BWN Newsletter #11-20


BWN Newsletter #11-20

28/3/50 Newsletters#20  (Guidelines for Golden Gulf-Coast #9,10)
  ข้อแนะนำ 2 โหลในการเรียนรู้ชายฝั่งทองของอ่าวไทย ข้อ 9 และ 10
      (Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast)
                 โดย Prof. Sikke Hempenius

9. เขื่อนกันคลื่นและเขื่อนกันทรายที่ถูกสร้างบนชายหาดของทุก
ปากแม่น้ำ เพื่อให้เรือประมงขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าออกได้
สะดวกตลอดเวลาของน้ำขึ้นน้ำลง กำลังเจอกับปัญหาที่น่าปวดหัว
อย่างยิ่ง อันเกิดจากสภาพน้ำนิ่งปากคลอง ที่ทำให้เกิดการตกสะสม
ของตะกอนจนกลายเป็นสันดอนทรายปากคลอง คงมีเพียงท่าเรือ
น้ำลึกสงขลาเท่านั้นที่ไม่เจอปัญหานี้ นั่นเป็นเพราะขนาดใหญ่โต
ของทะเลสาบสงขลา ที่ทำให้กระแสน้ำไหลเข้าและออกได้สะดวกที่
บริเวณปากทะเลสาบ 

10.  เขื่อนปากคลองหลายแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ แม้ว่าเพิ่ง
จะถูกสร้างขึ้นก็ตาม และต้องมีการขุดลอกตะกอนปากคลองทุกปี
ปัญหานี้เกิดจากรูปแบบเขื่อนหินที่มักถูกสร้างให้ทำมุมตั้งฉากกับ
แนวชายฝั่ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ทำให้กระแสน้ำที่ปากคลอง
ต้องเปลี่ยนทิศทางการไหลอย่างฉับพลันเพื่อออกสู่อ่าวไทย ไปตาม
การบังคับของเขื่อนกันทราย (ตามปกติแล้วปากคลองจะวางตัว
ขนานไปตามแนวชายฝั่ง) การเปลี่ยนทิศทางของน้ำนี้ทำให้เกิดจุดอับ
กระแสน้ำและตะกอนตกสะสม ที่บางครั้งถึงกับปิดกั้นจนเต็ม
ปากคลอง

      อ่านบทความนี้ย้อนหลังได้ที่ Website BWN
 
ข้อ 11.  และ 12. ----- อ่านต่อในฉบับหน้า
=====================
27/3/50 Newsletters#19  (Guidelines for Golden Gulf-Coast #7,8)
  ข้อแนะนำ 2 โหลในการเรียนรู้ชายฝั่งทองของอ่าวไทย ข้อ 7 และ 8
      (Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast)
                 โดย Prof. Sikke Hempenius

7. เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างชายฝั่งมีข้อด้อย : ความเค็มไม่เพียงทำให้
เกิดสนิมเท่านั้น แต่มันจะดันให้คอนกรีตแตกร้าวในเวลาเพียง 5-10 ปี
น้ำทะเลจะทำลายเหล็กให้หมดกำลังลงและแผ่นคอนกรีตแตกออกเป็น
ชิ้นๆ แม้ว่าจะก่อสร้างอย่างดีก็เป็นเพียงการยืดเวลาความเสียหายใน
ลักษณะมะเร็งของวัสดุเหล่านี้ออกไปเท่านั้น 

8. สิ่งก่อสร้างที่กันคลื่นจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองน้ำทะเล
ที่เต็มไปด้วยเกลือ ปลิวไปในอากาศตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งทำให้อาจเป็น
ไปไม่ได้ที่จะอยู่อาศัยในบริเวณนี้ วัสดุต่างๆที่อยู่ทั้งด้านนอกและด้าน
ในบ้านจะเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่เป็น
ชายหาด ซึ่งคลื่นจะไถลขึ้นและลงตามธรรมชาติ ปัญหาในลักษณะนี้
เกิดขึ้นแล้วต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เช่น ที่อำเภอหัวไทรซึ่งกำลัง
เจอกับการฟุ้งกระจายของละอองน้ำทะเล
      อ่านบทความนี้ย้อนหลังได้ที่ Website BWN
 
ข้อ 9.  และ 10. ----- โปรดอ่านได้ใน email ฉบับหน้า
=====================

24/3/50 Newsletters#18  (Guidelines for Golden Gulf-Coast #5,6)
  ข้อแนะนำ 2 โหลในการเรียนรู้ชายฝั่งทองของอ่าวไทย ข้อ 5 และ 6
      (Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast)
                 โดย Prof. Sikke Hempenius

5. ชายฝั่งที่เกิดจากตะกอนและโคลนสามารถทำให้มีเสถียรภาพได้โดย
การทำคันดินและหินที่นำมาเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งสามารถสอน
ให้ชาวบ้านทำการซ่อมแทรมได้เมื่อเกิดการชำรุด มันไม่เหมือนกับการ
แตกหักของโครงสร้างคอนกรีต ที่ต้องลงทุนสร้างใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ก้อน
หินเหล่านั้นจะต้องวางให้ต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำที่สุด เพื่อให้คันดินมีความมั่นคง
 
6. คอนกรีตเสริมเหล็กไม่สมควรใช้ นอกเสียจากว่าจะใช้เหล็กที่ไม่เป็น
สนิมและต้องใช้คอนกรีตชนิดพิเศษ  เนื่องจากความเค็มและอุณหภูมิที่สูง
ในประเทศไทย จะทำให้เกิดการแตกร้าวในระยะเวลาอันสั้น และต้องไม่
เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักมาก สำหรับที่ที่เคยเป็นร่องน้ำมาก่อนจะต้อง
ใช้ฐานรากแบบเสาเข็ม  ที่กล่าวมาในที่นี้เกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์
จากธรรมชาติ และศึกษาความผิดพลาดที่ผ่านมา


ข้อ 7.  และ 8. ----- จะแปลต่อไป โปรดอ่านได้ใน email ฉบับหน้า
===============================
23/3/50 Newsletters#17  (Guidelines for Golden Gulf-Coast #3,4)
  ข้อแนะนำ 2 โหลในการเรียนรู้ชายฝั่งทองของอ่าวไทย ข้อ 3 และ 4
      (Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast)
                 โดย Prof. Sikke Hempenius

3. สิ่งก่อสร้างตามแนวชายฝั่งและบนชายหาดต้องทำหน้าที่ดูดซับพลังงาน
ออกจากคลื่น เงื่อนไขนี้จึงเป็นคำอธิบายว่าทำไมวิศวกรรมชายฝั่งจึงแตกต่าง
จากงานของวิศวกรรมโยธาโดยทั่วไป โครงสร้างแข็งใดๆไม่ว่าจะทำด้วย
คอนกรีต หิน หรือตะแกรงหิน ที่สร้างขึ้นป้องกันชายฝั่งจะต้องทำหน้าที่ดัง
ที่กล่าวไว้ข้างต้น 

4. หาดทรายเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่ดูดซับพลังงานคลื่นได้มีประสิทธิภาพ
ที่สุด : ชายหาดที่ลาดลงอย่างช้าๆจากฝั่งสู่พื้นทะเล ทำให้คลื่นที่ไถลขึ้นจะ
สูญเสียพลังงาน และเมื่อมันไหลกลับลงมามันก็จะปะทะกับคลื่นที่เคลื่อนที่
เข้าหาฝั่งลูกถัดมา ทำให้มันหมดพลังงานไปในที่สุด สิ่งก่อสร้างที่ทำขึ้นจึง
ต้องมีความลาดเอียงเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งราคาจะสูงกว่าแต่เมื่อพิจารณา
ถึงประสิทธิภาพแล้ว คุ้มค่าอย่างแน่นอน

ข้อ 5.  และ 6. ----- จะแปลต่อไป โปรดอ่านได้ใน email ฉบับหน้า
===============================
22/3/50 Newsletters#16  (Website BWN)
สวัสดี มิตรสหาย BWN
    ผมทำ website Beach Watch Network (BWN)
ฉบับปฐมภูมิเสร็จแล้ว มีสาระที่เกี่ยวข้องกับหาดทราย
และชายฝั่งเท่านั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมหาความรู้ได้ที่
http://www.geocities.com/psboon02/bwnweb2.ppt
หรือที่
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html
    เนื่องจากผมเป็นมือสมัครเล่นในการทำ website ถ้า
เพื่อน BWN จะช่วยกันทำให้ดีขึ้น โปรดทำเลยอย่าได้รีรอ
ผมหวังว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาองค์ความรู้เรื่อง
ชายหาดที่เป็นระบบ และจะได้มีคนสนใจพัฒนาความรู้นี้
ให้กว้างไกลออกไปไม่สิ้นสุด
     เขียนมาติดชมด้วยนะครับ

Make Our Beach Alive
====================
21/3/50 Newsletters#15  (Guidelines for Golden Gulf-Coast #1 & 2)
สวัสดีครับ BWN
    ผมแปลบทความชายหาดที่เขียนโดย Porf. Sikke เรื่อง
Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast มาให้เพื่อนๆ
อ่านกันหัวข้อที่ 1 และ 2 จาก 24 หัวข้อ ซึ่งเป็นการสรุปประสบการณ์
อันยาวนานจาการที่อาจารย์ได้สัมผัสมาโดยตรง และผมจะทยอย
แปลให้อ่านครับ ใครต้องการฉบับภาษาอังกฤษให้แจ้งมานะครับ
-----------
      ข้อแนะนำ 2 โหลในการเรียนรู้ชายฝั่งทองของอ่าวไทย
      (Two dozen Guidelines for the Golden Gulf-Coast)

1. หาดทรายและชายเลนตลอดแนวชายฝั่งนั้นไม่ใช่วัตถุที่ตายแล้ว
แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิติตั้งอยู่ระหว่างทะเล
กับแผ่นดิน ซึ่งถูกกำเนิดโดยกระบวนการทางธรณีวิทยา ทะเลไม่เคย
อยู่นิ่ง และน้ำยังคงเคลื่อนไหวไปพร้อมๆกับตะกอน ทราย และโคลน

2. ทำไมและเหตุใดน้ำทะเลจึงเคลื่อนที่ไปตามแนวชายฝั่งภายใต้อิทธิพล
ของน้ำขึ้นน้ำลงและรูปแบบของกระแสน้ำตามฤดูกาล คลื่นรับพลังงาน
จากลมได้อย่างไร และทำไมพลังงานนั้นจึงสูญสลายไป ซึ่งบางครั้ง
เป็นการสลายพลังงานจำนวนมาก ความเข้าใจกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่ง
สำคัญต่อกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งและบนแผ่นดิน

ข้อ 3.  และ 4. ----- โปรดอ่านต่อ next email

สวัสดี
===============================
20/3/50 Newsletters#14  (Environmental court seminar)
ถึงเพื่อนๆ BWN
    เมื่อวาน 19/3/50 คุณหญิงจารุวรรณ ประธาน สตง. ได้มาออก
รายการของ TV ข่อง 11 เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ตอนจบท่านได้กล่าวว่า
"ดินและหินทุกก้อนในผืนแผ่นดินนี้ คนรุ่นใหม่ต้องช่วยกันรักษาต่อไป
โดยเฉพาะชายหาดและท่าเรือจะต้องรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป"
    คำกล่าวของท่านข้างต้นอาจชี้ว่า ท่านพอจะทราบเรื่องการพังทลาย
ของชายฝั่งมาบ้าง เพราะปัญหาคอรัปชันมีมากมายในประเทศไทยฃแต่
ท่านเลือกระบุเฉพาะเรื่องชายฝั่ง ก็แสดงว่าเรื่องนี้ถูกยกระดับขึ้น
สุ่ข้างบนที่เป็นคนดีแล้ว ซึ่งนับเป็นข่าวดึยิ่ง 
    ผมได้รับติดต่อจากสถาบันวิจัยพีรพัฒนศักดิ์ สังกัดสำนักงาน
ศาลยุติธรรม เพื่อร่วมสัมมนาปัญหาพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม และ
แนวทางการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม โดยการประชุมจะมีขึ้นที่ กทม
วันที่ 29 มีนาคม 2550 ถ้าใครมีข้อเสนอแนะ หรือจะให้ผมไปแจ้งใน
ที่ประชุมเรื่องอะไรก็ตาม ให้บอกผมด่วนด้วยครับ
     ผมเห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องใช้มาตรการป้องกันอย่าให้เกิด
ขึ้น ไม่ใช่ว่าปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วค่อยมาฟ้องร้องกัน เพราะถ้าเกิดขึ้น
แล้วจะไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนแก้ไข นอกจากนี้ยังเห็นว่า ปัญหา
สิ่งแวดล้อมท้องถิ่นควรแก้ให้ตกไปทันทีที่ท้องถิ่น ไม่ใช่รอให้ส่วนกลาง
มาแก้ไข ซึ่งกว่าจะทำอะไรก็สายไปเสียแล้ว
     ใครเห็นอย่างไรบอกเล่ามาด้วย ผมกำลังทำ website BWN
โดยฝากไว้กับ geocities.com แล้วจะแจ้งให้เพื่อน BWN เข้าไป
เยี่ยมชมได้ในเร็วๆนี้

สวัสดี
===================
19/3/50 Newsletters#13  (Guidelines for Golden Gulf-Coast)
สวัสดีครับ BWN
    ต้องขอขอบคุณประสิทธิ์ ที่เขียนแสดงความเห็น Newsletter#11
เรื่องปะการังเทียม ถ้าใครมีความรู้เรื่องนี้กรุณาเขียนเล่าให้ฟังบ้าง
เมื่อนำมาผูกกันแล้ว เชื่อว่าจะเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่
    ขณะนี้ผมมี file เกี่ยวกับชายหาดที่เขียนโดย Porf. Sikke A.
Hempenius เมื่อ 28/2/07 เรื่อง "Two dozen Guidelines for
 the Golden Gulf-Coast" ที่เขียนให้รองปลัดสำนักนายกฯ และ
ท่านได้กล่าวไว้ในวันเสวนาเรื่อง วิฤตการณ์พังทลายชายฝั่งสงขลา:
คนสงขลาต้องตัดสินใจ เมื่อ 2 มี.ค. 50
   เป็นข้อเขียนที่สรุปประสบการณ์ของท่านจากเนเทอร์แลนด์
ถึงประเทศไทย ด้วยความห่วงใยในธรรมชาติชายหาดที่งดงาม
ของโลก เพื่อ BWN ยังได้เรียนการเขียนภาษาอังกฤษที่สละสลวย
จาก Prof. Sikke ด้วย เช่น
    The beach is alive and thus has to be fed with new
sediments. It all has to come from the mountains, where
weathering of sandstone, granite, etc produces sand - silt -
 clay. Large and small rivers, creeks, and floodgates used
 to feed the beach with the material.
    เนื้อหามี 23 ข้อ ผมจะแปลเป็นข้อๆให้ BWN ได้อ่าน และถ้า
ใครต้องการฉบับเต็มภาษาอังกฤษ ก็บอกมานะครับ นี่คือองค์ความ
รู้ที่ไม่สามารถหาที่ไหนได้อีกแล้ว ขอให้ทุกท่านช่วยส่ง comment
มานะครับ
===============================
16/3/50 Newsletters#12  (Songkhla Coastal Sand Dune Forest)
สวัสดีครับ BWN
      มีใครได้อ่านบทความ ป่าสันทรายชายหาดแห่งสงขลา
(Songkhla Coastal Sand Dune Forest) ซึ่งเขียนโดย
คุณหมอรัชนี บุญโสภณ จากกลุ่มศึกษาการใช้ทรัพยากร-
ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สงขลา เมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๘
บ้างใหมครับ ถ้ายังผมขอแนะนำให้เข้าไปอ่านได้ที่ website
ของ วิทยาลัยวันศุกร์
      คุณหมอได้เล่าตั้งแต่ กำเนิดสันทราย สันทรายเคลื่อนตัว
กายภาพของสันทรายชายหาด กำเนิดป่าสันทรายชายหาด
และจบลงด้วย ป่าสันทรายชายหาดที่จะนะ พรรณไม้และสัตว์ป่า
     ความไพเราะของบทความ เช่น "...ลมพัดทรายให้กระโดด
ไปในทิศทางแนวเดียวกัน และเมื่อกระโดดขึ้นไปแล้วก็ไป
กระแทกกัน กระโดดปลิวไปกระแทกกันไป เหมือนเต้นระบำ"
    และ "...การทำลายสันทรายใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง จาก
การตัดสินใจของคนที่มีช่วงอายุไม่เกิน ๑๐๐ ปี ซ้ำยังไม่ได้
ศึกษาให้รู้อะไรอย่างลึกซี้ง"
    และอีกมากมาย ถ้าใครสนใจและหาอ่านไม่ได้ ให้แจ้งมาที่ผม
นะครับ จะส่งบทความไปให้ทาง email ก็ต้องขอให้เพื่อนๆ BWN
เขียนประสบการณ์ของตนเองเรื่อง ชายหาด+ชายฝั่ง มาแลก
เปลี่ยนกันนะครับ ผมจะทำ website BWN ขึ้น เพื่อเป็นแหล่ง
ให้ความรู้แก่สังคม+สรรพสัตว์ทั้งหลาย
=======================
15/3/50 Newsletters#11  (Artificial Coral Reef)
สวัสดีครับ
     การสร้างปะการังเทียมนั้น จุดประสงค์หลัก คือ
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ตัวอ่อนและเพื่อหลบภัย นอกจากนี้
ยังเป็นการป้องกันเรืออวนลากเข้ามาจับปลาในบริเวณเขตน้ำตื้น
ด้วยจุดประสงค์ข้างต้นปะการังเทียมจึงถุกสร้างขึ้นในบริเวณ
ที่ห่างชายฝั่งค่อนข้างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการทับถมของทราย
และจะต้องมีความโปร่งเพื่อให้สัตว์น้ำได้เข้าไปอาศัยได้
      ดังนั้นคุณสมบัติของปะการังเทียมจึงไม่ช่วยในการลด
ทอนพลังงานคลื่นมากนัก เพราะถ้าป้องกันคลื่นจะต้องเป็น
โครงสร้างทึบ นอกจากนี้พลังงานคลื่น 80% จะอยู่ที่ผิวน้ำ
เราจึงเห็นเขื่อนกันคลื่นจะสูงพ้นน้ำทะเลเสมอ ขณะที่
ปะการังเทียมจะจมอยู่ใกล้พื้นทะเลเพื่อหลีกเลี่ยงความปั่นป่วน
ของกระแสน้ำ
     เปรียบเทียบกับปะการังธรรมชาติ เขาจะขึ้นหนาแน่น
ก่อตัวสูงขึ้นหลายร้อยปี กลายเป็นเสมือนกำแพงกันคลื่นธรรมชาติ
ที่สรรพสัตว์ก็อยู่อาศัยได้ พอปะการังตายลงซากต่างๆก็
ถูกคลื่นซัดไปกองเป็นชายหาดที่ขาวนวล นุ่มเท้า เช่น
ชายหาดมาหยา ของเกาะพีพี กระบี่ ผมมีตัวอย่างให้ดู
แล้วท่านจะเห็นว่าทำไมจึงงดงามนัก แต่ก็ถูกทำลายโดย
อธิบดีคนดัง ซึ่งขณะนี้เงินที่ได้มาก็เปลี่ยนไปเป็นมูล
หมดแล้ว
    มีคำถามอย่าเก็บไว้ "จากเม็ดทรายสู่จักรวาล"
แล้วท่านจะค้นพบความมหัศจรรย์อีกมากมายจากหาดทราย

Make Our Beach Alive
==========================

คำสำคัญ (Tags): #bwn newsletter 11-20
หมายเลขบันทึก: 345602เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท