นวัตกรรม LO : ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย


LO : สื่อดิจิทัลช่วยให้การเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สนุกสนานและเข้าใจง่าย

ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นสมาชิกชาวบล๊อก (อย่างแท้จริง) หลังจากที่ได้สมัครสมาชิกไว้หลายเดือน แต่ไม่ได้มีโอกาสมาแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ต่อไปคงได้มีโอกาสมาเที่ยวเยี่ยมชมชาวบล๊อกได้มากขึ้น วันนี้ได้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสสวท. แล้วพบกับข่าวการเปิดตัวนวัตกรรมทางด้านสื่อการศึกษา Learning Object (LO) ซึ่งเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกรอบมาตรฐานของหลักสูตร เนื้อหา และการนำเสนอเหมาะสมกับอายุและความสนใจของผู้เรียนในแต่ละวัย และที่น่าสนใจมากขึ้น คือ การทำให้การเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ง่ายขึ้น ที่ต้องบอกว่าน่าสนใจ เพราะว่าโดยส่วนตัวเป็นคนที่ไม่มีความถนัดในด้านของวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เสียเลย แต่จำเป็นต้องศึกษาและสนใจ เพราะเด็กที่บ้านฉายแววให้เห็นว่าต้องเดินในเส้นทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ด้วยการเรียนโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่หนักไปกว่านั้นคือการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือที่เรียนกว่า e-program ดังนั้น เมื่อได้เห็นข่าวโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ออสเตรเลีย ในการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบหลักสูตรระดับโรงเรียน (Schools Digital Curriculum Resourses Initiative - Thailand : SDCRIT)  ในการนำสื่อดิจิทัลดังกล่าวมาช่วยให้การเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สนุกสนานและเข้าใจง่ายขึ้น จึงนับว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง แต่เนื่องด้วยข่าวความร่วมมือดังกล่าวเป็นสิ่งใหม่ สสวท.ได้เปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมาและมีโครงการที่จะพัฒนา LO วิชาคณิตศาสตร์ ในวันที่ 19-20 มิถุนายนนี้ ต่อไปคงได้มีโอกาสได้เข้าไปใช้สื่อดิจิทัลนี้ แล้วคงมีข้อมูลดี ๆ มานำเสนอในโอกาสต่อไป หรือถ้าสนใจดูรายละเอียดของโครงการความคืบหน้าของโครงการฯ ได้ที่ www.ipst.ac.th  

 

หมายเลขบันทึก: 34348เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยากให้สื่อที่ว่านี้ ได้ถูกนำมาใช้ใชพื้นที่ชนบทห่างไกลเหลือเกินครับ

ในโรงเรียนประถมศึกษา คงได้มีโอกาสใช้สื่อนี้ในโอกาสต่อไปค่ะ เพราะจากการที่ติดตามข่าวของ LO แล้ว มุ่งเน้นลงไปที่การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ซึ่ง สสวท. ได้เน้นการนำ LO จากความร่วมมือกับออสเตรเลียครั้งนี้ ไปใช้เพื่อให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เป็นรูปธรรมมากขึ้น ต่อไปนักเรียนประถมศึกษาที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งเรียนรู้ คงได้เห็นมิติของวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของความเป็นจริง หรือการจำลองเหตุการณ์จากสภาพความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งสื่อ LO ตอนนี้ในต่างประเทศ ใช้กันอย่างแพร่หลาย ถ้ามีโอกาสลองเข้าไปสมัครสมาชิก แล้ว download ตัวอย่างมาใช้บ้างก็ได้นะคะ มีหลายเว็บไซต์ของต่างประเทศที่สามารถเข้าไปดูตัวอย่างได้  หรือของ สสวท.ก็มีค่ะ http://lo.ipst.ac.th/index.html#  ลองเข้าไปเยี่ยมชมนะคะ บางทีอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นครูในโรงเรียนที่ค่อนข้างขาดแคลนสื่อหรืองบประมาณสนับสนุนในด้านนี้อยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท