ชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี
ชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี จังหวัดสกลนคร sakon nakhon community for healthy society จังหวัดสกลนคร

โครงการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ ตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ


เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Primary Care Award and Standard of Primary Care Unit
โครงการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ  ตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  
PCA : Primary Care Award and Standard of Primary Care Unit
จังหวัดสกลนคร ปี  2553
หลักการและเหตุผล : 
              จากการปฏิรูประบบสุขภาพในปี 2542 ได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดระบบบริการปฐมภูมิมาโดยตลอด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้โดยสะดวก และได้รับบริการที่มีคุณภาพ                  ได้มาตรฐาน  ขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนามาตรฐานบริการปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นทะเบียนหน่วยปฐมภูมิ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   และการนำแนวคิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement)  โดยใช้กระบวนการประเมินตนเองเป็นเครื่องมือ ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา  ต่อมาระยะหลังได้มีการพัฒนามาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน(HCA) ซึ่งเป็นมาตรฐานชุดกระบวนการ  จัดหมวดมาตรฐานเป็น 4 ระบบงาน  โดยมีมาตรฐานบริการย่อยๆเช่นมาตรฐาน    สุขศึกษา  มาตรฐานการพยาบาลชุมชน มาตรฐานฐานการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ  เป็นมาตรฐานที่ควบคุม กำกับส่วนที่เป็นกระบวนการบริการ  พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลผลิต ผลลัพธ์ ของการจัดบริการ  รวมถึงผลผลิตส่วนที่จัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดการประกันคุณภาพทั้งองค์กร(Total Quality Management ) ที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยนำเข้า  กระบวนการบริการ รวมทั้งการบริหารจัดการ ที่ประกันได้ว่าจะทำให้เกิดการจัดการที่ส่งผลให้งานมีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน  ทั่วถึง เป็นระบบทั้งองค์กร ในชื่อเรียกว่า เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ   PCA : Primary Care Award and Standard of Primary Care Unit   ซึ่งเป็นระบบที่ประกันคุณภาพทั้งองค์กร    
             การนำเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการนั้น หน่วยบริการระดับต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ  จังหวัด  อำเภอ และตำบล ควรทำความเข้าใจอย่างชัดเจนต่อแก่นของมาตรฐานและระบบคุณภาพทั้งหมด แล้วจัดเรียงองค์ประกอบในระบบคุณภาพที่ต่อเชื่อมกัน ตั้งแต่การเขียนโครงสร้างองค์กร ( Unit  profile )   และการทบทวนผลการดำเนินการในแต่ละหมวดขององค์กร   รวมถึงการนำข้อมูล สารสนเทศที่เป็นผลจากการทบทวนทั้งหมด  มากำหนดทิศทางการดำเนินงานและกลยุทธ์การทำงานของหน่วยปฐมภูมิให้ชัดเจนนั้น ต้องอาศัยQRTที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงคอยให้การสนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยบริการ สามารถนำเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่เอง
              สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร   ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของทีม QRT  PCU  ที่มีบทบาทและหน้าที่ช่วยพัฒนาการจัดบริการระดับปฐมภูมิให้เป็นไปในทิศทางที่คาดหวัง ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  สามารถเป็นพี่เลี้ยงผู้สะท้อนภาพการพัฒนาแบบสร้างสรรค์   มากกว่าการตรวจสอบแบบ Check  list มีลักษณะของการรับฟังข้อมูล  ความรู้สึก อุปสรรค ช่วยพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้            ในสถานการณ์จริง และร่วมมือกับหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้สามารถจัดบริการที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังด้านสุขภาพที่แท้จริงของประชาชน  และสังคมได้ต่อไป
หมายเลขบันทึก: 341858เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กลุ่มเป้าหมาย :  QRT  PCU  จำนวน    62    คน  ดังนี้

  1. คณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ ระดับอำเภอๆละ 3 คน ดังนี้

          1.1  QRT ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอๆละ 1 คน                                     จำนวน  18 คน

          1.2  QRT ในโรงพยาบาลชุมชนอำเภอๆละ 1 คน                                          จำนวน  18 คน

          1.3   ตัวแทนพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอละ 1 คน         จำนวน  18  คน

2.  ผู้รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ  ระดับจังหวัด                        จำนวน    5 คน

3. ผู้รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ สปสช. เขต 8 อุดรธานี           จำนวน   3 คน

4.  QRT ในโรงพยาบาลทั่วไป                                                                             จำนวน    2  คน

วัตถุประสงค์ ( Objective )  :

  1. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิของคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิอย่างชัดเจน
  2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันสามารถสะท้อนภาพการพัฒนาแบบสร้างสรรค์
  3. เพื่อส่งเสริมการนำเกณฑ์มาตรฐานไปใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการแก่หน่วยบริการปฐมภูมิ

พื้นที่ดำเนินการ :

1. หน่วยคู่สัญญาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ( CUP ) ทุกอำเภอ

2. หน่วยบริการปฐมภูมิและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง

กิจกรรมและกลวิธีดำเนินงาน :

1. ประชุมทีมนำ QRT ระดับจังหวัด เพื่อวิเคราะห์ SWOT จัดทำกลยุทธ์และวางแผนการปฏิบัติงาน

2. จัดทำโครงการ ขออนุมัติดำเนินการ

3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติพัฒนาคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ

4. ทีม QRT PCU ระดับอำเภอ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้หน่วยบริการปฐมภูมิและ รพสต. เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิ ในพื้นที่ของ CUP ที่ตนเองรับผิดชอบ

5. ทีม QRT PCU ระดับจังหวัดเยี่ยมนิเทศ ติดตาม CUP และ PCU เกี่ยวกับผลการนำเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิไปใช้

6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิ ระดับจังหวัด

7. รวบรวม และสรุปผลการปฏิบัติงาน พร้อมปัญหา และอุปสรรค เพื่อการแก้ไขทุกเดือน

8. ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินการ :

  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ ตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิ หลักสูตร 3 วัน ณ โรงแรมอิมภูฮิลล์ อ.วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 29 – 31 มีนาคม 2553
  2. จัดประชุมเยี่ยมนิเทศ ติดตามติดตาม CUP และ PCU เกี่ยวกับผลการนำเกณฑ์คุณภาพเครือข่าย ปฐมภูมิไปใช้ โซนละ 1 วัน ระหว่าง เดือน มิถุนายน – สิงหาคม 2553
  3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิ ระดับจังหวัด 1 วัน ในเดือนกันยายน 2553

งบประมาณดำเนินการ : ได้รับสนับสนุนงบจาก สปสช.เขต 8 อุดรธานี จำนวน 256,000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

  1. คณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ มีสมรรถนะตามเกณฑ์
  2. หน่วยบริการระดับปฐมภูมิจัดบริการเป็นไปในทิศทางที่คาดหวัง ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ :

  1. ร้อยละ 90 ของหน่วยบริการปฐมภูมิสามารถทบทวนผลการดำเนินงานตามเกณฑ์เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิในหมวด P / หมวด 3 / หมวด 6.1และ 6.2 ได้
  2. ร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิมีความพึงพอใจบริการ ระดับ ดี

ผู้รับผิดชอบหลัก :

  1. กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและทีมพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ สสจ.สน.
  2. คณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ จังหวัดสกลนคร
  • Project  manager : คุณชดาพร  กิตติคุณ
  • ทีมปฏิคม : คุณนภัสสวรรณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท