ถอดบทเรียน : เรียนรู้อย่างไร ?


การจัดการความรู้ หรือ KM คืออะไร ?

      ช่วงบ่าย ๆ ของวันแรกของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓  วิทยากรคนเก่งของเรา (ท่าน JJ) ก็ให้ดูคลิปวีดิโอสั้น ๆ หลายเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่อง การหาความหมายของคำว่า “ความรู้คืออะไร ?” ของนักเรียน และต่อมาก็เป็นเรื่อง “การพับเสื้อ” ที่มีด้วยกันถึงสามตอน  โดยจะเน้นอยู่บ่อยว่า  ท่านได้ดู ได้ฟังแล้ว ได้คิด และคิดอะไรได้ ?   เพื่อให้แต่ละคนได้ฝึกถอดบทเรียนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนรู้  การถอดบทเรียนหรือการเรียนรู้ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน ตามพื้นฐานประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรถูกหรือผิด อาจจะเป็นเรื่องของมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการถอดบทเรียนของผมในที่นี้ อาจจะไม่ตรงกับหลาย ๆ คน หรือแม้แต่ของท่านวิทยากรเองก็ได้

         

          เรื่องการหาความหมายของคำว่า “ความรู้คืออะไร ?” ของนักเรียน เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ในบางครั้งสิ่งที่เราเข้าใจว่าทุกคนรู้  พอเอาเข้าจริง ๆ อาจจะเข้าใจไปคนละอย่างก็ได้ และในอีกมุมหนึ่งอาจจะมองได้ว่าเรื่องการหาคำจำกัดความหรือความหมายของคำ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า การจัดการความรู้ หรือ KM คืออะไร ? ที่มักจะมีผู้เข้าอบรมใหม่ถามเสมอ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  สิ่งที่น่าจะสำคัญมากกว่าก็คือ เราจะสามารถใช้ การจัดการความรู้ ให้เป็นประโยชน์ต่อ ตัวเรา งานและองค์กร ของเราได้อย่างไร  เช่นเดียวกับการอบรมที่ มทส. ในครั้งนี้ ดังนั้นวิทยากรอย่างอาจารย์ JJ จึงเตรียมคำตอบโดย ท่าน ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช กูรู  KM เมืองไทย สมัยไปบรรยายที่ขอนแก่นเมื่อหลายปีมาแล้ว มาตอบให้ได้ทราบกัน

      สำหรับท่านที่ยังไม่จุใจ  ผมมีฉบับที่ใหม่กว่า คือ คำกล่าวสรุป ของ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช  จากงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๔ มาให้ได้ฟัง เพื่อความชัดเจนอีกครั้งครับ รวมทั้งความเข้าใจเรื่องของการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practice คืออะไร ? ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของ การจัดการความรู้  ตาม MSUKM-ABC กำลังสองโมเดล

ข้างล่างคือ ข้อความส่วนหนึ่ง ครับ

           “ KM คือ เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย จุดนี้สำคัญนะครับ "เป็นเครื่องมือ เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ ต้องเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย" ... เป้าหมายใครกำหนด ก็กำหนดเอาเองสิ กลุ่มใครกลุ่มมัน หน่วยงานใครหน่วยงานมัน แล้วแต่ใครกำหนด และก็ทำให้มันบรรลุเป้าหมายให้ได้ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ จุดนี้สำคัญนะครับ ที่เราใช้ว่า ร่วมกัน คือ หลายคน เป็นกลุ่ม
        แต่จุดที่สำคัญคือ การปฏิบัติ การปฏิบัตินี่ละ ทำให้ทุกอย่างมันง่ายหมดเลย แต่การปฏิบัติทำให้ทุกอย่างมันยาก คนทำไม่เป็นมันถึงยากไง เพราะมันไม่ลงที่การปฏิบัติ มันไปลงที่การคิด พอลงที่การคิดก็ยุ่งทันที นะครับ อันนี้ก็เป็นเส้นผมบังภูเขา ที่พวกเรามาใน 2 วันนี้แล้ว นี่น่าจะได้เห็นเส้นผมอันนิ้ และเขี่ยทิ้งได้......”

 ( อ้างอิง http://gotoknow.org/blog/phyto/184705 )

          คลิปวีดิโออีกเรื่องเป็นเรื่องของ วิธีพับเสื้อยืด ที่มีด้วยกันถึงสามตอน ที่น่าสนใจมาก  ตอนที่หนึ่งแสดงให้เห็นวิธีพับเสื้อแบบพิเศษ ที่ทำได้อย่างรวดเร็วมากเป็น Best Practice  คนดูจะตามไม่ทัน ทำตามได้ยาก ตอนที่สอง เป็นการนำวิธีพับเสื้อยืดนี้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นเรื่องราว ทำให้เกิดความประทับใจ   ส่วนตอนที่สาม เป็นการแสดงวิธีพับอย่างเป็นขั้นตอน  อย่างช้า ๆ และชัดเจน ผู้ดูสามารถทำตามได้  อันนี้น่าจะถือว่า เป็นการพัฒนาต่อยอด จาก Best Practice ซึ่งเป็น Tacit Knowledge ให้เป็น Explicit Knowledge  ตามภาพ ภูเขาน้ำแข็ง ที่ ท่านทวีสิน ได้นำมาเล่าให้ฟังในวันที่สองอีกครั้ง ถึงการเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างความรู้ทั้งสองแบบตามลูกศร

หมายเลขบันทึก: 340729เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สนใจการอบรมค่ะ

ตอนนี้ศึกษา KM เพือ Learning Organization อยู่ค่ะ(เพื่อทำการศึกษอิสระจบ ป.โท)

ขอบคุณมากสำหรับ "ความรู้" ค่ะ

  • อยู่ที่ KKU มีการอบรมอย่างนี้บ่อยครับ  สนใจแวะไปคุยกับ ท่าน JJ  คุณอำนวยแห่งชาติ วิทยากรขั้น super ได้ครับคุณอ๋อย P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท