เรื่องเล่าจากภาพ : หนูทดลอง


เลี้ยงพยาธิใบไม้ตับในหนูทดลอง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในมนุษย์

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพของสัตว์ทดลอง คือ หนูแฮมเตอร์

 

นักวิจัยและนักวิชาการ ได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการใช้สัตว์อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์ อย่างแท้จริง แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงสัตว์ทดลองที่ถูกต้อง มีคุณภาพและไม่ขัดต่อจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง

 

สัตว์มีความรู้สึกเจ็บปวดและมีความรู้สึกตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับมนุษย์ จึงต้องปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความระมัดระวังทุกขั้นตอน

 

หนูที่น่ารัก... ระหว่างที่พวกเราเตรียมเครื่องมือ เตรียมยาสลบ หนูก็จากวิ่งไปมา เหมือนอยากรู้ อยากเห็น พร้อมกับโผล่หน้ามาดูว่า... มนุษย์พวกนี้จะทำอะไรกับเราหนอ?

 

 

สัตว์ทดลอง จำนวนหลายตัว หลายชนิดที่ต้องจบชีวิต เพื่อแลกกับการพัฒนายา วัคซีน องค์ความรู้ทางการแพทย์ใหม่ๆ เพื่อรักษาชีวิตมนุษย์ ดังนั้นถือได้ว่า... สัตว์ทดลองเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ทรงคุณค่า คุณประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เพราะนี่คือหนึ่งความตาย ที่จะต่อชีวิตให้อีกหลายชีวิตในวันข้างหน้า

 

 

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย... สาธุ

หมายเลขบันทึก: 348469เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • น่าสงสารหนูแต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นะคะ
  • นับว่าหนูมีบุญคุณกับชีวิตมนุษย์มากค่ะ

เรียน คุณครูคิม

ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์บางคน กำลังศึกษาใช้การทดลองในเซลล์แทนสัตว์

แต่อย่างไรก็ตามต้องมาต่อยอดที่สัตว์ แล้วตามด้วยมนุษย์

มนุษย์เป็นหนี้บุณคุณสัตว์และธรรมชาติมากมายเลย ครับ

สงสารหนูจังถูกเอามาทดลอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท