วันนี้ 15 มิ.ย. 49 ชาวเกษตรทั้งหลายได้เข้าร่วมกระบวนการจัดการความรู้เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก เหตุที่เรียกว่า ครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมา คุณอำนวยออยและพี่ประสงค์ เข้าไปแค่สังเกตุการณ์ หยั่งเชิง ดูวัฒนธรรม ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจัดเป็นประจำในวันพุธสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ความเป็นครั้งแรกในเหตุผลที่ 2 คือ การได้รับฟัง ทั้งลูกล่อ ลูกชน ของผู้รู้ คือ คุณไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดชุมพร ทีได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ โดยโยงเปรียบเทียบจากภาคธุรกิจ ที่ใช้กรอบความคิด เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ขณะเดียวกันได้นำเสนอให้เห็นว่า การจัดการความรู้ เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งตามเป้าหมายการจัดการความรู้ของจังหวัดชุมพรที่ตั้งไว้ว่า "เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการความรู้ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย(food safety) นั้น มีความสำคัญต่อคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดถึง 26 % รวมทั้งเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ได้ประเมินความคิดเห็นต่อเป้าหมายของจังหวัด เหตุเพราะว่า เป้าหมายที่จัดทำขึ้นมาจากกลุ่มบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ผลจากการประเมินผิดจากที่คาดไว้ คือ ผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับเป้าหมายถึง 66 % จาก 58 คน ไม่ใช่น้อย แต่มันทำให้ขนาดของหัวปลาที่ตั้งไว้ ลดลงหน่อยนึง อาจจะไม่ใช่ปลาทู แต่ไม่รู้ปลาอะไร วันพรุ่งนี้ พี่ประสงค์ จะมาบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อทุกคนไม่ได้เห็นด้วยกับเป้าหมายของจังหวัดทั้งหมด แล้วผู้เกี่ยวข้องมีเป้าหมายต่อการปฏิบัติงานอย่างไร คุณไอศูรย์ ใช้วิธีการที่เรียกว่ายุทธศาสตร์เจ้าของหัวปลา
ปรากฎว่า จากผู้เกี่ยวข้อง ได้แบ่งแยกกันคิด คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจัดเป็นกลุ่มอำเภอ 6 กลุ่ม หน่วยสนับสนุนทางวิชาการ 1 กลุ่ม และหน่วยสนับสนุนทางการบริหาร 1 กลุ่ม มาถึงขั้นนี้ ได้หัวปลาเป็นของตัวเอง ที่ร่วมผลักหัวปลา(เป้าหมายจังหวัด) ร้อยพวงเข้า เป็นพวงปลาตะเพียน (มีรูปด้วยน่ะ แต่ตอนนี้ยังทำไม่เป็น) ผลของการร้อยพวงเป็นอย่างไร ใช้ยุทธศาสตร์ไหนต่อไป โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป (วันแรกยังไม่จบน่ะ)
ไม่มีความเห็น