KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 92. ระบบ


• ระบบมี ๒ แบบ    ระบบเชิงกลไก (mechanical) กับระบบเชิงอินทรีย์ (organic)
• การคิดเชิงระบบ แบบกลไก  คิดแบบ input – process – output   เป็นแนวคิดของการจัดการยุคอุตสาหกรรม   เมื่อมีวัตถุดิบ X นำมาผ่านกระบวนการที่กำหนด  จะได้ผลผลิต Y    ถ้ามีวัตถุดิบ 2X  ก็จะได้ผลผลิต 2Y    คาดผลลัพธ์แน่นอนได้
• แต่ในความเป็นจริง โลกมีความซับซ้อน เป็นระบบที่ไม่เป็นเส้นตรง    การจัดการสมัยใหม่ต้องใช้แนวคิดเชิงระบบแบบอินทรีย์ หรือระบบซับซ้อน    ไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ที่แน่นอนได้    ๒ + ๒ ไม่เป็น ๔   อาจเป็น ๑  หรือ ๕   หรือ ๕๐   หรือกลายเป็นผลที่เปลี่ยน order ไปเลย ก็ได้
• การคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking) ใน The Fifth Discipline สำหรับ LO ตามแนวของ Peter Senge หมายถึงการคิดแนวระบบซับซ้อน   ระบบซ้อนระบบ   และอาจเกิดการผุดบังเกิดเป็นระบบใน new order ได้เสมอ
• KM แนว LO เน้นการจัดการแบบเอื้ออำนาจ ให้พลังแห่งระบบที่ซับซ้อนทำงานเอง    หวังผลลัพธ์ในระดับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อ”  
• พลังแห่งระบบที่ซับซ้อนเป็นพลังธรรมชาติมีอยู่ทั่วไป   แต่ไม่แสดงตัวเพราะระบบแข็งทื่อ ไม่เปิดช่องให้พลังแห่งระบบซับซ้อนทำงาน    จะให้พลังแห่งระบบซับซ้อนทำงานได้ ต้องมีการจัดการแบบให้อิสระ และเอื้ออำนาจภายใต้พลังแห่ง Shared Vision / Common Purpose 

วิจารณ์ พานิช
๒๘ มีค. ๔๙
  

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 34731เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท