หนังสือ "ยากับชุมชน" อ่านแล้ว ได้ความคิดเรื่อง ระบบยา


ลองใช้มุมมองใหม่ "ทำไมเราไม่มองว่า เราจะปรับ ยา หรือ ระบบยา ของเรา อย่างไร ให้เข้ากับชาวบ้าน "

               ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ยากับชุมชน มิติทางสังคมและวัฒนธรรม” ของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์  ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ดร.วิชิต เปานิล  ซึ่งเป็นหนังสือที่มาจากการทบทวนสถานการณ์การใช้ยาในชุมชน  ซึ่งสมบูรณ์แบบมากในความคิดของผม  เพราะเนื้อหามาจากทั้งการทบทวนการศึกษา จากเวที ลปรร. และจากการสัมภาษณ์    และมีการแบ่งเป็นบทต่างๆถึง 5  บท ตามปัญหาที่เกิดขึ้น (ตามอ่านนะครับ)

      ผมได้แนวคิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ อย่างนี้ครับ

            1.ตลอดเวลาทั้ง 20 ปีที่ผ่านมาปัญหาด้านยาในชุมชน ยังวนเวียน อยู่ที่เรื่องเดิม ทั้งๆ ที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป   เช่น ปัญหายาชุด  ปัญหายาปฏิชีวนะ ปัญหายาแก้ปวด ยาล้างไต  ปัญหาการโฆษณาชวนเชื่อ  ปัญหาการขายยาในสถานที่ห้ามขาย เช่น ร้านชำ ร้านขายยาผิดประเภท  ขายตรง   

            ซึ่งเมื่อผมลองคิดตาม ก็เป็นแบบนั้นจริงๆครับ เพราะตลอดที่ทำงานเป็นเภสัชกร รพ.ชุมชน 10 ปีกว่าที่ผ่านมา และเปิดร้านยาในชุมชน(ชนบท) อีก 2 ปี ก็ยังพบว่าเรื่องราวปัญหาจากยา ยังหมุนเวียนไปมาอยู่ประมาณนี้ ไม่มีอะไรเปลี่ยน

 

             2. ในหนังสือ เปิดมุมมอง ให้ผมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เมื่อให้ลอง มองภาพการทำงานของเราที่เป็น เภสัชกร (รวมทั้ง จนท.ทางการแพทย์ อื่นๆ ด้วยนะครับ)

            เรามองปัญหาด้านยาในชุมชน จากมุมมองของเราข้างเดียว  เรามักจะบอกว่า ชาวบ้านมีปัญหาการใช้ยา เราต้องไปแก้ที่ชาวบ้าน โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยา ให้ความรู้  (สิ่งที่เราสอน ถูกเสมอ เพราะเราเรียนมาโดยตรง เราเป็น “เราเป็นวิชาชีพ” )  เราต้องเปลี่ยนชาวบ้านมาเป็นอย่างที่เราต้องการ ถึงจะเรียกว่าถูกต้อง .......ง

            "มอง ในมุมใหม่ ทำไมเราไม่มองว่า เราจะปรับ ยา หรือ ระบบยา ของเรา อย่างไร ให้เข้ากับชาวบ้าน โดย ทำความเข้าใจถึง มิติทางสังคม ความเชื่อ วัฒนธรรม   สิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ      โอ้...... อันนี้ยากนะครับ  แต่น่าจะดีมากถ้าทำได้"

            ผมเลยนึกไปถึง สิ่งที่พยายามทำทุกวันในการทำงานปัจจุบัน ก็คือ งานสอนสุขศึกษา ที่ปรับจากการสอน มาเป็นการฟัง ชาวบ้านมากขึ้น ฟังอย่างให้เกียรติความรู้ที่มีอยู่ในคนทุกคน (tacit knowledge) ฟังโดยไม่ตัดสินถูก ผิด แล้วปรับสิ่งที่เป็นความรู้ของเราเข้าไป แบบ แลกเปลี่ยนกัน   อืม......... กำลังฝึกครับ  เพราะสังเกตว่า ติดนิสัยเดิมๆ  แค่ชาวบ้าน อ้าปาก... ก็ ผิดละครับ เพราะเราถือว่า เรารู้มากกว่า 

              

          3. ในหนังสือ บอกอีกเช่นกันครับว่า การแก้ปัญหายังเป็นในรูปแบบเดิม โดยไม่มีรูปแบบใหม่ๆ คือ  ใช้มาตรการให้สุขศึกษา  การควบคุมการโฆษณา  การเร่งรัดมาตรการด้านกฎหมาย  หรือการจัดทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยาที่อันตราย       พออ่านมาถึงตรงนี้ ผมเลย อึ้งเลยครับว่า จะใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอะไรดี ถึงจะแหวกแนว  (กะว่าจะทำโครงการให้สุขศึกษาการใช้ยา ปฏิชีวนะในชุมชน ซะหน่อย........ นะ)  ดังนั้น อย่างแรกที่ผมจะทำก่อนทำโครงการที่เป็นในรูปแบบ สอน สอน สอน และสอน....... มาเป็น เอ่อ............. 

     (ขอเวลาไปคิดก่อนนะครับ  แล้วจะมาเล่าต่อ)   แต่ ไม่รู้จะคิดได้หรือเปล่านะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 340732เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับท่านเภสัช แวะมาฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ถึงเพื่อนลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขครับท่าน

หน้าแรก

เมนูรวม บันทึก

บันทึกล่าสุด

บันทึกที่ได้รับความเห็นล่าสุด

บันทึกแบ่งตามหมวดหมู่

บล็อก

บล็อกล่าสุด

แพลนเน็ต (รวมบล็อก)

แพลนเน็ตล่าสุด

อนุทิน

แสดง

ไฟล์

ไฟล์ล่าสุด

ไฟล์ที่ได้รับความเห็นล่าสุด

คำถามคำตอบ

คำถามล่าสุด

คำถามที่ได้รับคำตอบล่าสุด

คำถามที่ได้รับความเห็นล่าสุด

เว็บอ้างอิง

เว็บอ้างอิงล่าสุด

สมาชิก

สมาชิกล่าสุด

สมาชิกที่มีความเคลื่อนไหวล่าสุด

ความเห็น

ความเห็นล่าสุด

สมัครสมาชิก

เข้าระบบ

home / blog / bangheem / 341787 ค้นหา

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ลูกน้องพยาบาล โรงพยาบาลปากพะยูน

สวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชน

ประวัติ :: ศูนย์รวมข้อมูล :: อนุทิน :: บล็อก :: แพลนเน็ต (รวมบล็อก) :: ไฟล์ :: คำถาม :: เว็บอ้างอิง :: อีเมลติดต่อ อ่าน: 102

ความเห็น: 22 ประชุมเตรียมการเปิดป้ายที่ทำการสมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข

ทอดผ้าป่าสามัคคีจัดตั้งกองทุน พัฒนาคุณธรรมชีวิต ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ขอเรียนเชิญเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขได้ไปเป็นเกียรติร่วมงาน และร่วมบริจาคเงินตามกำลังศรัทธา ทอดผ้าป่าสามัคคีจัดตั้ง กองทุนพัฒนาคุณธรรมชีวิตลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และขอเชิญร่วมงาน"รวมน้ำใจสาสุข 76 ทั่วไทย" หากหน่วยงานของท่านยินดีร่วมบริจาคเงินทอดผ้าป่าสามัคคี หรือร่วมงาน "รวมน้ำใจสาสุข76 ทั่วไทย" โปรดตอบรับ กลับมายังสมาคม หรือคณะกรรมการบริหาร กรรมการเขต โดยโอนเงินเข้าบัญชี นายสมยศ ครองหิรัญ บัญชีเลขที่101-0-43284-2 ธนาคารกรุงไทย สาขาอยุธยา

เรื่องนี้ง่ายนิดเดียวค่ะ แต่ยากเยอะ...หุหุ

เปลี่ยนเป็น ฟัง ฟัง และฟังก่อนสิ ดีไหมคะ อิ..อิ..

พีเอนก ผมเองก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน และได้แนวคิดอะไรใหม่ๆเยอะ และแนวคิดที่ได้ก็ออกจะค้านกับแนวคิดเดิมอยู่ไม่น้อย หากมีอะไรดีๆมาแลกเปลี่ยนด้วยกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท