การให้การปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี :เอชไอวีกับสุขภาพจิต


                   เมื่อบุคคลได้รับเชื้อเอชไอวี บุคคลต่างๆที่มีความสำคัญสำหรับเขา เช่นคู่นอนหรือกิ๊กครอบครัว และเพื่อนก็สามารถที่จะประสบกับผลพวงทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม พฤติกรรมและด้านการแพทย์เช่นเดียวกัน โดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องต่างๆได้แก่ สัมพันธภาพกับคู่นอน ชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศและทางสังคม การทำงานและการศึกษา ความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความต้องการ และสิทธิทางกฎหมาย สิทธิพลเมือง ทั้งนี้ประเด็นทางด้านจิตสังคมจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมักจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงของการดำเนินโรค ซึ่งโรคติดเชื้อเอชไอวีก่อให้เกิดความต้องการต่างๆอย่างมากมายทั้งจากผู้ติดเชื้อเองและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจำเป็นต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ส่วนความผิดปกติทางจิตเวชในคนไข้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีความเกี่ยวข้องกับการไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด  มีพฤติกรรมเสี่ยงในการแพร่เชื้อเพิ่มสูงขึ้น การใช้สารเสพติดและการดื่มสุรามากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

                ผู้ให้การปรึกษาที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านจิตวิทยาและด้านจิตสังคมที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเผชิญอยู่ ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และในบางกรณีก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินปัญหาในด้านต่างๆของผู้รับบริการทุก 3 เดือน หรืออย่างน้อยทุก 6 เดือน ในเรื่องต่อไปนี้ จิตสังคม สุขภาพ ความเสี่ยงของปัญหาทางจิตเวชในอนาคต และความต้องการด้านสวัสดิภาพทางสังคม ทั้งนี้ความผิดปกติทางด้านจิตเวชที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการกินยาที่เหมาะสม ร่วมกับการให้การปรึกษาทางด้านจิตวิทยา  และถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา  อย่างน้อยอาการที่เป็นก็สามารถควบคุมได้

หมายเลขบันทึก: 345689เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท