ถอดบทเรียนประชุมวิชาการรังสีเทคนิค จ.ตรัง : การถ่ายภาพรังสีกะโหลกและสมอง


แพทย์ต้องการดูอะไร? ในกะโหลกและสมอง

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอความรู้จากการถอดบทเรียน ที่ผมได้ไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ ที่จัดโดย สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี ณ โรงแรมธรรมมารินทร์ ธนา จ.ตรัง ในช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการทบทวน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางรังสีเทคนิคและผู้สนใจ ครับ

โดย รศ.พญ.ศิรินทรา สิงหรา ณ อยุธยา

 

การถ่ายภาพรังสีทั่วไปของกะโหลกศีรษะ

ท่ามาตรฐาน Skull PA และ  Later view สำหรับ Towne’s, Water’s, and Submento vertex view และ tangential view ใช้เป็นท่าถ่ายสำหรับ การถ่ายเพิ่มเติม เพื่อหารอยโรคหรือสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติม

 

 

ก่อนการถ่ายภาพรังสี

นักรังสีเทคนิค ควรดูรายละเอียดจากใบส่งตรวจ (Request x-ray) เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญ ที่แพทย์ผู้ส่งตรวจวินิจฉัยให้มา เช่น ประวัติการเจ็บป่วย อาการหรือสิ่งผิดปกติที่ต้องการหาข้อมูลจากการวินิจฉัย หากข้อมูลไม่เพียงพอ สามารถสอบถามจากผู้ป่วยหรือญาติเพิ่มเติม รวมถึงการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการการบาดเจ็บ มีเลือดออกที่สมอง ต้องให้การบริการที่รวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงของอาการที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นจากพยาธิที่เป็นอยู่

 

แพทย์ดูอะไร? ในกะโหลกและสมอง

Bony cortex ดูว่ากระดูกถูกทำลาย มีก้อนหรือไม่ (ในภาพ วงกลมสีดำ คือ บริเวณที่ผิดปกติ)

ภาพจาก

http://emedicine.medscape.com/article/389350-imaging

 

 

Suture ดูรอยต่อของร่องกะโหลก โดยเฉพาะในเด็ก กระดูกเหล่านี้ยังไม่เชื่อมติดต่อกัน มีสิ่งผิดปกติหรือไม่

 

 

 

Vascular groove ดูว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถพบเห็นได้หรือไม่ ลักษณะของความผิดปกติที่เห็นมีลักษณะเป็นเส้นสีดำ ลักษณะผิดปกติ (บริเวณศรชี้)

ภาพจาก http://yassermetwally.wordpress.com/2009/07/11/plain-x-ray-of-meningiomas/ 

 

 

Fracture ดูว่ามีลักษณะการแตกร้าวแบบใด แตกแบบเป็นเส้น (Linear) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากร่องของกะโหลก การแตกแบบมีการกดทับ (Depress fracture) จะเห็นมีลักษณะเป็นการยุบของกะโหลก ในภาพถ่ายรังสีจะมองเห็นกระดูกมีสีขาวเพิ่มขึ้น สำหรับในการถ่ายภาพรังสี ที่ไม่สามารถมองเห็นการแตกร้าว อาจถ่ายภาพในท่าเอียง (Tangential view) เพื่อให้เห็นลักษณะการแตกร้าวหรือยุบให้ชัดเจนขึ้น

ภาพจาก http://stock-medical-illustrations.com/generateexhibit.php?ID=2483&ExhibitKeywordsRaw=&TL=&A=2 

ภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง มองเห็นรอยกะโหลกยุบลงมาข้างใน (ศรชี้)

ภาพจาก http://www.itim.nsw.gov.au/index.cfm?objectid=29BFD2F2-1321-1C29-70550539E0BA1AC6

 

 

สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง เช่น Subdural hematoma หรือ Sub Acute phase การเปิด Window Width (WW) และ Window Level (WL) ปกติเพื่อดูเนื้อสมอง ที่ใช้ประมาณ WW ประมาณ 100-200 WL ประมาณ 50-80 อาจจะไม่สามารถมองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน

ในภาพใช้ WW 124 WC 50 (WC=WL ; C = Center) บริเวณลูกศรชี้ หากมองไม่ดี จะไม่เห็นความผิดปกติที่ชัดเจนนัก

  

ต้องปรับใหม่ ให้ WW แคบลง เนื่องจากความหนาแน่นของเลือดมีค่าใกล้เคียงกับสมอง เมื่อเป็น WW ที่แคบทำให้ Contrast ของสมองและเลือด มีความแตกต่างกันมากขึ้น (บริเวณลูกศรชี้ คือ บริเวณความผิดปกติ)

ในภาพใช้ WW 66 WC 47 ทำให้เห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้น

  

สรุป : การถ่ายภาพรังสีกะโหลกและสมอง ในผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุต้องใช้ความรวดเร็ว ต้องดูแลผู้ป่วยระหว่างตรวจอย่างใกล้ชิด ใช้เทคนิคการถ่ายภาพ+ฝีมือ+ทักษะ+ประสบการณ์ จะเห็นได้ว่า ภาพถ่ายรังสีจะ ดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับนักรังสีเทคนิค บุคลากรทางรังสีเทคนิค คิดก่อนทำ สติ สมาธิ ตั้งใจ ใส่ใจในผลงานที่ท่านเกี่ยวข้อง เพื่อผลลัพธ์ที่ทรงคุณค่า 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 346139เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2010 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณ อาจาร์ต้อมครับ ที่กรุณาเผยแพร่

เป็นประโยชน์เสริมความรู้ให้รังสีชุมชน มากครับ

ขอบคุณสำหรับการถอดบทเรียนชุดนี้

พี่เป็ด

เรียน คุณ สุภักดิ์ และ พี่เป็ด

ดีใจที่ได้นำเสนอเรื่องที่หลายท่านได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ครับ

สวัสดีค่ะ แวะมาชื่นชมและเป็นกำลังใจให้นะค่ะ

se_barcode เองก้อเป็นบุคลากรทางรังสีคนหนึ่ง ที่อยู่ในบรรยากาศการประชุมวิชาการรังสีการแพทย์ จ.ตรัง

วิชาการเป็นประโยชน์ต่อนักรังสีการแพทย์มาก ๆ เป็นการเพิ่มพูนทักษะ ทบทวน องค์ความรู้ในการบริหารจัดการงาน

ด้านรังสีเทคนิค มีหัวข้อน่าสนใจหลายเรื่องเลย

... ขอชมจริง ๆ ครับ

ภูมิใจ และประทับใจจริง ๆ ๆ ที่มีโอกาสมาเยี่ยมเมืองอดีตนายกชวน คร๊าบ

ให้กำลังใจดี ๆ สำหรับผู้ที่ตรากตรำอยู่กับวงการวิชาการ .... ตลอดเวลา .....

ฝากบอก ถ้ามีบล็อกดี ๆ เกี่ยวกับ Medical Imaging Information Administrator อยากอ่านก่อนที่จะเข้าอบรม หรือหลังอบรม

เพื่อการเตรียมตัวสอบระดับอินเตอร์ ..... รอคอยอยู่ครับ

se_barcode

RT 17 rama

RT 4 RKU

เรียน คุณSe_barcode

ตอนนี้ที่ มข. กำลังจัดทำเป็นวิชาการสนเทศทางการแพทย์ อยู่ ครับ เพิ่งทดลองเปิดครั้งแรก หากสามารถตอบสนองความรู้สำหรับการสอบ MIIA ได้ จะพยายามจัดเป็นโครงการ เพราะคิดว่านักรังสีเทคนิคต้องเกี่ยวข้องกับ Digital image อีกนาน ส่วน web จะลองหาดู เพราะ ผศ.บรรจง เขื่อนแก้ว จะมีความชำนาญหัวข้อนี้มากกว่าผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท