การปฏิรูปการสอนของครู


PLAN DO CHECK ACTION

     การปฏิรูปการสอนของครู  

§ขั้นวางแผน  (PLAN)

§1.  การศึกษาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด

§2.  การกำหนดแผนจัดการเรียนรู้

§3.  การนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้

§4.  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

§5.  การเตรียมวัสดุอุปกรณ์สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

§6.  การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้

§7.  การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

§ขั้นสอน  (DO)

§8.   การดำเนินการสอน   

§9.   การเสริมความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้ผู้เรียน

§ขั้นตรวจสอบ  (CHECK)

§10.  การตรวจสอบและบันทึกผลการสอน

§ขั้นปรับปรุงพัฒนา  (ACTION)

§11.  การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อปรับปรุงพัฒนาการสอน

                                       

                        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
                                  พุทธศักราช 2542

                                         มาตรา 30 

ให้สถานศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ    รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

                             การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

        ผู้สอนที่มีความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้   คือ  ผู้ที่มองเห็นปัญหา ระบุหรือรู้ปัญหาได้ มีการวางแผนการวิจัยเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล และ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีหลักฐานแสดงการได้มาซึ่งข้อค้นพบ และมีหลักการและความเป็นเหตุเป็นผลอธิบายถึงข้อค้นพบนั้น ๆ

       วิถีชีวิตการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครูผู้สอนนั้น   ครูผู้สอนจะปฏิบัติภารกิจหลัก  3   ประการ  คือ การเรียนการสอน การวิจัยในชั้นเรียน และ การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน

หลักการของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  • 1.   เป็นการวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่การเรียนการ

สอนดำเนินการอยู่ และ ครูผู้สอนสามารถจัดทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา

  • 2.   เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายปลายทางเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้น ทุกเรื่อง

ทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ครูผู้สอนสามารถนำมาศึกษาวิจัยได้ทั้งสิ้น

ครูผู้สอนวิจัยเรื่องอะไรในการพัฒนาการเรียนรู้

  • 1.   ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • 2.   ปัญหาทางด้านนวัตกรรมการสอน
  • 3.   ปัญหาทางด้านหลักสูตร
  • 4.   ปัญหาทางด้านสื่อการเรียนการสอน
  • 5.   ปัญหาทางด้านการวัดและประเมินผล
  • 6.   ปัญหาทางด้านศูนย์การเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้
  • 7.   ปัญหาอื่น ๆ  (ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน)

กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  • 1.   ผู้สอนเห็นปัญหาเกิดขึ้นในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน หรือปัญหาของผู้เรียนทั้งห้องเรียน
  • 2.   ตั้งประเด็นปัญหาการวิจัย / ตั้งสมมุติฐานของการวิจัย
  • 3.   ออกแบบวิธีวิจัย รวมทั้งจัดทำเครื่องมือที่ต้องการใช้
  • 4.   เก็บรวบรวมข้อมูล และ บันทึกข้อมูลตามแผนที่กำหนด
  • 5.   วิเคราะห์ข้อมูล และ แปลผล
  • 6.   สรุปผลการวิจัย และ จัดทำรายงานผลการวิจัย

                            

หมายเลขบันทึก: 341576เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท