การเรียนรู้ของชุมชนต.วังยาง อ.วังยาง จ.นครพนม(2).....กระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น


ผมมาศึกษากระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาและการดำเนินงานพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น เป็นการศึกษาท่ามกลางการปฏิบัติการจริงหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการนั่นเอง

ผมยังอยู่ที่วังยาง นครพนม  กลับเย็นนี้(19 มี.ค.53)

ผมเดินทางมาตั้งแต่วันที่16 มี.ค. 53 ครับ

วันที่ 25 -26 มี.ค. จะเดินทางมาอีกทีพร้อมท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

คงจะได้เดินทางมาวังยางที่นี่ต่อเนื่องหลายเที่ยว

ผมมาศึกษากระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาและการดำเนินงานพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น  เป็นการศึกษาท่ามกลางการปฏิบัติการจริงหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการนั่นเอง

เป้าหมายของโครงการคือการค้นหารูปแบบกระบวนการพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชน โดยมุ่งศึกษาท่ามกลางการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ทั้งในเรื่องการวางกระบวนการพัฒนาคนของขบวนองค์กรชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมที่คนในชุมชนเป็นคนกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเอง กำหนดวิธีการเรียนรู้กันเอง และกำหนดระบบติดตาม ประเมินผลการเรียนรู้กันเอง และเป็นการศึกษาบทบาทของคนในขบวนองค์กรชุมชนที่เติบโตไปพร้อมๆกับการแก้ไขปัญหาและการดำเนินงานพัฒนาที่มีการปฏิบัติการจริงในพื้นที่  โครงการนี้ดำเนินงานทั้งหมด 3 ตำบลโดย ต.วังยาง อ.วังยาง จ.นครพนมเป็น1ใน 3พื้นที่การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติการเชิงลึกนั้น 

ประเด็นในการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่นี่คือ

  1. ประวัติศาสตร์และข้อมูลบริบทพื้นที่ของตำบลวังยาง
  2. พัฒนาการและความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
  3. แผนงานและแนวทางในการดำเนินงาน
  4. การสร้างการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคนในขบวนการชุมชนท้องถิ่นของตำบลวังยางและการสื่อสารเคลื่อนไหวทางความรู้ให้คนทั้งมวลในตำบลมีส่วนร่วมในงานพัฒนา
  5. ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันระหว่างขบวนองค์กรชุมชน(สภาองค์กรชุมชนตำบล)ท้องถิ่น(อบต.)ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)และความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา

สำหรับแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลวังยางเท่าที่มีการปรึกษาหารือกันในเบื้องต้นพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. การแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน
  2. การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นให้มีบทบาทช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกันในชุมชน
  3. การฟื้นความเป็นตัวตนทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น โดยการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับอำเภอเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้ระดับหมู่บ้านหลากหลายกิจกรรม
  4. การฟื้นฟูอาชีพ วิถีการผลิตบนฐานการพึ่งพาตนเองให้ได้ ซึ่งรวมทั้งการจัดการแหล่งน้ำ  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  5. สนับสนุนการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองให้มีความเข็มแข็ง
  6. การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน การสร้างความสุขร่วมกันของคนในชุมชน
  7. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน
  8. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อสืบสานงานพัฒนาของเยาวชน
  9. การเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มสตรีแต่ละหมู่บ้าน

 วิธีการดำเนินงานที่สำคัญคือ การประยุกต์ใช้AI(สุนทรียปรัศนาสาธก)ค้นหาประสบการณ์ที่ดีๆแล้วนำมา ลปรร.  ทดลองปฏิบัติการขยายผล  สรุปการเรียนรู้เป็นองค์ความรู้ สื่อสารสาธารณะต่อไปครับ

ประทับใจกับการได้ ลปรร. ประทับใจในมิตรไมตรีของผู้คนที่นี่ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 345525เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ถ้าหากชุมชนสามรถแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเอง

ทุกคนมีส่วนร่วม เกิดชุมชนเข้มแข็ง

นั่นคือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นะคะ

  • ขอบคุณครับคุณมณีวรรณ
  • ผมมานครพนมริมฝั่งโขงอากาศดีมากครับ
  • อากาศคงจะดีคล้ายกับหนองคายนะครับ
  • การแก้ไขปัญหาและการดำเนินงานพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น ลำพังชุมชนฝ่ายเดียวก็คงจะทำอะไรได้ไม่มากนัก คงจะต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่ายเป็น ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันทั้งขบวนองค์กรชุมชน(สภาองค์กรชุมชนตำบล)ท้องถิ่น(อบต.)ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)และความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาภาครัฐ ภาคีวิชาการ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ เพียงแต่ชุมชนเป็นตัวตั้ง  เป็นเจ้าของเรื่อง เป็นแกนกลางในการพัฒนาครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ สุเทพ

เมื่อคืน นายกเทศมนตรี โทรมาตามให้ไปคุยเรื่องสวัสดิการ

โดยท่าน บอกว่าจะหาเงินมาสมัครสมาชิกให้คนในชุมชนได้เป็นสมาชิกสวัสดิการชุมชน

ผมจึงชี้แจงให้ฟังว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว

เพราะถ้าไม่สร้างความเข้าใจ ในการเป็นเจ้าของสวัสดิการร่วมกัน โดยการเป็นหุ้นส่วนกัน

การให้อย่างมีคุณค่าและการรับอย่ามีศักดิ์ศรี ก็หมดความหมายไม่ต่างอะไรกับสงเคราะห์ในอดีต

สวัสดิการชุมชนคือความเท่าเทียมในการรับสวัสดิการ ไม่ใช่ออมทรัพย์ ที่คนมีเงินมาก ออมมาก ได้ปันผลมาก

แต่สวัสดิการคน ยากดีมีจนค่นแค้นอย่างไร รับสวัสดิการเหมือนกัน

ดังนั้นต้องทำคนให้คนในชุมชน ดูแลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โยการมาออมเงินกัน เพื่อเอื้อให้กับคนเขาด้อยโอกาส

ถ้าจัดสวัสดิการเพียงเพื่อรอรับงบประมาณ จะผิดวัตถุประสงค์และไม่ยั่งยืน

ดังนั้นสมาชิกสวัสดิการมากหรือน้อยไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นอยู่ที่คนเข้าออมสวัสดิการต้องคิดว่าเป็นการออมเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

เที่ยงคืนจึงได้เข้าใจประเด็นตรงกัน วาดหวังว่าสวัสดิการของเทศบาลปากพะยูน ต้องเป็นการออมบุญเพื่อเอื้อแก่ผู้ด้อยโอกาสทุกคนในอนาคต

  • สวัสดีครับอาจารย์สุเทพ
  • ขอบคุณ ที่นำสาระสำคัญและประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน
  • ขอเรียนรู้ด้วยคน
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

หนานครับP

  • กลับไม่ได้  ไปไม่ถึง เหมือนดาวมหาลัย
  • เป็นกันมากขึ้นจนน่าเป็นห่วงการศึกษาบ้านเรา
  • ไปแวะเยี่มมาแล้วครับที่ http://gotoknow.org/blog/kgeneral/317303
  • ขอบคุณครับ

ท่านผู้เฒ่าสุขภาพดีขึ้นแล้วนะครับP

  • สวัสดิการชุมชน สวัสดิการท้องถิ่นยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ครับ
  • ให้อย่างมีคุณค่า  รับอย่างมีศักดิ์ศรี
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับคุณเขียวมรกตP

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ได้เห็นความคืบหน้างานของพี่แล้วยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ คาดว่าหากไม่ผิดพลาดประการใดจะไปพลุพลี กับพี่ในพื้นที่ภาคใต้ เพราะตอนนี้งานประเมินผลงวดเข้ามาเต็มทีครับ

สวัสดีค่ะ

        ตามมาให้กำลังใจคนทำงานแลแอบมาเรียนรู้

       " การประยุกต์ใช้AI(สุนทรียปรัศนาสาธก)

         ค้นหาประสบการณ์ที่ดีๆแล้วนำมา ลปรร. " 

        หวังว่าท่านคงสบายดีนะคะ

                                       ครูกระเเต

Pนายหมูแดงอวกาศครับ

  • ที่วังยางขบวนชุมชนเริ่มตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้
  • เริ่มจัดทีมการเรียนรู้
  • มีการตั้งเป้าหมายร่วม"ท้องถิ่น ท้องที่และขบวนชุมชน"
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับครูกระแตP

ค้นหาประสบการณ์ที่ดีๆแล้วนำมา ลปรร.

เรียนรู้  คิดค้นการสร้างสรรค์อนาคต

สร้างการงานชุมชนท้องถิ่น ด้วยวิธีคิด วิธีปฏิบัติ

ที่เน้นคุณค่าและความสามารถของตัวเรา แล้วนำมาพัฒนาอย่างถูกวิธี

โดยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ที่จัดทำมาด้วยกัน

เพื่อคุณค่าใหม่  ความสามารถใหม่  ทั้งวิธีคิด วิธีปฏิบัติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท