การจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษา


       การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล และสังคมมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป้าหมาย การปฏิรูปการศึกษาจึงมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข การพัฒนาผู้เรียนดังกล่าว สถานศึกษาต้องมีการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็น ระบบต่อเนื่องเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่าง ชัดเจนเหมาะสมวางแผนพัฒนาคุณภาพและการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องรวมทั้งตรวจสอบ ทบทวนปรับปรุงแก้ไขและรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ (สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. 2545 : 1-3)

       ปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการศึกษาเชิง คุณภาพ โดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญที่เสริมและผลักดันให้กระบวนการ ทำงานในทุกระดับและบุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินไปอย่างสอดรับเป็นระบบ มุ่งหน้าไปในทิศทางที่ ได้ร่วมกันกำหนดไว้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัย หลักการและวิธีบริหาร และการจัดการคุณภาพ (quality management) สมัยใหม่ที่เน้นการสร้าง ความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

       สถานศึกษาไม่ว่าขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ส่วนมากมักจะมีคอมพิวเตอร์ช่วย ในการจัดทำเอกสารควรใช้คอมพิวเตอร์ให้เต็มศักยภาพเพื่อจัดการระบบสารสนเทศที่ครบถ้วน ถูกต้องและเรียกใช้ได้ทันเวลาในทุกสถานการณ์ การมีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพ จะทำให้ กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในด้านต่างๆดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารสนเทศที่ดีไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารสนเทศที่มีอยู่แล้วแต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและตรงกับสภาพ ความต้องการของผู้ใช้ เช่นการวางแผนในสถานศึกษาได้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือการ วางแผนเพื่อแก้ปัญหาและการวางแผนเพื่อการศึกษาซึ่งในการนี้เครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยเป็นตัวบ่งชี้ ปัญหา สนับสนุน เหตุผลความจำเป็น ชี้ให้เห็นสภาพปัจจุบันสภาพของปัญหาได้ชัดเจน ก็คือ ข้อมูลและสารสนเทศนั่นเอง ระบบสารสนเทศในสถานศึกษาจึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ สำหรับบุคลากรทุกคนในองค์กร มีข้อมูลประกอบการพัฒนางานสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการ ดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับหัวหน้าหมวด / กลุ่มวิชา /ระดับ สายชั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศประกอบการวางแผนตัดสินใจ กำหนด นโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งปัญหาต่างๆ ของโรงเรียนอาจ เกิดขึ้นได้หลายระดับตามองค์กรของการบริหาร ข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงถึงผลของการ ปฏิบัติงานย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบการทำงานของตนเอง ตลอดจนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและนำมาปรับปรุงงานของตนให้ดียิ่งขึ้น ผู้บริหารสามารถศึกษาผลการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานชี้แนะหรือช่วยเหลือแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นการพัฒนาคุณภาพแต่ละระดับผู้บริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 341487เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท