ภาษาอินโด มาเลย์ ปาตานีและนูซันตารา


ภาษาที่ต้องวิจัยและทำให้เป็นที่ยอมรับของปาตานี

           อ่านบล็อกของ อ.อาลัม เรื่องการผูกไทน์ ก็นึกถึงคำศัพท์อินโดและศัพท์มาเลย์ที่มีความหมายแตกต่างกัน อีกอย่างยังนึกถึงคำพูดของอาจารย์ที่มาจาก STIE TAZKIA อินโดนีเซีย ที่มาทำ MOU กับ YIU. เขาได้คุยเรื่องภาษาของกลุ่มนูซันตารา เขาเสนอว่าทำไม มอย. ไม่ผลักดันให้ใช้ภาษานูซันตารา (ทำการวิจัยและใช้เป็นภาษาของเราเองโดยไม่ต้องไปใช้ภาษาของคนอื่น และเป็นภาษาที่สามารถสนทนากับหลายๆ ประเทศ เราไม่จำเป็นต้องไปยึดภาษาของมาเลเซียและเราก็ไม่จำเป็นต้องตามภาษาของอินโดนีเซีย ความชัดเจนของเรา เรามีกลุ่ม เรามีภาษาที่เป็นของเราเอง อีกอย่างเรามีกลุ่มวิชาการแล้ว (ตอนนี้) เราสามารถไปสนทนากับบุคคลในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ปาตานี (ของไทย) จำปา (ในประเทศกัมพูชา) หรือประเทศแถวอเมริกาใต้ อย่างประเทศซุรินัม และยังมีอีกหลายประเทศรวมถึงกลุ่มประเทศแถวดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ซาอุดีอารเบียที่ทุกปีจะมีการรวมตัวกันเพื่อทำการแสวงบุญ พ่อค้าแม่ขายก็จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษามลายูเพื่อการค้าขาย

            พูดถึงความแตกต่างระหว่างภาษามาเลย์และภาษาอินโด ผมยังจำได้ถึงทุกวันนี้เกี่ยวกับ คำๆ หนึ่ง ที่อุสตะเคยยกตัวอย่างตอนที่เราเรียนวิชาภาษามลายูที่โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา อุสตะบอกว่าตอนที่เขาไปอินโดใหม่ๆ เขานั่งรถแท็กซี่ พอเขาจะเลี้ยว เขาบอกคนขับว่า Pusing/ปูซิง ซึ่งแปลว่าเลี้ยว แต่โชว์เฟอร์คนอินโดเข้าใจอีกความหมายหนึ่ง และเขาตอบว่า เขาไม่ได้ Pusing เที่ยวนี้แหละสนุกเราให้เขาเลี้ยว แต่คำนั้นเป็นคำเดียวกันแต่คนละประเทศความหมายก็คนละความหมาย สุดท้ายคนขับก็ต้องจอดและใช้ภาษกลาง ภาษาสากลหรือภาษาสัญลักษณ์ สรุปได้ว่า ที่อุสตะให้ปูซิง (ที่แปลว่าเลี้ยวนั้น) ถ้าปูซิง ที่อินโดแปลว่าปวดหัว แต่ถ้าจะให้เลี้ยวต้องพูดว่า Putar/ปูตัร

เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดสำหรับใครที่จะมีการสื่อสารของทั้งสองประเทศอย่างเช่น ภาษามาเลเซีย

Seluar/กางเกง

Baju/ T-Shirt/ เสื้อ

Kasut/ รองเท้า

Setokeng/ถุงเท้า

Tie/Net Tie/ไทน์

Kereta/รถยนต์

Timun/ แตงโม

แต่ภาษาอินโด คำเดียวกันแต่คนละความหมาย บางทีเราจะสื่อไป แต่สุดท้ายเขาเข้าใจผิด เช่น

Celana/กางเกง

Kaos/เสื้อคอกลม

Sepatu/รองเท้า

Kaos Kaki/ถุงเท้า

Dasi/เน็คไทน์

Kereta/รถไฟ

Timun/แตงกวา

 

อย่าไปสับสนหรือสับเปลี่ยนระหว่าง dasi (ไทน์) กับคำว่า Trasi ซึ่งหมายถึงเคยหรือกะปิ (ที่มีกลิ่นครับ)

เดี๋ยววันหลังจะเขียนศัพท์หรือคำภาษาชวาให้ทราบด้วยครับ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นูซันตารา#ภาษา
หมายเลขบันทึก: 340222เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ

สนุกดีครับ พูดผิดนิดเดียว ความหมายเปลี่ยนเลย

สมัยเด็กๆ ตอนเรียนตาดีกา สนุกดีเหมือนกัน

ฮุกมในฟิกห์เราแบ่งเป็น วาญิบ ซุนัต มักรูฮฺ ฮารูส

พอไปอ่านหนังสืออินโด บางสิ่งวาญิบชัดๆ แต่เขาเขียนเป็น ฮารูส .. เลยทำให้ไม่อยากอ่านหนังสืออินโดเท่าไร เพราะมันมึน

ผมว่า มอย.เราเป็นสากลในเรื่องภาษาอยู่มากครับ ขนาดวารสารวิชาการของเรา รับเกือบทุกภาษาที่เป็นสากลของเราเลยครับ

ตอบ Ibm ครูปอเนาะ งั้นอาจารย์ต้องหาหนังสืออินโดและทำความเข้าใจใหม่แล้วครับ ตอนนี้ที่มหาวิทยาลัยของเรามีอาจารย์ที่เป็นศิทย์เก่าที่จบจากอินโดจำนวนทั้งสิ้น 7 คน (นั้นไม่รวมถึงแฟนของอาจารย์ที่ทำงานข้างนอก) ถ้าฮูกุม วาญิบ (ในหนังสือบ้านเรา) ก็คือ ฮาโรส (ในหนังสือของอินโดนีเซีย) แต่ความหมายเดียวกันนั่นแหละครับ คือวายิบ

อีกอย่างที่ผมมั่นใจว่า มีคนใช้คำนี้บ่อยมาก และใช้ไปทั้งๆ ที่ไม่รู้ความหมาย เช่น

การทำดีเท่า Biji Sawi (บีญีซาวี) ถามว่าแล้วมันหมายถึงอะไรครับ ก้อตอบว่า การทำดีเท่าเมล็ดผัก Biji Sawi คือ เมล็ดผักกาด

และพอถึงเดือนรอมฎอม ย่อมหนีไม่พ้นการทำขนมไปกินในคืน Tujuh Likur (ตูญูฮ ลีโกร) คำว่า ลีโกร เป็นภาษาชวา ที่มีความหมายว่า ยี่สิบ

ดังนั้น Tujuh Likur ก็คือ คืนที่ ยี่สิบเจ็ด (ได้กินของหวาน ได้กินบูบูร)

การนับ หนึ่ง สอง สาม ของชวาต่างกับภาษาอินโดนีเซียหรือมาเลย์

เช่น Siji, Loro, Telu, Papat, Limo, Nem, Pitu, Wolu, So-ngo, และ สิบคือ Sepuluh

ตอบคุณจารุวัจน์ ตอนนี้มหาลัยเราเป็นอินเตอร์ แต่ว่าจะหนักไปทางมาเลย์มากกว่า ไม่เป็นไรเพราะตอนนี้เราเริ่มผลิตนักศึกษารุ่นใหม่ให้ไปค้นคว้าภาษาอินโดและนำมาใช้ (เวลาคอเต็บอ่านคุตบะห์จะได้เข้าใจ) ปีที่ผ่านทางมหาวิทยาลัยของเราได้ส่งนักศึกษาไปเรียนภาษาอินโด (เป็นทุนของรัฐบาลหลายคนพอสมควร) นอกจากนั้นได้ส่ง นศ. ทุนปริญญาโทอีก 6 คน (อินโดรับเรียบร้อยแล้วบวกกำลังเรียนด้วยนะ) ปีนี้เราเปิดรับนักศึกษาที่สนใจจะเรียนภาษาอินโดได้อีก ยี่สิบกว่าคน และปริญญาโทอีกยี่สิบกว่าคน (อินซาอัลลอฮปีนี้เด็กเราก็จะได้ไปรู้จักอินโดมากกว่าปีที่แล้ว) รวมกันแล้วทั้งเรียนภาษาและต่อโทจำนวน สี่สิบกว่าคน

เวลารับสมัครได้ปิดแล้วครับ......สำหรับใครที่ยังไม่ได้ส่ง......รอปีหน้าก็แล้วกัน

อีกอย่าง ตอนนี้คนที่เป็นเลขาฯ ของชมรมศิทย์เก่าอินโดก็อยู่ที่มหาลัยของเรา

Abang kita sekarang pintar sekali, maju terus abangku dan jaya terus bahasa Melayu.

Selamat orang Thailand saya belajar di Indonesia, Bahasa malayu mirip bahasa Indonesia sangat saya sekarang sedang pusing dan bingung

สวนภาษาชวานั้น ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ครับ จะได้ ทำวิจัย ออกมาสักเล่ม Aku orang Thailand yang suka bahasa semua dunia

นาง พรชัย หนุงหนิง นุ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท