขอตั้งชื่อว่ากิจกรรมจิ๊ด เพราะมันให้ความรู้สึกว่าจิ๊ดจริง กิจกรรมนี้ เขาให้รวมกลุ่ม 5-6 คน แล้วให้ แต่ละคนแบ่งกระดาษ A4 เป็น 4 ช่อง โดย
-          ให้เขียน พฤติกรรมที่ เราจะโกรธ (จิ๊ดทันที) ทนไม่ได้ 5 อย่าง ในช่องที่ 2
-          ให้เขียนข้อดีของเราที่ตรงกันข้ามกับจิ๊ด 5 อย่าง ในช่องที่ 3
-          ให้มองหาข้อดีของพฤติกรรมจิ๊ด แล้วเขียนไว้ที่ ช่อง 1
-          ให้มองหาข้อเสียของพฤติกรรมที่เป็นข้อดีของเรา เขียนใส่ที่ช่อง 4
กิจกรรมนี้เล่ายาก ...ประมาณว่า ถ้าข้อดีของเราคือชอบอาสาช่วยงานคนอื่น ( ข้อเสียก็จะประมาณว่า เป็นพวก ส. สระเอือ ใส่เกือก, สาระแน เป็นต้น) ถ้าพฤติกรรมจิ๊ดคือ คนชอบนินทา (ข้อดีของเขาคือ เหมือนผู้สื่อข่าวทำให้เราได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว...ว่าเข้าไปนั่น)
 
คำสำคัญ (Tags): #สุนทรียสนทนา
หมายเลขบันทึก: 349893เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2010 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับคุณ จรรย์รับฟังและเชื่อใจคนอื่นยากครับ ที่ยากกว่าคือเชื่อใจตัวเองครับ

เข้ามาเรียนรู้ด้วยครับ

 

เข้ามาเรียนรู้ด้วยคน

ขอบคุณขอรับ

P ขอบคุณค่ะพี่...ให้แง่คิดดีๆ เสมอนะคะ

P P ยินดีค่ะมิตรใหม่ 

เห็นภาพ P แล้วไม่น่าเป็นเด็กข้างบ้านน่าจะเป็นเด็กหิมะมากกว่านะคะ

กิจกรรมจิ๊ดนี่ผมมักเรียกว่ากระดาษสี่ช่องครับ มีข้อคิดเห็นที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้มาหลายสิบครั้ง

ช่องที่ ๑ คือการทำให้เราใจเย็นขึ้น ไม่โมโหง่าย เราก็จะไม่โต้ตอบอย่างไม่ทันคิดต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนอื่น

กล่าวคือไม่เอาพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนอื่น มาทำให้เราเกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี

อาจจะโมเมว่าเป็นการทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว อย่างในโอวาทปาฏิโมกข์ก็ได้

อย่างไรก็ตามแม้เราจะไม่โมโหแล้ว แต่เราก็ต้องไม่ยอมปล่อยให้พฤติกรรมนั้น (เช่นมาสาย เอาเปรียบ) คงอยู่ตลอดไป ยังไงก็ต้องแก้ไข แต่แก้โดยใจเย็น

ในช่องที่ ๔ นั้น ผมมักบอกว่าแม้จะเป็นการเสแสร้งบ้าง สร้างภาพบ้าง แต่ถ้าทำจนเป็นนิสัยก็อาจจะเป็นของจริงสักวันหนึ่ง แล้วให้กำลังใจไป มีความไม่สบายใจอยู่บ้าง เพราะบางทีอาจจะก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่ดีขึ้น เช่นบอกว่าที่ซื่อสัตย์เพราะโง่ หรือเพราะยังไม่มีทางโกง ตรงนี้อาจจะต้อง comment ให้ผู้ร่วมกิจกรรมระวังไว้บ้าง

ผมเพิ่มอีกช่องหนึ่ง เรียกเองว่าช่อง ๒.๕ ซึ่งได้แนวคิดมาจาก Satir model ที่เชื่อว่าการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ของเรานั้นจะมีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง ก็เอามาปรับกับช่องที่ ๒.๕ โดยให้แต่ละคนลองคิดว่าอะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่ชอบพฤติกรรมช่อง ๒ นั้น

พอลองวิเคราะห์แล้วจะตกใจครับ ผมลองทิ้งเป็นการบ้านไว้เท่านี้ก่อนคุณ By Jan ลองวิเคราะห์ช่อง ๒.๕ ของตนเองก่อนนะครับแล้วลองมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน พอทำแบบนี้จึงเข้าใจว่าคำว่า voice dialogue น่าจะเป็นช่อง ๒.๕ นี้เอง

P ช่วงที่มีการสรุปกิจกรรมนี้ ก็มีข้อเสนอแนะจากพี่อินทรย์ชาย (ตัวเดียวในหมู่พวกเรา) คือ ได้เสนอว่ามีนควรจะมีช่องที่ 5 ด้วย ให้บังเอิญเหลือเกินว่ามุมมองของพี่แกตรงกับของคุณหมอเป๊ะ พอดีหมดเวลาเราก็เลยไม่ได้ลองวิเคราะห์กัน พอกลับมาก็ต่างคนต่างวุ่นวายกับการเตรียม ICV (HA) และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ช่วงสงกรานต์

ในส่วนตัวได้ใช้แนวคิดของ Satir model ในหลายเหตุการณ์ โดยไม่รู้ตัว ที่บ่อยมากคือกรณีไกล่เกลี่ย ผู้ร่วมงานที่มีข้อขัดแย้งกัน ทุกอย่างมันมีเหตุผล อย่างคนที่มาทำงานสายก็ยังเป็นปัญหาขององค์กร อยู่ถึงแม้จะเป็นคนส่วนน้อย แต่ก็สร้างความหงุดหงิดให้ผู้ร่วมงาน และรู้สึกไม่ยุติธรรม เกิดความขัดแย้ง ก็ต้องแก้อย่างใจเย็น เหมือน PDSA อยู่หลายรอบ (10 ปี เห็นจะได้ กว่าจะได้คำตอบว่าอะไรคือเหตุที่แท้จริง และเราต้องแก้เกมอย่างไร ที่ไม่ใช้การลงโทษ)  จากสาย 45-60 นาที ตอนนี้สายไม่เกิน 5 นาที ซึ่งผู้ร่วมงานยอมรับได้

การลงโทษผู้กระทำผิดใช้ไม่ได้ผลเสมอไป กลายเป็นข้อสรุปของการแก้ปัญหาคนมาสาย และแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะ เหตุผล ต่างกัน

พฤติกรรมเดียวกันของคนละคนอาจจะมีสาเหตุที่ต่างกันครับ

การแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่แต่ละคนจึงอาจจะต้องใช้วิธีต่างกัน บางคนก็ต้องลงโทษครับ บางคนเตือนก็พอ

พรพ (สรพ) มักชอบให้เราทำแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ทุกคนทำแบบเดียวกัน

ถ้าทำได้ตามนั้นก็ดี แต่เรามักจะพบว่า guideline ดี แต่ให้เลือดผิดเพราะไม่ทำตาม guideline

เป็นกิจกรรมที่น่านำไปใช้กับการเรียนรู้ของเด็กครับ

ขอบคุณคุณหมอ P ที่แวะมาแลกเปลี่ยนมุมมองเพิ่ม ตอนนี้จรรย์ก็ยังคิดไม่ออกเหมือนกัน เรื่อง Human error! ปวดหัวจริงๆ ค่ะ

P จรรย์คิดว่านำไปใช้ได้กับทุกองค์กรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท