วิกฤตอากาศและความแตกต่างของอุณหภูมิ


คิดอย่างไร ถ้าลูกหลานต้องกลายเป็นคนรู

วิกฤตอากาศ และความแตกต่างทางอุณหภูมิ 

            ผมเกิดในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้ชีวิตมาร่วม 50 กว่าปี มีความรู้สึกว่าอุณหภูมิของอากาศที่นี่ มีความแปรปรวน และเป็นวิกฤตในช่วงฤดูร้อน ถามว่าเป็นอย่างไร.............ความเป็นจริงที่พบ   พื้นที่ใกล้เคียงกัน แต่อากาศต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ผมเดินทางไปร่วมงานแต่งงานที่บ้านรักไทย ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวอำเภอเมืองที่ผมอาศัยอยู่ประมาณ 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการวิ่งรถยนต์ส่วนตัวประมาณ 45 นาที อยู่ด้านทิศเหนือของตัวเมือง พื้นที่เป็นเขาสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 800-900 เมตร ที่นั่นเวลากลางวันอากาศไม่ร้อนอบอ้าว ลมพัดโกรกเย็นสบาย พอตกกลางคืนหลัง 1 ทุ่ม อากาศหนาวเย็นจนต้องควานหาเสื้อกันหนาวกันจ้าละหวั่น หลังสามทุ่มผมเดินทางกลับลงมาบ้าน พอถึงในเมืองอากาศร้อนอบอ้าวปรับตัวแทบไม่ทัน ต้องนอนแช่น้ำเย็นในอ่างสักครู่ แล้วเปิดพัดลมไล่อากาศร้อนอยู่เป็นชั่วโมงถึงปรับตัวได้ ร่างกายและจิตใจจึงค่อยสงบจนนอนหลับได้

            สองพื้นที่นี้ ทำไมอากาศจึงแตกต่างกันมากถึงเพียงนี้ทั้งๆที่อยู่ในอำเภอเดียวกัน เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเหลือเกิน........ แล้วเมื่อก่อนล่ะอุณหภูมิของอากาศไม่เป็นเช่นนี้หรือ ผมพยายามนึกทบทวนความหลังเมื่อยังเป็นเด็กและเป็นหนุ่มแรกรุ่น ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี พวกเรามักจะเดินทางด้วยเท้าเพื่อไปเที่ยวงานปอยส่างลองที่จัดตามหมู่บ้านต่างๆใกล้ไกล เดินทางครึ่งวันบ้าง 1 วันบ้าง 2 วันบ้าง แล้วแต่พื้นที่ใกล้ไกล เป็นภูเขาหรือเป็นพื้นราบ รู้สึกจะไม่ร้อนอบอ้าวเช่นทุกวันนี้ ตกกลางคืนยังต้องแอบไปนอนตามสึ่งบ้านที่เต็มไปด้วยกองฟางเพื่อคลายหนาว หรือมักจะไปนอนเบียดกับพ่อครัวที่มีไออุ่นจากกองไฟหุงต้มหลังบ้านของเจ้าภาพใหญ่ อากาศมันไม่ได้เป็นเช่นนี้นี่นา.....ผมถามตัวเอง โดยครุ่นคิดอยู่เสมอว่า หรือว่าโลกมันจะเปลี่ยนแปลงไปจริงๆ..........ถ้าถามนักวิชาการก็อาจตอบว่า...... ใช่แล้วเนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป โดยเฉพาะประเทศไทย ในช่วง 30-40 ปีมานี้ อุณหภูมิในบ้านเราสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไม่ถึง 1 องศา   หากแต่ประเทศไทยของเราทะลุเป้าโรงเรียนไทยไปเรียบร้อย ถ้าอย่างนั้นอีก 100 ปีของหน้า (รุ่นหลานของผม) อุณหภูมิอาจจะสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส (ตามคำพยากรณ์ของนักวิชาการ ถ้าการแก้ไขภาวะโลกร้อนไม่สำเร็จ) แล้วหลานของผมรุ่นนั้นจะอยู่กินกันอย่างไร มิต้องขุดดินอยู่ในรูเหมือนตัวตุ่นหรือ ยุคนั้นอาจจะเรียกมนุษย์ว่า คนรู ก็ได้ ใครจะรู้ ..........         

อาจารย์เก

 

หมายเลขบันทึก: 343464เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ดูจากสภาพการณ์แล้วมีโอกาสเป็นไปได้สูงค่ะ
  • การดำเนินชีวิตประจำวันของสิ่งมีชีวิตก็แปรปรวนไปตามกัน
  • เห็นที่ต้องฝึกการเป็นคนรูเอาไว้ล่วงหน้าก็ดีเหมือนกันนะคะอาจารย์..

เรียนครูแป้น

ทุกวันนี้เพื่อนผมหลายคนเปนคนรูแล้วนะ คือเขาสร้างบ้านทำห้องใต้ดินไว้ด้วย แล้วห้องใต้ดินก็เย็นจริงๆ นอนพักผ่อนกลางวันสบายๆ ผมว่าอนาคตมีความเป็นไปได้สูง ที่วิศวกรรมการก่อสร้างจะต้องออกแบบบ้านให้มีชั้นใต้ดินเพื่อหลบร้อน

อาจารย์เก

ทุกวันนี้โลกร้อยขึ้นจริงๆครับ น่าเป็นห่วง

คุณก่อเกียรติ ครับ

ผมสงสัยว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ใช่สาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยฝีมือของมนุษย์เพียงเท่านั้น มันอาจจะเป็นผลมาจากสภาวะการเคลือนตัว การเอียงตัวของโลก ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ด้วย คิดเช่นนั้นจริงๆ

อาจารย์เก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท