การจัดท่าผู้ป่วยสำหรับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง


ผิดเป็นครู ไม่ลอง ไม่รู้ ไม่ทำ ไม่เป็น ไม่เห็น เลยไม่รู้ ต้องขยัน ฝึกหัด จดจำ ทำบ่อย เกิดความชำนาญ

สวัสดีครับ

วันนี้ผมสอนให้นักศึกษารังสีเทคนิคฝึกการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในแบบจำลอง เพื่อเพิ่มพูนทักษะเป็นรายบุคคล ให้สอดคล้องกับสมรรถนะวิชาชีพรังสีเทคนิค

 

 

สิ่งหนึ่งที่พบ คือ นักศึกษายังขาดทักษะในการจัดท่าผู้ป่วย

ภาพที่เห็น คือ นักศึกษาจัดแนวกึ่งกลางของศีรษะเอียงไปเล็กน้อย  (แนวศรชี้ไม่ตั้งฉากกับเตียงตรวจ)

 

 

ผลที่เกิดขึ้น หากจัดแนวกึ่งกลางผู้ป่วยเอียง

โดยปกติเนื้อสมองทั้ง 2 ข้างของคนเรา ต้องสมดุลย์กัน ภาพที่เห็น สมองภาพขวามือมีขนาดใหญ่กว่าซ้ายมือ กรณีมีสิ่งผิดปกติหรือสมองผู้ป่วยบวม ภาพที่เห็นอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิด ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคได้ หากผู้วินิจฉัยขาดประสบการณ์

ภาพแสดง กะโหลกศีระษะทั้ง 2 ข้าง ไม่สมดุลย์กันเกิดจากการจัดศีรษะผู้ป่วยที่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าปกติ (เล็กน้อย) 

 

 

ภาพแสดงสมองที่สมดุลย์ จากการจัดท่าศีรษะผู้ป่วยที่ดี จัดแนวกึ่งกลางศีรษะตั้งฉากกับเตียงตรวจ

 

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ต้องพยายามยึดศีรษะหรือให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากทำไม่ได้เจ้าหน้าที่ต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับยึดศีรษะ หรือบางครั้งอาจต้องให้ยานอนหลับแก่ผู้ป่วย

ภาพที่เห็นเป็นภาพที่ไม่ได้คุณภาพ เกิดจากผู้ป่วยขยับศีรษะระหว่างตรวจ ทำให้ไม่สามารถเห็นรายละเอียดของสมอง ส่วนที่ต้องการดูได้ชัดเจน 

 

 

สรุป : ในการจัดท่าทางผู้ป่วยระหว่างตรวจ มีความสำคัญ ต้องใช้ความรู้ทางศาสตร์แห่งวิชาชีพ ร่วมกับศิลปะ เพื่อให้ภาพที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยออกมาอย่างมีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการมากที่สุด

 

 

 

ความผิดพลาด เป็นครูที่ดีอย่างหนึ่ง เมื่อรู้ว่าผิดแล้วสามารถแก้ไขให้ถูกต้อง (ในทางที่ถูก ที่ควร) เป็นยอดคนได้ในพริบตา

 

 

หมายเลขบันทึก: 343064เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีจังเลยครับ มี model ให้นักศึกษาได้ฝึก ในกรณีที่เอ็กซเรย์ไม่ตรง มีผลข้างเคียงไหมครับ

รียน อ.ขจิต

เอกซเรย์ผิดตำแหน่ง หรือไม่ตรงกับบริเวณที่ต้องการตรวจวินิจฉัยหรือรักา ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มว่าที่จำเป็น

หากได้รับรังสีปริมาณที่มากๆ ได้รับบ่อยครั้ง เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเปลี่ยนของเซลล์บริเวณนั้นๆ ครับ

ดังนั้น ก่อนถ่ายภาพรังสี นักรังสีเทคนิค ต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบความถูกต้อง ทำอย่างระมัดระวัง ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

การเอกซเรย์นี่ก็ต้องมีความแม่นยำมากๆเลยนะค่ะ

แถมยังต้องมีความละเอียดมากด้วย ขนาดท่านอนยังต้องจัดให้ตรงเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ ^_^

สวัสดีครับ คุณPangJung

การดูแลรักษาผู้ป่วย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับชีวิต บุคลากรทางการแพทย์ต้องเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษเรื่องหนึ่งในการทำงาน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

ขอบคุณครับ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเรื่องการจัดPosition ผู้ป่วยครับ เป็นการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยม ในการฝึกทักษะตัวต่อตัวครับผู้เรียนจะจำติดตัวไปนานแสนนาน ผมเคยมีประสบการณ์จาก อ.วัชรี นวพันธ์ และ อ.รำไพ ไวปัญญา แม่ครู ทั้งสองของผมครับ

ไม่เคยลืมวันเวลาที่ผ่านมาเลยครับ คิดถึงเวลาที่ผ่านมา กับความทักษะดี ดี มิเคยลืม ที่ได้รับจากท่านทั้งสองครับ

เมื่อวันก่อน มีการนำเสนอ HA ที่เมืองทองธานี สงสัยว่า วิวัฒนาการสมัยใหม่ เรื่องการใช้ High KV ที่ อ.ชวลิต เมื่อมีคำถาม

เรื่องการประกันคุณภาพ ปริมาณฟิล์มเสีย มีรังสีแพทย์ ที่ไปร่วมงาน ซักถาม กลับมาแล้วมาถาม ผม งง งง ครับ วันนั้นที่ ท่านอ.จิตต์ไชย ไปร่วมงานด้วยครับ เลยอยากทราบครับ เรื่องการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป ที่ใช้ KV ที่ 100 ขึ้นไป แล้วลด mA และ SEC น่ะครับ กับการถ่ายภาพเอกซเรย์ ทุกส่วนของร่างกายน่ะครับ ผมยอมรับว่า ไม่ทราบจริงๆครับ

ขอบคุณอ.ต้อมครับ

เรียน คุณอ๊อฟ

เรื่อง High kV technique จากการศึกษา พบว่า kV มีผลต่อ contrst เมื่อใช้ kV สูงๆ (มากกว่า 100) ภาพมีลักษณะ long scal contrst และผลที่ตามมา คือ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ จะมีปริมาณน้อยลงไปด้วย เมื่อเทียบกับ kV ปานกลาง แต่ mAs สูงๆ

แต่การใช้ kV สูงๆ ไม่ได้ดีสำหรับทุกอวัยวะ ครับ

วันหน้าผมจะเขียนเรื่อง High kV กรุณาติดตามตอนต่อไป ครับ

ขอบพระคุณ อ.ต้อม ครับ สำหรับ High KV Technique ที่ อ.ต้อม ยินดี มอบความรู้นี้ในเชิงวิชาการและการนำไปปฏิบัติครับ

ผมเริ่มทดลองนำมาใช้กับการถ่ายภาพดู พบการเปลี่ยนแปลงจริงๆ จน รังสีแพทย์บอกว่า นี่แหละสิ่งที่หมอ อยากเห็น ครับ

แต่เหมาะสมกับการถ่ายFilm Chest นะครับ ผมทดลองการปรับค่า Exposure อยู่ 3 ราย ฟิล์มเสียไป ประมาณ 3 แผ่น ผมบันทึกค่า Exposure และปรับเปลี่ยนค่า ตามขนาดความหนาของผู่ป่วย โดยประมาณเอาน่ะครับ

อยากทราบ การผันแปร ค่า mAs กับ KV น่ะครับ ตามค่ามาตรฐาน ถ้าลด mAs ลง ในปริมาณ เท่าใด และควรเพิ่ม KV เท่าใด จึงจะเหมาะสมดีครับ เดิมผมตั้งค่า Exp.ที่ 68 Kv 200 mA 0.06 sec ปัจจุบัน Exp.90Kv 200 mA 0.025 sec ครับ ระยะ 72 นี้ว ใช้ Bucky ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท