การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติในชุมชน(10)การเรียนรู้หลังการดำเนินการจัดการความรู้โดยการทบทวนหลังการปฏิบัติในภาพรวมของโครงการ(AAR)


หลักการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้ ให้เป็นข้อเสนอคือ ในการออกแบบการเรียนรู้นั้นควรที่จะให้มีครบทั้ง 4 ลักษณะ

การทบทวนหลังการปฏิบัติในภาพรวมของโครงการ(AAR)นี้อาจจะเรียกอีกอย่างว่า "การประชุมทบทวนงาน"(Retrospact) การจัดเวทีการเรียนรู้ นี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ วัดโบสถ์   ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

จากการทบทวนหลังการปฏิบัติในภาพรวมของโครงการ(AAR)ในครั้งนั้น  สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก ได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้หลังการดำเนินการจัดการความรู้ดังนี้

  1. มีอะไรบ้างที่คณะทำงานจัดการความรู้ สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้มีดำเนินงานตามแผนงาน

คณะทำงานจัดการความรู้ สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกทำได้การกระบวนการจัดการความรู้และการเรียนรู้ระหว่างดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ ตามแผนงานดังนี้(แต่เวลาปฏิบัติการจริงมีการเลื่อนการดำเนินงานตามแผนหลายครั้ง)

  •  ครั้งที่ 1 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือกระบวนการสุนทรียสนทนา(Dialouge) วันที่12 ธ.ค. 2552  เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ณ วัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 2 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการถอดองค์ความรู้วันที่ 13 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 16.00 น.  ณ วัดโบสถ์  ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 3 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา(Mentoring System)และเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist) วันที่24 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ วัดโบสถ์   ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 4 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการนำเสนอความรู้เพื่อการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม วันที่29 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน บ้านขนุน หมู่ที่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 5 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการทบทวนหลังการปฏิบัติ(AAR) วันที่29 ม.ค. 2553  เวลา 14.00 น. – 16.30 น. ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน บ้านขนุน หมู่ที่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 6 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือสุนทรียปรัศนาสาธก วันที่21 ก.พ. 2553  เวลา 09.00 น. – 16.30 น. ณ ศาลาการเปรียญวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

2.  สิ่งที่สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้มีดำเนินงานดีแล้วมีอะไรบ้าง

      1.การได้ดำเนินงานตามกระบวนการ ขั้นตอนการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น  ทำให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น กับชุมชนอื่นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

      2. การได้ดำเนินงานตามกระบวนการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นกระบวนการ  ทำให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์การจัดการความรู้ กับชุมชนอื่นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นและสามารถขยายผลไปสู่การจัดการความรู้ในเรื่องอื่นๆของสภาองค์กรชุมชนตำบลต่อไป

      3. มีการพัฒนาภาวะผู้นำการเสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นกระบวนการท่ามกลางการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่

3.  มีสิ่งใดที่คิดว่าสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกน่าจะทำได้ดีกว่านี้อีก

        1. สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกน่าจะได้เขาร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรม เนื่องมีหลายคนที่ติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม

        2. สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกน่าจะได้จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้กับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกและแกนนำองค์กรชุมชนอย่างทั่วถึง

        3. ควรมีการออกแบบการเรียนรู้ที่ทำให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลได้มีประสบการณ์ตรงในการแสดงบทบาทภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมต่อสาธารณะ และภาวะผูนำเชิงสุขภาวะ(ความพึงพอใจในชีวิต)ได้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ให้มากขึ้น

4. สิ่งที่สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกวางแผนว่าจะดำเนินการพัฒนาในระยะต่อไป

       1.  การจัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้กับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน

       2.  การจัดกิจกรรมเวทีการจัดการความรู้ในเรื่องอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

        3.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทบทวนการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง

       4.  การถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนและประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นกับสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง

 5. สรุปประสบการณ์เป็นองค์ความรู้เป็นหรือหลักการของการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้

          ในกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านเลือก สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นหลักการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้ ให้เป็นข้อเสนอคือ ในการออกแบบการเรียนรู้นั้นควรที่จะให้มีครบทั้ง  4 ลักษณะ คือ

  1. กระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง(Experiential Knowing)จากการเข้าร่วมกิจกรรมคือการเรียนรู้จากการสัมผัสกับสิ่งต่างๆโดยตรงรับรู้ถึงพลังและสภาวะที่เป็นองค์รวมของการเสริมสร้างความสุขมวลรวมโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สถานที่ สถานการณ์ กระบวนการต่างๆ การรู้ผ่านประสบการณ์ตรงนี้จะส่งผลถึงความรู้สึกและกระตุ้นให้เกิดจินตนาการ
  2. กระบวนการทางความรู้และการรู้เรียนรู้ผ่านสื่อสัญลักษณ์ในลักษณะของการแสดงออกถึงการสะท้อนความเป็นจริง(Presentation Knowing)ที่เป็นการถ่ายทอดความรู้ออกมาเป็นสื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆเช่น คำอุปมาอุปมัย ภาพการเคลื่อนไหว พิธีกรรม ดนตรี บทกวี และสื่อศิลปะต่างๆเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ความสามารถของจิตในด้านจินตนาการควบคู่กับมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด
  3. กระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้ผ่านมโนทัศน์(Proposition Knowing)ให้เป็นกรอบความคิดที่ผ่านการสังเคราะห์หรือการถอดองค์ความรู้จากการปฏิบัติ คือการเรียนรู้ผ่านแนวคิดทฤษฎี ตรรกะต่างๆเช่นคำบรรยาย  แผนภูมิ โมเดล การเรียนรู้ผ่านมโนทัศน์นี้เป็นส่วนที่เริ่มมีการตกผลึกทางความคิด เกิดการคิดรวบยอดที่ชัดเจน สามารถนำไปถ่ายทอดและชี้นำการปฏิบัติต่อไปได้ แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากขาดมิติบางประการของการรับรู้เชิงประสบการณ์และเชิงจินตนาการซึ่งมีองค์ประกอบของการรับรู้อย่างเป็นองค์รวม  มีชีวิตชีวา มีอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
  4. กระบวนการทางความรู้และการรับรู้ผ่านการปฏิบัติการจริง(Practical Knowing)ในการขยายผลคือการเรียนรู้ผ่านการนำความรู้ ความเข้าใจในตนไปลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะเกิดการเรียนรู้ทั้งในมิติของการปฏิบัติ และความรู้สึกสึกที่เกิดจากการมีประสบการณ์ไปสู่การปฏิบัติครั้งใหม่โดยตรงของผู้นำในลักษณะของการปฏิบัติการเพื่อการขยายผล

จบกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นแล้วครับ งานนี้เป็นการสร้างการเรียนรู้หรือการทดลองฝึกให้ผู้นำขบวนชุมชนในสภาองค์กรชุมชนตำบลให้มีเครื่องมือในการจัดการความรู้แล้วใช้เพื่อการพัฒนางานต่างๆ  ข้อดีของโครงการนี้ก็คือ การทำให้ผู้นำขบวนชุมชนได้เรียนรู้เครื่องมือจัดการความรู้ที่หลากหลาย  แต่มีข้อเสียคือทำให้ผู้นำเราเป็นเป็ดครับ..รู้หลายอย่างแต่ไม่เก่งไม่แม่น อะไรสักกะอย่าง  ต่อไปขบวนชุมชนตำบลบ้านเลือกคงต้องเลือกใช้เครื่องมือบางอย่างที่เห็นว่าเหมาะสมแล้วฝึกฝนหลายๆรอบจนเป็นวิถีของตัวเองต่อไป

วันที่ 22-23 มี.ค.53 จะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการขยายผลกับพื้นที่14 ตำบลที่สมัครใจเรียนรู้กระบวนการเสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น จากกระบวนการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัด  โดยใช้พื้นที่ตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 344787เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นเรื่องที่สนใจกำลังหาข้อมูลอยู่พอดี 

 

ยินดีรู้จักครับคุณtutchanaP

  • ผมกำลังฝึกฝนครับ
  • เรียนรู้จากท่านอ.อุทัยวรรณด้วย
  • ผมสนใจAI&KMครับ
  • ขอบคุณครับ

* ทักทายจาก เมือง Alexzandria มลรัฐ Verginia ซึ่งอยู่ใกล้กับ Washington DC. เมืองหลวงของอเมริกาค่ะ  
* สบายดีนะคะ


                    

แวะมาเรียนรู้ด้วยคนขอรับ

สวัสดีครับอ.PuallyP

  • อยู่ไกลนะครับ
  • ด้วยเทคโนโลยี่ทำให้รู้สึกใกล้กันครับ
  • ผมอยู่วังยาง นครพนม(17 มี.ค)ครับ
  • อากาศบ้านเราช่วงนี้ร้อ(เลยพลอยร้อนใจด้วย)

ขอบคุณครับอ.กู้เกียรติP

ยินดีแลกเปลี่ยนรู้ครับ

ขอบคุณครับคุณNong_puridaP

ยินดีครับ...ที่จะได้แลกเปลียนเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้

ผมได้ไปแวะเยี่ยมBlogคุณNongแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท