ทัศนะที่ดีของคุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ


คุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ

คุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ
          ในโลกแห่งปัจจุบัน  ไม่อาจปฏิเสธเลยได้ว่ามนุษย์ได้เลือกสรรลักษณะของเทคโนโลยีเพื่อนำมาเพื่อสร้างประสิทธิผลของการทำงาน  ให้บรรลุได้เกิดคุณภาพตามความคาดหวังในภารกิจที่กำหนดไว้  คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและเป็นการยอมรับที่เป็นค่ามาตรฐาน  ซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงทัศนะจาผู้ที่ได้ใช้และศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสารสนเทศ  อันมีทัศนที่น่าสนใจ ดังนี้
         ทองอินทร์ วงศ์โสธร (อ้างถึงใน วาสนา จุฑานันท์, 2540) กล่าวว่า สารสนเทศ
ที่ดีมีลักษณะดังนี้
1) ความทันเวลา หมายถึง สารสนเทศทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
2) ความถูกต้อง หมายถึง สารสนเทศจะต้องไม่ผิดพลาด เชื่อถือได้
3) ความสัมพันธ์ต่อปัญหา หมายถึง สารสนเทศจะสัมพันธ์ต่อปัญหา หรือเรื่องที่ตัดสินใจ
4) ความครบถ้วน หมายถึง การมีสารสนเทศครบถ้วนในเรื่องที่จะแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ
5) ความเที่ยงตรง หมายถึง สารสนเทศจะต้องมีความเที่ยงตรงชัดเจน
         จีราภรณ์ รักษาแก้ว (2538 : 62-63) กล่าวว่า สารสนเทศที่ดีต้องมีคุณสมบัติ
5 ประการ คือ
        1) ทันต่อเวลา หมายถึง สารสนเทศที่ต้องทันต่อเหตุการณ์ ไม่ล่าช้า หรือล้าสมัย
        2) ตรงต่อความต้องการ หมายถึง สารสนเทศที่ใช้ในการสื่อความหมายการรับรู้
และความเข้าใจให้เกิดกับผู้บริหารได้ถูกต้อง
        3) มีความถูกต้อง หมายถึงสารสนเทศต้องแสดงถึงคุณค่าและประโยชน์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ทันท่วงที
        4) มีความสมบูรณ์ หมายถึงสารสนเทศที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่กระจัด
กระจาย นำมารายงานเป็นสารสนเทศ
        5) มีความกระทัดรัด หมายถึง สารสนเทศที่ดี แสดงสาระสำคัญตามที่ผู้บริหาร
ต้องการเท่านั้น
         อำรุง จันทวานิช และคณะ (2529 :17-21) กล่าวว่า สารสนเทศควรมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ
        1) ทันต่อเวลา สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้ประโยชน์ กล่าวคือ ต้องไม่ช้าจน
ไม่สามารถบอกถึงสถานการณ์ หรือแนวโน้มในการเกิดเหตุการณ์ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องจัดทำรายการทุกครั้งที่เก็บข้อมูลมา ควรรวบรวมข้อมูลเป็นงวดๆ และทำรายงานประจำช่วงเวลาที่เหมาะสมของการจัดระบบสารสนเทศ การรายงานสารสนเทศเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาให้ดีในแต่ละองค์การ
        2) ตรงต่อความต้องการ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติในการสื่อความหมาย
ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น รายงานต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีค่าต่อการ
บริหารงาน แต่ปัจจุบันไม่สามารถเป็นสารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริหารแล้วก็ไม่ควรที่จะนำมาใช้อีกต่อไป
       3) ความถูกต้อง คุณสมบัติข้อนี้แสดงให้เห็นคุณค่า และประโยชน์ของสารสนเทศ
ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะแม้ว่าสารสนเทศจะตรงต่อเวลาและตรงต่อความต้องการ แต่ถ้าขาดความถูกต้องแล้วจะหาประโยชน์ไม่ได้เลย กลับจะนำไปสู่ความผิดพลาด และเกิดการเสียหายแก่องค์การได้ นอกจากคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีคุณสมบัติของสารสนเทศที่แอบแฝงอีกบางลักษณะที่สัมพันธ์กับสารสนเทศ และวิธีดำเนินงานของระบบสารสนเทศคุณสมบัติเหล่านี้จะมีความสำคัญแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะอย่าง ได้แก่
        1) ความละเอียดแม่นยำ ได้แก่ ความละเอียดแม่นยำในการวัดข้อมูลให้มีความ
เชื่อถือสูง เช่น ขนาดของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต้องการสั่งผลิต เป็นต้น
        2) คุณสมบัติเชิงปริมาณ ได้แก่ ความสามารถที่แสดงออกมาในรูปตัวเลข เช่น
เปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่นของข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
       3) ความยอมรับได้ ได้แก่ ความยอมรับได้ของกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศอย่างเดียวกัน
เช่น ลักษณะของแบบฟอร์ม รูปแบบของรายงาน
       4) การใช้ได้ง่าย ได้แก่ สามารถนำไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
       5) ความไม่ลำเอียง หมายถึง ไม่เป็นสารสนเทศที่มีจุดประสงค์ที่จะปกปิดข้อเท็จ
จริงบางอย่าง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง
      6) ชัดเจน หมายถึง การมีความคลุมเครือน้อยที่สุดสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
หมายเลขบันทึก: 340214เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท