หลักการบริหาร


หลักการบริหาร

หลักการบริหาร(ต่อ)

บาลานซด์สกอร์คาร์ด ( Balance Scorecard : BSC )
บาลานซด์สกอร์คาร์ด หรือ BSC คือแนวคิดด้านการจัดการที่องค์การธุรกิจในประเทศไทย ตลอดจนองค์การทางราชการของไทยได้นำมาประยุกต์ในการประเมินผลงานและกำลังแพร่หลายขึ้นในวงกว้าง
แนวคิดพื้นฐานของบาลานซด์สกอร์คาร์ด
กำหนดให้พิจารทั้ง 4 มุมมอง ( Perspective ) ได้แก่
1. มุมมองด้านการเงิน ( Financial perspective )
2. มุมมองด้านลูกค้า ( customer perspective )
3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน ( internal process perspective )
4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ( learning and growth perspective )







การเงิน




กระบวนการภายใน




ลูกค้า




การเรียนรู้และพัฒนา




วิสัยทัศน์และกลยุทธ์











( ว – วัตถุประสงค์ ต- ตัวชี้วัด ป- เป้าหมาย ผ- แผนงาน )


องค์ประกอบย่อยของแต่ละมุมมอง
ในแต่ละมุมมองควรพิจารณาองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และแผนงาน ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ ( Objective ) ที่สำคัญขององค์การ
§ วัตถุประสงค์ด้านการเงิน ได้แก่ รายได้เพิ่ม การลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เป็นต้น
§ วัตถุประสงค์ด้านลูกค้า ได้แก่ รักษาลูกค้าเดิม เพิ่มลูกค้าใหม่ การบริการที่รวดเร็ว ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น เป็นต้น
§ วัตถุประสงค์ด้านกระบวนการภายใน ได้แก่ กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ของเสียลดลง การดำเนินงานรวดเร็ว เป็นต้น
§ วัตถุประสงค์ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาทักษะของพนักงาน การรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ การมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีเป็นต้น
2. ตัวชี้วัด ( Key Performance Indicator หรือ KPI )
ตัวชี้วัดในแต่ละด้านจะเป็นเครื่องบอกว่าองค์การบรรลุวัตถุประสงค์เพียงใด
§ ตัวชี้วัดด้านการเงิน คือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ฯลฯ
§ ตัวชี้วัดด้านลูกค้า คือ จำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ฯลฯ
§ ตัวชี้วัดด้านกระบวนการภายใน คือ ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ฯลฯ
§ ตัวชี้วัดด้านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของพนักงาน คือ จำนวนชั่วโมงในการอบรมต่อคนต่อปี หรือความสามารถของพนักงานที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
3. เป้าหมาย ( Target )
กำหนดเป้าหมายในแต่ละมุมมองเป็นตัวเลขเพื่อจ่ายต่อการประเมินว่าบรรลุเป้าหมายเพียงใด เช่น
§ เป้าหมายด้านการเงิน คือรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี
§ เป้าหมายด้านลูกค้า คือ ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
§ เป้าหมายด้านกระบวนการภายใน คือปริมาณของเสียจากการผลิตต้องไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
§ เป้าหมายด้านการเรียนรู้และการพัฒนา คือจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมของพนักงาน 5 วันต่อคนต่อปี
4. แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ( Initiative ) ที่องค์การจะจัดทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมหลักยังไม่ต้องมีรายละเอียดเป็นเพียงความคิดที่จะนำองค์การไปสู่จุดหมาย

กระบวนการจัดทำบาลานซด์สกอร์คาร์ด
ในการจัดทำบาลานซด์สกอร์คาร์ด หรือ BSC ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
1. วิเคราะห์องค์การ โดยใช้การวิเคราะห์สวอต เพื่อให้ได้ทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจน
2. กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์การ
3. กำหนดมุมมองขององค์การ
4. จัดทำแผนที่กลยุทธ์
5. กลุ่มผู้บริหารระดับสูงต้องประชุมลงมติยืนยันและเห็นชอบในแผนกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น
6. จัดทำองค์ประกอบย่อยของแต่ละมุมมองให้ชัดเจน
7. สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกคนเพื่อนำไปปฏิบัติ

การจัดทำแผนที่กลยุทธ์
แผนที่กลยุทธ์ ( Strategy map ) จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลของวัตถุประสงค์ต่างๆภายใต้มุมมองของ BSC โดยองค์ประกอบย่อยของแต่ละมุมมองจะต้องสอดคล้องและสนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักขององค์การ ขั้นตอนการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ มีดังนี้
1. กำหนดมุมมอง
2. นำมุมมองที่กำหนดมาจัดเรียงโดยให้มุมมองที่สำคัญที่สุดอยู่บนสุดธุรกิจที่แสวงหากำไรจะจัดมุมมองด้านการเงินอยู่บนสุด ส่วนองค์การของรัฐซึ่งไม่แสวงหากำไรนิยมจัดลูกค้าไว้บนสุด
3. กำหนดกลยุทธ์ที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของแต่ละมุมมองบรรลุเป้าหมาย แต่ละมุมมองอาจมีหลายกลยุทธ์
4. เขียนลูกศรโยงกลยุทธ์จากล่างขึ้นบนโดยอาศัยเหตุและผล

ลักษณะของตัวชี้วัดที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์การ
2. แสดงถึงผลการดำเนินงานที่สำคัญขององค์การ
3. ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่เป็นเหตุและผล
4. ต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานรับผิดชอบตัวชี้วัดทุกตัว
5. สามารถวัดได้และเป็นที่เข้าใจของคนทั่วไป
6. ช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ดี
7. ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์การ

ในการประเมินบุคลากรอาจมีมุมมอง 4 มุมมอง ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
2. ความรู้ ความสามารถ
3. ความรับผิดชอบ
4. พฤติกรรม

ข้อควรระวังในการจัดทำบาลานซด์สกอร์คาร์ด
การจัดทำบาลานซด์สกอร์การ์ด มีข้อควรระวังและข้อคิดในการนำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
2. ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนรับรู้และให้การสนับสนุน
3. เมื่อเริ่มนำบาลานซด์สกอร์การ์ด มาใช้แล้วต้องรีบทำให้เห็นผลในระดับหนึ่งในระยะเวลาอันใกล้โดยเร็ว
4. ระวังอย่าให้ระบบบาลานซด์สกอร์คาร์ด เป็นเครื่องมือในการจับผิดหรือลดเงินเดือนพนักงาน
5. ต้องจัดทำอย่างต่อเนื่องตลอดไป ไม่มีกำหนดระยะเวลา
6. ตัวชี้วัดและเป้าหมายต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป
7. ในระหว่างการจัดทำมักจะพบกับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นการสื่อสารทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
8. การนำระบบบาลานซด์สกอร์คาร์ดไปผูกติดกับการจ่ายค่าตอบแทนไม่ควรเร่งรีบทำตั้งแต่เริ่มพัฒนาบาลานซด์สกอร์การ์ด ใหม่ๆควรให้นิ่งเสียงก่อน
9. ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องระลึกเสมอว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลาจนกว่าจะได้ผลเป็นการถาวร
10. การดูตัวอย่างขององค์การอื่นที่ทำบาลานซด์สกอร์การ์ดจะช่วยให้ผู้จัดทำใหม่ประหยัดเวลาในการจัดทำได้มาก

เบนซ์มาร์กกิง ( Benchmarking )
เบนซ์มาร์กกิง ( Benchmarking ) เป็นที่รูจักกันแพ่หลายอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1975 โดยบริษัทซีรอกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารที่มีชื่อเสียงนำมาใช้ปรับปรุงองค์การของตนที่สูญเสียตลาดไป โดยใช้บริษัทฟูจิซีรอกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นแม่แบบ ผลของการทำ เบนซ์มาร์กกิง ( Benchmarking )
ทำให้บริษัทซีรอกซ์กลับมาเป็นเจ้าตลาดเครื่องถ่ายเอกสารอีกครั้งในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันบริษัทชั้นนำในสหรัฐอเมริกา มากกว่าร้อยละ 65 ใช้เบนซ์มาร์กิงเป็านเครื่องมือปรับปรังองค์การ
ความจริงกระบวนการทำเบนซ์มาร์กกิง ( Benchmarking ) มีมานานแล้วในประเทศญี่ปุ่น เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 ระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ไปศึกษาดูงานระบบอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อนำมาปรับปรุงอุตสาหกรรมของตนและประสบความสำเร็จภายในทศวรรษเดียว นั้นก็คือผลจากการทำเบนซ์มาร์กกิงนั้นเอง

ความหมายของเบนซ์มาร์กกิง
เพื่อให้เข้าใจที่ชัดเจนควรจะทราบความหมายของคำ 3 คำต่อไปนี้ เพราะเกี่ยวข้องกันคือ Benchmark ,Benchmarking และ Best Practices
Benchmark หมายถึง Best-in-class คือผู้ที่เก่งที่สุด ดีที่สุด ผู้ที่เก่งที่สุดคือต้นแบบที่ผู้อื่นจะใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตน
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการเป็นแชมป์วิ่ง 100 เมตรชายระดับโลก สิ่งที่ต้องการทราบคือ ขณะนี้สถิติการแข่งวิ่งระดับโลกเป็นเท่าไร สมมติว่าสถิติระดับโลกเท่ากับ 9.00 นาที ดังนั้น Benchmark ของเราตอนนี้คือคู่แข่งที่ทำได้ 9.00 นาทีนั่นเอง
Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์การของตนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจ
Best Practices คือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ หรือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่ดีเลิศ

หลักสำคัญในการทำ เบนซ์มาร์กกิง ( Benchmarking ) คือการค้นหา Benchmark และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดคือ Best Practices นั่นเอง แล้วจึงศึกษาเปรียบเทียบและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้ตนเองดีกว่า

Benchmarking Benchmark Best Practices

เบนซ์มาร์กกิง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากผู้อื่น หรือการไปดูตัวเลขเปรียบเทียบกับผู้แข่ง แต่เบนซ์มาร์กกิง เป็นกระบวนการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากผู้อื่นซึ่งเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย เป็นระบบ และมีจุดประสงค์ไม่ใช่เพียงการลอกเลียนแบบ แต่เป็นการนำวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่เรียนรู้มาประยุกต์ให้เหมาะกับองค์การของตน

ขอบเขตของการทำเบนซ์มาร์กกิง
การทำเบนซ์มาร์กกิง นั้นสามารถทำได้ทุกระดับและทั่วทั้งองค์การ ทั้งระดับกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ เช่นใช้กับระบบการทำงาน ระบบ 5 ส. ขั้นตอนการรับส่งสินค้า การฝึกอบรม เป็นต้น

Input Process Output

Benchmarking



ประเภทของเบนซ์มาร์กกิง
1. การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการทำเบนซ์มาร์กกิง แบ่งได้ 4 ประเภท
1.1 เปรียบเทียบเฉพาะผลของการปฏิบัติงาน เช่น เปรียบเทียบผลกำไร ยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละของการเติบโต เป็นต้น
1.2 เปรียบเทียบกระบวนการทำงานหรือวิธีปฏิบัติงาน เช่น การรับคำสั่งซื้อ การจัดคิวผู้รับบริการ การฝึกอบรม เป็นต้น
1.3 เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้า เช่นรูปแบบของผลิตภัณฑ์การบริการ เป็นต้น
1.4 เปรียบเทียบด้านกลยุทธ์ขององค์การ
2. การแบ่งตามผู้ที่เราไปเปรียบเทียบ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 เปรียบเทียบภายในองค์การ เช่น ระหว่างฝ่าย ระหว่างทีมงาน เป็นต้น
2.2 เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
2.3 เปรียบเทียบกับผู้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2.4 เปรียบเทียบระหว่างธุรกิจต่างประเภท

รูปแบบการทำเบนซ์มาร์กกิจ
รูปแบบการทำเบนซ์มาร์กกิง มีหลายรูปแบบต่างๆกันมากกว่า 60 รูปแบบ แตะละรูปแบบมีขั้นตอนแตกต่างกันออกไป โดยอาจมีตั้งแต่ 4 – 33 ขั้นตอน แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ 10 ขั้นตอน ตามรูปแบบของบริษัทซีรอกซ์
สำหรับกระบวนการเบนซ์มาร์กกิงตามรูปแบบของบริษัทซีรอกซ์ มี 4 ขั้นตอนใหญ่ และ 10 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
1. การวางแผน( Planning )
2. การวิเคราะห์ (Analysis stage )
3. การบูรณาการ ( Integration stage )
4. การปฏิบัติ ( Action stage )

สรุปแล้ว เบนซ์มาร์กกิง เป็นแนวคิดในการปรับปรุงองค์การโดยใช้ตัวเทียบนั่นคือ เป็นการศึกษาดูว่าองค์การที่ประสบความสำเร็จที่สุดที่เลือกไว้เป็นตัวเทียบนั้นเขาทำอย่างไร แล้วนำวิธีการของเขามาปรับใช้ใจองค์การของตนเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือดีกว่าตัวเทียบนั้น ดังนั้นการศึกษาดูงานจึงเป็นส่วนหนึ่งของเบนซ์มาร์กกิงเท่านั้น





ซิกซ์ซิกมา
ซิกซ์ซิกมา ( Six Sigma ) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่มุ่งเน้นการลดความผิดพลาด – ลดความสูญเปล่า หรือลดปริมาณของเสีย โดยการนำเทคนิคทางสถิติมาวิเคราะห์ ซิกซ์ซิกมา เหมือนเกณฑ์การวัดเพื่อให้ทราบว่ากระบวนการบริหารที่ปฏิบัติกันอยู่ดีหรือไม่อย่างไร การบริหารแบบซิกซ์ซิกมาสามารถนำไปใช้ในการบริหารได้ทุกสาขาทั้งการบริหารด้านอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ แต่ที่นิยมใช้กันมากคือธุรกิจอุตสาหกรรม
Sigma ( s ) เป็นตัวอักษรกรีกที่นักสถิตินำมาใช้แทนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะบอกถึงปริมาณของความคลาดเคลื่อนไปจากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม
Six หรือเลข 6 หมายถึงระดับคะแนนของซิกมา โดย Six Sigma ( 6s ) เป็นระดับที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์แบบ เป็นระดับสูงสุดที่ต้องการบริหารไปให้ถึง นั่นคือให้มีข้อบกพร่องน้อยที่สุดเพียง 3.4 ครั้ง ในหนึ่งล้านครั้ง หรือมีความถูกต้องถึง 99.99%
บริษัทที่มีการบริหารอยู่ที่ระดับ 1 ซิกมา ( 1s ) หมายความว่า บริษัททำงาน 1 ล้านครั้งมีข้อผิดพลาดถึง 700,000 ครั้ง หรือทำถูกต้องเพียง 300,000 ครั้ง คิดเป็น ทำถูกต้องเพียง 30%
ข้อกำหนดระดับซิกมา ระดับความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ ข้อบกพร่องต่อล้านครั้ง
1s 30% 700,000 ครั้ง
2s 69% 300,000 ครั้ง
3s 93% 70,000 ครั้ง
4s 99% 6,000 ครั้ง
5s 99.9% 200 ครั้ง
6s 99.99% 3.4 ครั้ง

หลักการสำคัญของซิกซ์ซิกมา
หลักการสำคัญ คือ การลดความผิดพลาดหรือความสูญเปล่าในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำธุรกิจเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและบริษัทมีกำไรมากขึ้น โดยที่ในการทำโครงการซิกซ์ซิกมานั้นอาจเลือกทำปัญหาใดปัญหาหนึ่งหรือหลายๆปัญหาไปพร้อมกันก็ได้ แต่ละปัญหาเรียกว่า Six Sigma project

กระบวนการซิกซ์ซิกมา
กระบวนการดำเนินงานของซิกซ์ซิกมามี 5 ขั้นตอน รวมเป็นตัวย่อว่า DMAIC ซึ่งได้แก่
1. การค้นปัญหา ( Define ) เป็นการเลือกปัญหาที่เป็นตัวสร้างความเดือดร้อนมากที่สุด ปัญหาที่เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายมากที่สุด เป็นต้น
2. การวัด ( Measure ) เป็นการวัดความสามารถของกระบวนการบริหารที่เป็นปัญหา วัดว่าอะไรบ้างที่เป็นไปได้ จะรู้ถึงโอกาสการเกิดของเสียในกระบวนการหรือการปฏิบัติงานใดๆวัดขั้นตอนการทำงาน เวลา และเงินงบประมาณที่ใส่ลงไป เป็นการรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด
3. การวิเคราะห์ปัญหา ( Analysis ) เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวเลขเพื่อค้นหาว่ากระบวนการทำงานที่ใช้อยู่มีสภาพเป็นอย่างไร มีข้อบกพร่องผิดพลาดอย่างไร มีศักยภาพเพียงใด ทำไมจึงเกิดความผิดพลาดขึ้นถ้าจะแก้ไขจะทำอย่างไร
4. การปรับปรุงแก้ไข ( Improve ) เมื่อวิเคราะห์พบปัญหาหรือข้อบกพร่องอย่างไร สิ่งใดบ้างที่มีผลต่อคุณภาพ หรือ CTQ หรือจุดวิกฤตต่อคุณภาพ ก็ลงมือแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการปรับปรุงที่ CTQ ( Critical to Quality )
5. การควบคุม ( Control ) เป็นการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญๆเป็นการควบคุมกระบวนการหลังแก้ไขแล้วเพื่อรักษาระดับความสำเร็จไว้

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญจะทำให้โครงการซิกซ์ซิกมาประสบความสำเร็จคือผู้บริหารระดับสูง หรือ ซีอีโอ ( CEO : Chief Executive Office )
ซิกซ์ซิกมา เป็นแนวคิดในการปรับปรุงองค์การโดยเน้นการลดความสูญเปล่าหรือลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต โดยนำเทคนิคทางสถิติมาใช้วิเคราะห์ทุกขั้นตอน ในการวิเคราะห์ต้องแปรทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องออกมาเป้นตัวเลขทั้งหมด ในการวิเคราะห์ต้องแปรทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นตัวเลขทั้งหมด ยึดหลักว่า 1s ถือว่าถูกต้องเพียง 30% หมายถึงมีปริมาณของเสียมากที่สุด ถ้าบริหารจัดการได้ 6s หมายความว่าทำถูกต้อง 93%-99% หมายถึงมีปริมาณของเสียน้อยที่สุด เป็นระดับที่ต้องการ แนวคิดนี้นิยมใช้กันมากในธุรกิจอุตสาหกรรมเพราะเป็นการบริหารกระบวนการผลิตโดยตรง

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Results Based Management )
ระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Results Based Management ) หรือ RBM เป็นเครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ( New Public Management : NPM ) ซึ่งมีการนำมาใช้กับภาครัฐและภาคเอกชนในหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยได้นำมาทดลองใช้ในปี พ.ศ.2544 ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ. ) เป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้หน่วยงานราชการต่างๆนำระบบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในหน่วยงานราชการโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงหลังการปฏิรูปการบริหารราชการเป็นต้นมา และยังมีนโยบายที่จะนำมาใช้เป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ข้าราชการปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายและออกแบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับงาน
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือการบริหารที่มุ่งเน้นสัมฤทธิ์ผลขององค์การเป็นหลักในทุกๆด้าน การปฏิบัติงานขององค์การมีผลสัมฤทธิ์เพียงใด พิจารณาได้จากผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงตามเป้าหมายที่กำหนด

ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ผลลัพธ์

ผลผลิต ( Output ) หมายถึง งานหรือบริการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐส่งมอบให้ประชาชน ผลผลิตเป็นผลงานที่เกิดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ หรือเกิดจากกิจกรรมของส่วนราชการโดยตรง เช่น การสร้างถนนได้ 10 กิโลเมตร การทำบัตรประชาชนเป็นต้น
ผลลัพธ์ ( Outcome ) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากผลผลิตซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนผู้มารับบริการ เช่น ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง เป็นผลลัพธ์จากการสร้างถนน เป็นต้น


การรื้อปรับระบบ ( Reengineering )
คำว่า การรื้อปรับระบบ ได้ถูกนำมาใช้โดยนักคิดนักวิชาการกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความเห็นว่านั่นคือคำตอบที่จะบรรลุเป้าหมายสำหรับองค์การธุรกิจที่ต้องการปรับตัว การรื้อปรับระบบเป็นทฤษฎีใหม่ที่กลุ่มองค์การธุรกิจในสหรัฐอเมริกายืนยันว่าเป็นวิธีเดียวที่จะทะลุทะลวงไปในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์อันไร้พรหมแดนของการแข่งขันอย่างเสรีในปัจจุบัน แม้กระทั่งปีเตอร์ ดรักเกอร์ ซึ่งได้รับสมญานามว่า ศาสดาของการบริหารธุรกิจร่วมสมัย ยังกล่าวว่า การรื้อปรับระบบเป็นเรื่องใหม่และจำเป็นต้องทำ
ผู้มีหน้าที่ทำการรื้อปรับระบบ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรื้อปรับระบบของบริษัท ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายดังนี้

ผู้นำ เจ้าของกระบวนการ ทีมรื้อระบบ คณะกรรมการนโยบาย ผู้ประสานงาน

ผู้นำ
ผู้บริหารระดับสูงต้องตัดสินใจให้แน่ชัดว่าจะรื้อปรับระบบแล้วสั่งการและกระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะรื้อปรับระบบของตน ถ้าปราศจากผู้นำการรื้อปรับระบบที่แท้จริงก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้นำในที่นี้หมายถึงผู้นำในการรื้อปรับระบบ
เจ้าของกระบวนการ
ผู้นำจะต้องแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ทำหน้าที่ทำให้การรื้อปรับระบบเกิดขึ้น เจ้าของกระบวนการจึงควรจะเป็นบุคคลระดับผู้อำนวยการฝ่ายที่มีสายงานที่รับผิดชอบและมุ่งรื้อปรับระบบกระบวนการ ควรเป็นคนที่น่าเชื่อถือ มีบารมีเพียงพอและเป็นคนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ต้องไม่ลืมว่างานของเจ้าของกระบวนการไม่ใช่การรื้อปรับระบบแต่คือผู้ที่ทำให้การรื้อปรับระบบเกิดขึ้นและดำเนินไป ต้องจัดตั้งทีมรื้อปรับระบบขึ้นมาและผลักดันให้ทีมที่ตั้งขึ้นมานั้นทำงานได้
ทีมรื้อปรับระบบ
บุคคลในทีมนี้จะผลิตความคิดวางแผน และทำให้สิ่งที่คิดและวางแผนนั้นเกิดขึ้นจริง ควรประกอบด้วยทีมงาน 5 – 10 คน แต่ละทีมประกอบด้วยคน 2 ชนิดคือ คนในและคนนอก
คณะกรรมการนโยบาย
คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่วางกลยุทธ์การรื้อปรับระบบของทั้งองค์การ ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้นำควรเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ จัดลำดับก่อนหลังของโครงการรื้อปรับระบบที่เสนอเข้ามา จัดสรรทรัพยากรสำหรับการรื้อปรับระบบ
ผู้ประสานงาน
หน้าที่หลักของผู้ประสานงานมี 2 อย่าง คือการผลักดันและสนับสนุนเจ้าของกระบวนการรื้อปรับระบบและประสานกิจกรรมการรื้อปรับระบบทั้งหมด

ทฤษฎี Z
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงไม่นานนัก ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทุกๆปี และเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากจนกระทั่งกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกประเทศหนึ่ง แต่งในทางตรงกันข้ามประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกนั้นอัตราเพิ่มของผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมกลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำมาก นักธุรกิจอเมริกันได้ตระหนักในความจริงข้อนี้ จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาวิธีการต่างๆมาแก้ไขสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจต่างๆในสหรัฐอเมริกา
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างระบบบริหารธุรกิจแบบอเมริกันกับระบบการบริหารแบบญี่ปุ่น ซึ่งวิลเลี่ยม อูชิ ( William Ouchi ) เป็นผู้ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีเก่าสองทฤษฎีที่แมกเกรเกอร์ได้ตั้งขึ้น คือ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

กลุ่มควบคุมคุณภาพ
การบริหารงานทุกประเภท เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งคือการควบคุมคุณภาพของงาน ความพยายามที่จะควบคุมคุณภาพมีมาช้านานแล้ว และได้มีผู้เสนอแนะวิธีการต่างๆมากมาย ปัจจุบันแนวความคิดเรื่อง กลุ่มควบคุมคุณภาพ ( QCC Team ) หรือ Quality Control Circle หรือเรียกย่อๆว่า QC Circle เป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม กลุ่มควบคุมคุณภาพได้พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยปรับปรุงแนวความคิดของประเทศทางตะวันตกและได้มีการพัฒนากันอย่างจริงจังประมาณปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา จนกระทั่งนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น แล้วเริ่มเผยแพร่เข้ามายังประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2518 โดยบริษัทไทยบริดจ์สโตน จำกัด เป็นผู้นำเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก
กลุ่มควบคุมคุณภาพ หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการโดยคนกลุ่มน้อย ณ สถานประกอบการเดียวกัน รวมตัวกันด้วยความสมัครใจโดยผู้บังคับบัญชาระดับต้นเป็นแกนนำเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของงานด้วยตนเองอย่างมีอิสระ แต่ต้องไม่ขัดนโยบายของหน่วยงานและองค์การ
อุดมการณ์และจุดมุ่งหมาย
อุดมการณ์ของกลุ่มควบคุมคุณภาพ
1. ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาสถานประกอบการของตน
2. เคารพในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน
3. เปิดเผยความสามารถของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

จุดมุ่งหมายของกลุ่มควบคุมคุณภาพ
1. ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมคุณภาพของงาน
2. ต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาระดับต้นโดยให้พัฒนาตนเอง
3. สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการควบคุมและพัฒนาหน่วยงานของตน อันจะมีผลไปถึงการยกระดับขวัญและกำลังใจของพนักงานทุกคน
4. ให้พนักงานร่วมกันสร้างสรรค์สถานที่ทำงานของตนให้สดใสและมีความหมายต่อพนักงาน
5. เพื่อให้เป็นแกนกลางที่เป็นอิสระสำหรับช่วยเหลือในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานของตน

หลักการของกลุ่มควบคุมคุณภาพ
กลุ่มควบคุมคุณภาพเป็นกลุ่มขนาดเล็กในสายงานเดียวกันรวมตัวกันอย่างเป็นอิสระ เพื่อทำกิจกรรมในด้านการปรับปรุงงานและพัฒนาสถานประกอบการของตนทั้งนี้ โดยไม่มีใครบังคับและไม่ขัดต่อนโยบายของหน่วยงานและองค์การนั้นๆ
ดังนั้นกลุ่มคนเล็กๆนี้จะต้องปฏิบัติกิจกรรมโดยยึดถือหลักปฏิบัติ 4 ประการ ดังนี้
1. จะต้องไม่ขัดนโยบายของบริษัท
2. จะต้องทำกันได้เอง
3. จะต้องทำกันเป็นกลุ่ม
4. จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง
วิธีการก่อตั้งกุล่ม กลุ่มควบคุมคุณภาพควรเริ่มที่พนักงานระดับล่างสุดเป็นลำดับแรก

กิจกรรม 5 ส.
กิจกรรม 5 ส. คือหลักการพื้นฐานที่นำมาใช้ในการปรับปรุงสภาพการทำงานเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพของงาน อันเป็นพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น กิจกรรม 5 ส. เน้นการปฏิบัติโดยพนักงานระดับล่าง ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ประการ ดังนี้
ส.1 คือ สะสาง หรือเซริ ( Seiri ) หมายถึง การแยกสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากสิ่งที่ต้องการ เป็นการกำจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป การเก็บของที่ไม่ใช้ไว้ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ รกรุงรัง ของไม่ใช้ไม่มีค่าให้ทิ้งไป ของที่ไม่ใช้แต่มีค่าให้ขายหรือเก็บไว้ที่อื่นโดยมีย้ายออก สะสางสิ่งของในตู้ บนโต๊ะทำงาน ชั้นวางของลิ้นชักเก็บของ ฯลฯ
ส.2 คือสะดวก หรือเซตง ( Seiton ) หมายถึงการจัดของให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกและปลอดภัย ลดความเสียเวลาในการค้นหาเอกสารหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องการ หลักของความสะดวก คือ 1. วางของที่ใช้งานให้เป็นที่และมีป้ายบอก 2. เมื่อนำของออกไปใช้ให้เน้นการนำมาเก็บไว้ที่เดิม 3. ของใช้งานบ่อยให้วางไว้ใกล้ตัวเพื่อให้หยิบง่าย 4. ของที่ใช้ให้จัดเป็นหมวดหมู่
ประโยชน์ที่ได้จากการทำให้สะดวก
1. ลดการใช้เนื้อที่และอุปกรณ์ต่างๆ
2. ลดเวลาในการทำงาน
3. ลดความเสียหาย
4. ลดเวลาในการตรวจสอบ
5. สร้างสภาพที่ดี
6. ขจัดอุบัติเหตุ
ส.3 คือ สะอาด หรือเซโซ ( Seiso ) หมายถึงการทำความสะอาดในที่ต่างๆได้แก่ บนโต๊ะทำงาน ลิ้นชัก ตู้หรือชั้นวางของ พื้นห้อง มุมอับ ทางเดิน ผนัง ประตู เครื่องจักร ห้องน้ำ ฯลฯ ต้องทำความสะอาดให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอเพื่อง่ายต่อการดูแลรักษาและการทำความสะอาด สำหรับรอยแตกร้าว รั่วซึม ควรแก้ไขซ่อมแซมก่อนที่จะเสียหายมากกว่าเดิม หรือก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุ ที่ใดสกปรก รกรุงรัง และมีอุบัติเหตุบ่อยๆย่อมทำให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก งานล่าช้า สุขภาพจิตเสื่อมโทรม
ประโยชน์ของการทำกิจกรรม สะอาด
1. สภาพแวดล้อมที่ดีสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
2. ขจัดความสิ้นเปลืองทรัพยากร
3. ยึดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ
4. ลดอัตราของเสีย เพิ่มคุณภาพสินค้า
5. สุขภาพจิตดี

ส.4 คือสุขลักษณะ หรือ เซเกะสึ ( Seiletsu ) หมายถึงการทำกิจกรรมสะสาง สะดวก สะอาด อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และรักษาให้ตลอดไป การทำ ส.1 ส.2 และ ส.3 เป็นการขจัดต้นเหตุของมลพิษต่างๆในที่ทำงาน เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สดชื่น พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี ทำให้งานมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เกิดสุขลักษณะที่ดีในสำนักงาน ในโรงงาน ส่งผลให้สุขภาพของพนักงานแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ สถานที่ทำงานยังสะอาด สวยงาม อวดผู้อื่นได้อีกด้วย
ส.5 คือสร้างนิสัย หรือ ชิสึเกะ ( Shitsuke ) หมายถึงทำเรื่องทั้งหมดตั้งแต่ ส.1 ถึง ส.4 ให้เป็นนิสัย เมื่อทำกิจกรรม ส.1 ส.2 ส.3 และ ส.4 อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัยจะเกิดความเคยชิน กลายเป็นการมีระเบียบวินัยด้วยตนเองไม่ต้องมีใครบังคับควบคุม สามารถปฏิบัติได้ด้วยความพอใจและเป็นสุข
วิธีการสร้างนิสัย มีดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานและระเบียบตามวิธีของ ส. ที่ทำสำเร็จมาแล้ว
2. กำหนดวันปฏิบัติ 5 ส. เป็นระยะๆโดยประกาศให้ทุกคนทราบและร่วมกันปฏิบัติ เช่น ทุกบ่ายวันศุกร์เว้นศุกร์ เป็นต้น
3. กระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบที่กำหนด
4. มีคณะกรรมการ 5 ส คอยตรวจสอบและประเมินผล
5. ผู้บังคับบัญชาต้องทำก่อนให้เป็นตัวอย่าง

การดำเนินการทำกิจกรรม 5 ส. ควรทำสิ่งต่างๆดังนี้
1. ประชุมกำหนดนโยบายและวางแผนพร้อมกัน
2. ให้ความรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน
3. จัดตั้งคณะกรรมการ 5 ส. ขึ้นดำเนินการเป็นแกนนำ
4. แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบให้พนักงานดูแลเป็นกลุ่มๆ
5. ถ่ายรูปก่อน – หลังลงมือทำ 5 ส. ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
6. กำหนดกิจกรรมเรียงตามลำดับของแต่ละ ส.
7. กำหนดมาตรฐานของแต่ละกิจกรรม
8. ทำร่วมกันโดยสร้างกิจกรรมเป็นกลุ่มๆ
9. ประเมินผลตรวจสอบโดยคณะกรรมการ 5 ส เป็นระยะ
10. ปรับปรุงให้ดีขึ้นและกำหนดเป็นมาตรฐาน




การบริหารเวลา
การบริหารเวลาเป็นเทคนิคและวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญมากขึ้นในภาวะที่สังคมเจริญก้าวหน้าทางวัตถุจนถึงจุดสูงสุด มีการแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบันต้องเร่งรีบ ทำให้ผู้คนมีเวลาปฏิบัติภารกิจต่างๆอย่างจำกัด ความสำคัญของเวลา จึงได้รับความสนใจมากขึ้น
ความสำคัญของเวลา
เวลาที่ผ่านหรือล่วงเลยไปเป็นนาที ชั่วโมง วันและปี ในตัวของมันเองไม่ได้มีความหมายแต่ประการใด เพราะเวลาไม่ต้องใช้เงินซื้อหามาแต่อย่างใด ทุกคนต่างมีเวลาอยู่เท่าๆกัน วันละ 24 ชั่วโมง แต่การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากน้อยแก่ตัวเอง ครอบครัว และสังคมต่างหากที่แตกต่างกัน ความสำคัญของเวลาจึงอยู่ที่ภารกิจที่จะทำได้สำเร็จภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด แทนที่จะปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างเลื่อนลอย

การจัดกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
เป้าหมายที่กำหนดขึ้นจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อมีการทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือไปในแนวทางเดียวกัน เช่น เป้าหมายคือการลดน้ำหนักตัวลง 10 กิโลกรัม กิจกรรมที่จะต้องทำคือรับประทานอาหารให้น้อยลง เลิกรับประทานจุบจิบ ออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
การจัดลำดับกิจกรรม ควรจัดกิจกรรมที่สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาอันสั้นหรือที่มีความสำคัญสูงไว้ในอันดับต้นๆ ถ้าเป็นกิจกรรมใหญ่ที่ต้องใช้เวลาและความพยายามสูงควรแบ่งออกเป็นขั้นตอนเล็กๆและเริ่มทำส่วนที่ง่ายที่สุดก่อนหรือส่วนที่ให้คุณค่าสูงก่อน

เทคนิคการบริหารเวลา
1. การใช้เวลาที่ต้องสูญเปล่าไปให้เกิดประโยชน์
2. การมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำ
3. การป้องกันการถูกขัดจังหวะ
4. การรู้จักปฏิเสธ
5. การเตือนความจำ
6. การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง
7. การขจัดความรกรุงรัง
8. การเปลี่ยนบรรยากาศที่น่าเบื่อหน่าย
9. การแก้การผัดวันประกันพรุ่ง



ไคเซ็น ( Kaizen )
ไคเซ็นเป็นวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น หมายถึงการปรับปรุงทุกๆด้านของการดำรงชีวิต ชีวิตในการทำงาน ชีวิตในสังคม ชีวิตภายในบ้านจะได้รับการ

คำสำคัญ (Tags): #หลักการบริหาร
หมายเลขบันทึก: 338248เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โครงการห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันนี้เพิ่มเติมความรู้จ้า คำว่า SP : Stimulus Package SP1 โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ SP2 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง วันนี้จะเสนอโครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายจุรินทร์ ลัษณะวิศิษฏ์ ) ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดของสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนได้อย่างสมบูรณ์ โดยได้กำหนดแนวทางให้เป็น “ห้องสมุด 3 ดี” ที่เน้นการพัฒนาใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดีและสื่อการเรียนรู้ดี บรรยากาศและสถานที่ดี และบรรณารักษ์และกิจกรรมดี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อยกระดับคุณภาพห้องสมุดในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรง

2. เพื่อจัดให้มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับนักเรียน ครู ผู้บริหาร และคนในชุมชน

3. เพื่อพัฒนาและจัดให้มีครูบรรณารักษ์ หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ในโรงเรียนทุกโรง

แนวคิดหลักในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ยึดหลัก 3 ดี ได้แก่

1. กลุ่มหนังสือและสื่อการเรียนรู้ดี คือ ทุกห้องสมุดต้องมีจำนวนหนังสือ อย่างน้อย 5 เล่ม ต่อ นักเรียน 1 คน กลุ่มหนังสือที่ห้องสมุดต้องมี ได้แก่

1.1 กลุ่มหนังสือส่งเสริมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ครู

1.2 กลุ่มหนังสืออ้างอิง เช่น หนังสือพระราชนิพนธ์ สารานุกรม พจนานุกรม ฯลฯ

1.3 กลุ่มหนังสือดีที่ควรอ่านหรือหนังสือแนะนำ เช่นหนังสือที่ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น หนังสือที่ผ่านการคัดเลือกจากองค์กร/หน่วยงานต่างๆทั้งในรูปของวรรณกรรม เช่นนิทาน การ์ตูน สารคดี เรื่องสั้น หนังสือภาพ ฯลฯ

1.4 ของเล่นเด็ก สร้างสรรค์ เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อภาพ ( จิ๊กซอว์ ) รูปทรงเรขาคณิต โลโก้ ตุ๊กตาคน – สัตว์ ดินน้ำมัน วาดภาพ – ระบายสี เกมส์ ฯลฯ

2. บรรยากาศและสถานที่ดี คือทุกโรงเรียนต้องมีห้องสมุดอย่างน้อยขนาด 1 ห้องเรียนขึ้นไป มีการจัดมุมหรือองค์ประกอบแบ่งเป็น ส่วนที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิง ส่วนอ่านเพื่อการพักผ่อน หรือดูหนัง ฟังเพลง ส่วนการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่าย ฯลฯ

3. ครูบรรณารักษ์และกิจกรรมดี คือทุกโรงเรียนต้องมีครูบรรณารักษ์หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ อย่างน้อย 1 คน สำหรับการให้บริการอย่างน้อยต้องให้บริการได้ในช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าห้องเรียน พักกลางวัน และหลักเลิกเรียน และมีการจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงเรียนที่ยังไม่มีห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้มีห้องสมุดที่มีความพร้อมทั้งด้านหนังสือ สื่อการเรียนรู้ สื่อ ICT ที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน

2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงเรียนที่มีห้องสมุดจะได้รับการปรับปรุงให้ให้มีคุณภาพทันสมัยทั้งด้านอาคารสถานที่และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้

3. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงที่มีห้องสมุดระดับมาตรฐานได้รับการพัฒนาเป็นห้องสมุดสมัยใหม่

4. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงมีครูบรรณารักษ์ หรือผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่มีคุณภาพ สามารถบริหารจัดการห้องสมุดแนวใหม่และมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

5. มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เห็นความสำคัญของห้องสมุดและการส่งเสริมการอ่าน เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

ได้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกโรง จำนวน 31,821 โรง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล จำนวน 3,173 โรง

1.1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล จำนวน 673 โรง

- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 370 โรง

- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 273 โรง

- โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 30 โรง

1.2 โรงเรียนในฝัน จำนวน 2,500 โรง

- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 จำนวน 921 โรง

- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2 จำนวน 865 โรง

- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3 จำนวน 714 โรง

กลุ่มที่ 2 โรงเรียนขนาดเล็กสู่ศูนย์การเรียนรู้คุณภาพ จำนวน 10,529 โรง

2.1 โรงเรียนที่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 4,000 โรง

2.2 โรงเรียนที่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 3,000 โรง

2.3 โรงเรียนที่ไม่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 3,529 โรง

กลุ่มที่ 3 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ/โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 93 โรง

กลุ่มที่ 4 โรงเรียนยกระดับคุณภาพห้องสมุด จำนวน 18,026 โรง

4.1 โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 3,386 โรง

4.2 โรงเรียนอื่นๆ จำนวน 14,440 โรง

4.3 โรงเรียนอื่นๆ จำนวน 200 โรง

การจัดสรรงบประมาณ

1. หนังสือดีและสื่อการเรียนรู้ดี จำนวน 1,498,120,000 บาท

2. บรรยากาศและสถานที่ดี จำนวน 1,546,634,500 บาท**

3. บรรณารักษ์และกิจกรรมดี จำนวน 32,000,000 บาท

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 11:31 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

การจัดการความรู้

ไม่ได้เข้าบล๊อกมานานเลย.....เนื่องจากไปอบรมนะขอรับ( สารพัดเหตุผลที่จะบอก)..อีกอย่างหนึ่งก็คือว่าช่วงนี้ใกล้สิ้นปีงบประมาณแล้วต้องตรวจสอบการเงิน พัสดุให้เรียบร้อยก่อนนะ.....ส่วน SP2 ก็กำลังมาอีก....พูดถึงแต่ SP2 ,CL มันแปลว่าหยังน้อพี่น้อง.......ข้อสอบนะจะบอกให้ เอาล่ะมาร่วมการจัดการความรู้กันเลยก็แล้วกันเน๊อะ

การจัดการความรู้ ( Knowledge Management )

ความรู้เกิดจากสมองของมนุษย์ได้มีการพัฒนาการมาตั้งแต่เด็กเล็กๆโดยเฉพาะเด็กทีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ จะเป็นวัยที่มีการพัฒนาการทางสมองมากที่สุด

ความรู้ คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆลำดับชั้นความรู้ดังนี้

ข้อมูล( Data )-------สารสนเทศ ( Information)---------ความรู้( Knowledge )--------ปัญญา ( Wisdom )

การทำหน้าที่ของสมอง

ซีกซ้าย ทำหน้าที่ ช่วยในการใช้ภาษาพูด การคิดวิเคราะห์ การจัดลำดับก่อนหลัง การเรียนรู้ภาษาและคณิตศาสตร์

ซีกขวา ทำหน้าที่ ช่วยเรื่องภาษา ท่าทาง จินตนาการ ไหวพริบ ความคิดริเริ่ม

ประเภทของความรู้

1. ความรู้ฝังลึก ( Tacit Knowledge ) ความรู้แบบนามธรรม เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ การคิดวิเคราะห์

2. ความรู้ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) ความรู้แบบรูปธรรม เป็นความรู้ที่รวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆเช่นการบันทึก หนังสือ

การจัดการความรู้กับ โมเดลปลาทู

โมเดลปลาทู เป็นโมเดลอย่างง่ายของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ ( สคส.) ที่เปรียบเทียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทู ตัวหนึ่งที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1. ส่วนหัวปลา ( Knowledge Vision—KV ) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะจัดการความรู้ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าเราจะทำ KM เพื่ออะไร

2. ส่วนตัวปลา ( Knowledge Sharing—KS ) หมายถึงส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งจะถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลและองค์กร

3. ส่วนหางปลา ( Knowledge Assets—KA ) หมายถึงส่วนของคลังความรู้ หรือขุมความรู้ที่อาจเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ

เป้าหมายของการจัดการความรู้

1. พัฒนางาน

2. พัฒนาคน

3. พัฒนาฐานความรู้องค์กรหรือหน่วยงาน

การคิดแบบหมวก 6 ใบ

Edward de Bono ได้ทำการคิดค้นเทคนิคการคิด six thinking hats ขึ้นมาเพื่อเป็นระบบความคิดที่ทำให้ผู้เรียนมีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน

1. หมวกสีขาว ใช้คำถามกระตุ้นให้เสนอข้อมูลที่เป็นจริง ข้อเท็จจริง

2. หมวกสีแดง ใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการอธิบายความรู้สึกต่อข้อมูล เรื่องราว เหตุการณ์

3. หมวกสีเหลือง ใช้คำถามกระตุ้นให้ค้นหาข้อดี จุดเด่น ของข้อมูล เรื่องราวเหตุการณ์

4. หมวกสีดำ ใช้คำถามที่ระบุสาเหตุของปัญหา ความไม่สมบูรณ์ ความล้มเหลว

5. หมวกสีเขียว ใช้คำถามที่เสนอแนะวิธีการแก้ไข การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ทางเลือกใหม่

6. หมวกสีฟ้า ใช้คำถามเพื่อการตัดสินใจหรือสรุปข้อมูล เช่นข้อคิด ความรู้ทีได้รับ

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Based Management : SBM )

ที่มาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เกิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 มาตรา 39 กำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ด้านวิชาการ งบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป

รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก

2. รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก

3. รูปแบบที่มีชุมชนเป็นหลัก โรงเรียนสังกัด สพฐ. ใช้รูปแบบนี้

4. รูปแบบที่มีครูและชุมชนเป็นหลัก

หลักของการบริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

1. หลักการกระจายอำนาจ สำคัญที่สุด

2. หลักการบริหารตนเอง

3. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. หลักการพัฒนาทั้งระบบ

5. หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

6. หลัการสร้างแรงจูงใจ

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ เดี๋ยวคราวหน้าจะมาบอก เกี่ยวกับ SP2 จ้า

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 10:05 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ห้องเรียนคุณภาพ

วันนี้เรามาศึกษาเกี่ยวกับห้องเรียนคุณภาพ กันนะขอรับ................เผื่อว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในการสอบเกี่ยวกับพลวัตร

ห้องเรียนคุณภาพ

องค์ประกอบของห้องเรียนคุณภาพประกอบด้วย

ครู

1. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ( BWD )

3. การใช้ ICT เพื่อการสอนและการสนับสนุนการสอน

4. การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )

5. สร้างวินัยเชิงบวก ( Positive Discipline

ผู้บริหารสถานศึกษา

1. ผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. หลักสูตร

3. ICT โรงเรียน

4. การวางแผนพัฒนาตนเอง( ID Plan)

5. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ในระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการคือ

1. Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ

2. Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้๔ที่มีประสิทธิภาพ

3. Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

4. Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างวินัยเชิงบวก

การสร้างวินัยเชิงบวก คือ การปฏิบัติต่อเด็กในฐานะผู้ที่กำลังเรียนรู้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงและเคารพในศักดิ์ศรีเป็นแนวทางในการสอนที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จให้ความรู้แก่เด็ก และสนับสนุนการเติบโต

สรุปได้ว่าการสร้างวินัยเชิงบวก คือต้อง ปราศจากความรุนแรง มุ่งที่การแก้ปัญหา เคารพในศักดิ์ศรี และอยู่บนหลักของการพัฒนาเด็ก

หลัก 7 ประการของการสร้างวินัยเชิงบวก

1. เคารพศักดิ์ศรีของเด็ก

2. พยายามพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเอง และบุคลิกลักษณะที่ดี

3. พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด

4. คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก

5. คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก

6. พยายามให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติ

7. เสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม

ขั้นตอนของการสร้างวินัยเชิงบวก

1. มีการบรรยายถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ตอนนี้ครูขอให้ทุกคนเงียบก่อนนะ

2. มีการให้เหตุผลที่ชัดเจน เช่น เราจะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์บทใหม่แล้ว ทุกคนต้องตั้งใจฟังนะ ซึ่งหมายความว่าการเงียบโดยเร็วเป็นการเคารพสิทธิผู้อื่น เป็นตัวอย่างของการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา

3. ขอให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้ เช่น เธอเห็นรึยังว่าทำไมการเงียบก่อนเริ่มเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วคอยให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้และเห็นชอบด้วยก่อนทำอย่างอื่นต่อไป

4. มีการให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น โดยการสบตา พยักหน้า ยิ้มหรือให้เวลาพักเล่นอีกห้านาที การให้คะแนนเพิ่ม ( การได้รับการยอมรับและชื่นชมจากสังคมเป็นรางวัลที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง

การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )

CAR : Classroom Action Research

CAR มีขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ 4 ขั้นตอน

CAR1 : การวิเคราะห์ผู้เรียน

CAR2 : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง

CAR3 : การแก้ปัญหานักเรียน

CAR4 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และ ID Plan

การวางแผนพัฒนาตนเอง ( ID Plan )

ID Plan : Individual Development Plan

ID Plan ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ( ทั่วไป )

ส่วนที่ 2 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนที่ 3 การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะ

สมรรถนะ ( Competency ) แบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะ

1. สมรรถนะหลัก ได้แก่

1.1 การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

1.2 การบริการที่ดี

1.3 การพัฒนาตนเอง

1.4 การทำงานเป็นทีม

2. สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่

2.1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์

2.2 การสื่อสารและการจูงใจ

2.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

2.4 การมีวิสัยทัศน์

การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค BWD

การออกแบบ BWD มี 3 ขั้นตอน

1. ต้องการให้เด็กเกิดการเรียนรู้อะไร ( เป้าหมาย )

2. เด็กต้องแสดงความสามารถออกมาในลักษณะใด/มีชิ้นงานอะไร

3. จะมีวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร

ICT : Information Communication Technology

การสร้างเครือข่าย

เครือข่าย ( Network ) หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆโดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกันมากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา และกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยสามารถยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย

กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับอำเภอ

ภารกิจงาน

1. ส่งเสริมการพัฒนาครูปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ

2. ส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา

3. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างหลากหลาย

4. ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย

5. ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ การจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ส่งเสริมสนับสนุนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

7. พัฒนาระบบติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาปฐมวัย ให้มีความต่อเนื่องทั่วถึงและมีคุณภาพ

คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด

1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลจังหวัด

2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด

ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด

2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้เป็นกรรมการตามข้อ 3 ที่ได้รับคัดเลือกกันเอง 2 คน

3. กรรมการ

3.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์ต้นแบบปฐมวัย

3.2 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศูนย์ปฐมวัยประจำอำเภอ

3.3 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลในจังหวัด เขตละ 1 คน

3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลทุกเขต

4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลจังหวัด

คณะกรรมการฯมีหน้าที่

1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

3. กำกับ ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ

4. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ

5. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด

3. ที่ปรึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด ประกอบด้วย ผุ้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตในจังหวัด ไม่เกิน 10 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1. ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ และเชื่อมโยงนโยบายของ สพฐ. ต่อคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ

2. เสนอแนะการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

3. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายและร่วมประสานการดำเนินงานพัฒนางานวิชาการ

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา

1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลของประธานกรรมการ

2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่เกินอย่างละ 2 คน

2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก

2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก 2 คน

2.3 กรรมการ

2.3.1 ผอ.โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบทุกคน

2.3.2 ผอ.โรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอทุกอำเภอ

2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ปฐมวัย 1 คน

2.3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯของ สทท.

2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ

คณะกรรมการฯมีหน้าที่

1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่

ระดับอำเภอ

กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ

1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลอำเภอ

2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่เกินอย่างละ 2 คน

2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลต้นแบบ

2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก ไม่เกิน 2 คน

2.3 กรรมการ

2.3.1 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยประจำอำเภอ

2.3.2 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยทั่วไป

2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบพื้นที่นิเทศในอำเภอ

2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ

คณะกรรมการฯมีหน้าที่

1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับอำเภอ

กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด

คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด

ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมที่ได้รับเลือกตั้ง( จากผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนั้น สำหรับวาระแรกที่เริ่มจัดตั้งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการเพื่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบก่อนโดยไม่ต้องเลือกตั้ง )

2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้ง ( ไม่น้อยกว่า 2 คน )

3. กรรมการ

3.1 ผู้บริหารโรงเรียนตัวแทนโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดละ 1 คน จากทุกเขต โดยขนาดของโรงเรียนใช้ใช้เกณฑ์จำนวนนักเรียนเฉพาะชั้นประถมศึกษา ( ช่วงชั้นที่ 1 – 2 ) ในแต่ละโรงเรียนเป็นหลักการกำหนดขนาด กล่าวคือ นักเรียนประถมศึกษา 500 – 1,000 คน จัดเป็นขนาดกลาง ( กรณีที่จังหวัดนั้นมีโรงเรียนไม่ครบทุกขนาดให้อนุโลมพิจารณาจากโรงเรียนที่มีความเหมาะสมแทนขนาดที่ขาดและกรณีที่จังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทน โรงเรียนขนาดละ 2 คน )

3.2 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ทุกเขตและตัวแทนครูเขตละ 1 คน ( กรณีจังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทนครู 2 คน )

4. กรรมการและเลขานุการ

4.1 ผู้บริหารโรงเรียนที่ประธานเลือก กรรมการและเลขานุการ

4.2 รองผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

4.3 ศึกษานิเทศก์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

** กรรมการมีวาระคราวละ 2 ปีงบประมาณ ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระแต่งตั้งโดยท่านเลขาธิการ กพฐ.

คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................จังหวัด

ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก

2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนที่เป็นศูนย์ของเขตและไม่ได้อยู่ในเขตของประธานศูนย์ ( ถ้ามี 1 เขต ผอ.โรงเรียน 2 คน )

3. กรรมการ

3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน

3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระ เขตละ 3 คน

3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )

4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน

5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน

คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................เขตพื้นที่การศึกษา

ประกอบด้วย

1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก

2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนประถมศึกษาในเขต

3. กรรมการ

3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน

3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนในเขตฯที่มีความเหมาะสม

3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )

4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน

5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน

** คณะกรรมการศูนย์พัฒนา ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ + 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน + ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ + อื่นๆตามความเหมาะสมโดยประธานคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพประถมศึกษาจังหวัด

เป็นอย่างไรบ้างขอรับ อ่านแล้วพอจะเข้าใจบ้างใหม่น้า..........พบกันใหม่....

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 20:33 1 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

ศักดิ์ของกฎหมายและเศรษฐกิจพอเพียง

ครูสุโขทัย ขอนำความรอบรู้ทั่วไป...ให้ทุกท่านได้อ่านเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์เกี่ยวกับพลวัตรต่างๆจ้า...........

รัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง การใช้อำนาจของผู้ปกครอง การสืบต่ออำนาจ ขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

การบัญญัติกฎหมาย

กฎหมายคือ ข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม

พระราชบัญญัติ คือกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและอนุมัติ โดยรัฐสภาหรือองค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ และเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ถือว่ามีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์

พระราชกำหนด คือกฏหมายที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติ พระราชกำหนดก็คือกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี พระราชกำหนดจะออกได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ

พระราชกฤษฏีกา คือกฎหมายลำดับรองที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารทรงตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในทางพฤตินัย พระราชกฤษฏีกาก็คือกฎหมายแม่บทภายในขอบเขตที่กฏหมายแม่บทได้ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฏีกาจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาไม่ว่าก่อนหรือหลังการประกาศใช้

ศักดิ์ของกฎหมาย ( Hierarchy of Low ) โดยมีลำดับชั้นจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้คือ

1. รัฐธรรมนูญ

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด

3. พระราชกฤษฏีกา

4. กฎกระทรวง

5. ข้อบัญญัติหรือข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวพระราชดำริ

การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรทั่วไป โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา โดยมีโครงการต่างๆมากมาย

1. โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการซึ่งทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นส่วนพระองค์ ทรงศึกษา หารือกับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆทรงแสวงหาวิธีทดลอง ปฏิบัติ ทรงพัฒนาส่งเสริมและแก้ไขดัดแปลงวิธีการ ในช่วงระยะหนึ่งเพื่อพัฒนาดูแลผลผลิตทั้งในและนอกพระราชฐาน

2. โครงการหลวง เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาชาวไทยภูเขาให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากลำเค็ญได้ด้วยวิธีการปลูกพืชทดแทนฝิ่น และให้ละเลิกการตัดไม้ทำลายป่า มาสู่วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ที่ทำให้มีรายได้ยิ่งขึ้น

3. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง โครงการที่พระองค์ได้พระราชทานข้อแนะนำแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญาและกำลังแรงงาน พร้อมทั้งการติดตามผลงานให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชน

4. โครงการตามพระราชดำริ หมายถึงโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาลในแนวทางปัจจุบันเรียกว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy )

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ถึงระดับประเทศ โดยเน้นการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง

ความหมายของคำว่าพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3 ห่วง 2 เงื่อนไข

3 ห่วง

1. ความพอประมาณ ความพอดีที่ไม่น้อยและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

2. ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ

2 เงื่อนไข

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการที่เกี่ยวข้อง ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา

2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และความอดทนมีความเพียรใช้สติปัญญา

ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่

1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีงานหลักคือ ทำการค้นคว้าทดลองและสาธิตเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นค้นสภาพและใช้ทำมาหากินได้

2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี ทำการศึกษาพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการประมง

3. ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ทำการศึกษาการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการประมง

4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาและค้นคว้าวิจัยเรื่องป่าไม้เสื่อมโทรม และการพัฒนาพื้นที่ต้นนำลำธารเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมและการสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นผิวดิน

5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ทำการศึกษาวิจัยดินพร

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. การบังคับใช้

1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น

2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้

3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. การนับวันลา

1) ให้นับตามปีงบประมาณ

ข้อสอบ 2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ

- การลาป่วย ( ธรรมดา )

- การลากิจส่วนตัว

- การลาพักผ่อน

3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวัน

ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน

การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )

- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน

- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว

********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้

1. ลาป่วย

2. ลาคลอดบุตร

3. ลากิจส่วนตัว

4. ลาพักผ่อนประจำปี

5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์

6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล

7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย

8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ

9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ

การลาป่วย

ข้อสอบ ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

การลาคลอดบุตร

ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม

ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน

ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ

การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้

การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ

การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้

การลากิจส่วนตัว

การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี

การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )

ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน

- ในกรณีบรรจุครั้งแรก

- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว

- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง

ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ

รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการ

ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์

ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )

ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน

กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย

ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน

เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง

ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน

การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย

ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ

ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท

1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี

- ประเทศไทยเป็นสมาชิก

- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี

- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี

- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย

การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ

ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก

ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้

- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ

- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ

- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544

ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน

ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม

หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย

1. การลาบ่อยครั้ง

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง

**ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 11:26 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วิสัยทัศน์ ( vision )

สรุปเกี่ยวกับวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ ( Vision ) เป็นคำที่นิยมใช้เพื่อสื่อความหมายในลักษณะเดียวกับคำว่าจินตภาพ ญาณทรรศน์ และทัศนภาพ

( Vision ) มีคำนิยามตามพจนานุกรมว่า พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ

มีผู้ให้คำนิยามคำว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) แตกต่างกันออกไปหลายความหมายเช่น หมายถึง

การมองการณ์ไกล

การมองเห็นถึงขอบเขตลักษณะ

การมองเห็นแบบหยั่งรู้

การรู้จักมองไปข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อพิจารณาจากคำนิยามข้างต้น พอสรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ

องค์ประกอบของวิสัยทัศน์ 3 ประการ

1. ภารกิจ ( Mission ) คืองานที่หน่วยงาน องค์การ โรงเรียน วิทยาลัยหรือสถานศึกษารับผิดชอบอยู่เป็นหน้าที่หลักของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆในแก่นสำคัญ ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษาต้องการเป็นและต้องการให้มีขึ้น

2. สมรรถภาพที่เป็นจุดแข็งแกร่ง ( Capacity ) หรือเป็นจุดเด่นของสถานศึกษาที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จและมีข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขันหรือเชิงบริหาร ซึ่งก็หมายถึงสิ่งที่ทำให้สถานศึกษาทำได้ดีกว่าคนอื่น เป็นกิจกรรมหรือสมรรถนะเชิงการแข่งขันที่เหนือกว่า

3. ค่านิยม ( Value ) คือคุณค่า ความเชื่อ หรือปรัชญาของสถานศึกษา เป็นคุณค่าและความเชื่อกว้างๆว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการทำงาน ซึ่งจะถูกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการทำงาน

ระดับของวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ นำไปใช้ใน 4 ระดับ คือ

1. ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร

2. ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป

3. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร

4. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

การบริหารทั่วไป

วันนี้ ครูสุโขทัย เดินทางมาพบท่านอีกแล้วนะขอรับ โดยจะเสนอเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป ซึ่งวันนี้จะสรุปเกี่ยวกับงานสารบรรณ ก็หวังว่าทุกท่านที่อ่านจะเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ ก็เริ่มเลยละกัน

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ( ฉ.2 พ.ศ.2548 )

งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย

หนังสือราชการ มี 6 ชนิด

1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือที่ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือส่วนราชการถึงบุคคลภายนอก

2. หนังสือภายใน คือหนังสือ ที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

3. หนังสือประทับตรา คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งส่วนราชการกับส่วนราชการและส่วนราชการกับบุคคลภายนอก ( เฉพาะในกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ) เช่น

- การขอรายละเอียดเพิ่มเติม

- การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสารหรือบรรณสาร

- การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน

- การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ

- การเตือนเรื่องที่ค้าง

- เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้หนังสือประทับตรา

4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด

1. คำสั่ง คือบรรดาที่ข้อความที่ผู้บังคับบัญชา สั่งให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ

2. ระเบียบ คือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางเอาไว้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ

3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

5. หนังสือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ

2. แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจกรรมของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑ

3. ข่าว คือบรรดาที่ข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ

6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี ดังนี้

1. หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ

2. รายงานการประชุม คือบันทึกความคิดเห็นของผู้ประชุมผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ ( ผู้ที่สำคัญที่สุดคือเลขานุการ ,หัวใจสำคัญที่สุดคือระเบียบวาระการประชุม)

3. บันทึก คือข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

4. หนังสืออื่น คือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพและสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่นโฉนด แผนที่ แบบ ผนัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น

สื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายถึง สื่อใดๆที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ เช่น แผนบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นดิจิทัลเอนกประสงค์ เป็นต้น

พอแค่นี้ก่อนละกันนะเดี๋ยวค่อยมาว่ากันใหม่ .............

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 9:40 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

วันนี้ ครูสุโขทัย ขอเสนอเกี่ยวกับคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งได้ศึกษาคุณธรรมให้ลึกซึ่ง และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

ธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

หลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรม

คุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดี

ธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจ

จริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกาย

วัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา

ค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิต

มนุษยธรรม ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )

คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา - ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้

- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ

- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ

คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล

1. ความรอบคอบ 2. ความกล้าหาญ 3. การรู้จักประมาณ 4. ความยุติธรรม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1. การรักษาความสัตย์ 2. การรู้จักข่มใจตัวเอง 3. การอดทน อดกลั้นและอดออม

4. การรู้จักละวางความชั่ว

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ

1. การพึ่งตนเอง 2. การประหยัดและอดออม

3. การมีระเบียบวินัย 4. การปฏิบัติตามคุณธรรม

5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ทศพิธราชธรรม ธรรมของผู้ปกครอง

1. ทาน- การให้ 2. ศีล – การควบคุมกายวาจา

3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง

5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร

7. อักโกธะ- ไม่โกรธ 8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน

9. ขันติ – อดทน 10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม

พรหมวิหาร 4 คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่

1. เมตตา – รักใคร่ 2. กรุณา – สงสาร

3. มุทิตา – พลอยยินดี 4. อุเบกขา – วางเฉย

ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี

- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา

อิทธิบาท 4 คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ

1. ฉันทะ – พอใจ 2. วิริยะ – เพียร 3. จิตตะ-ฝักใฝ่ 4. วิมังสา – ตริตรอง

ประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ

สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน

1. ทาน – ให้ปัน 2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน

3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น 4. สมานัตตา – ไม่ถือตัว

ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น

ธรรมมีอุปการะมาก - สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย

- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ

1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ

2. อัตถัญญุตา รู้จักผล

3. อัตตัญญุตา รู้จักตน

4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ

5. กาลัญญุตา รู้จักกาล

6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน

7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)

ประโยชน์

ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงาย

ข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสม

ข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงาน

ข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์

อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ

1. ปัญญา - รอบรู้ 2. สัจจะ - ความจริงใจ

3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ 4. อุปสมะ – สงบใจ

ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์

หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก

หิริ – ละอายในการทำบาป

โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป

อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ

1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก 2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง

3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา 4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว

พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน

นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี

1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม 2. พยาบาท - ปองร้าย

3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา 4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน

5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย

มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล

1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ

3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ

5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ

7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ

เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง

1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น 2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด

3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา 4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล

5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด

อภิณหปัจจเวกขณ์ - ธรรมแห่งความไม่ประมาท

- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดี

สาราณิยธรรม - ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง

อปริหานิยธรรม - ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม

ฆราวาสธรรม - ธรรมของผู้ครองเรือน

1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน 2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน

3. ขันติ – อดทน 4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร

กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3

ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง

1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป 2. ปหานปธาน - เพียรละบาป

3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด 4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศล

บุญกิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ

1. ทานมัย – บริจาคทาน 2. ศีลมัย – รักษาศีล

3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา

ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท

1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )

2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )

3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )

4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )

5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )

6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )

โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย

1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข

2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์

อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ

1. ศรัทธา 2. ศีล 3. หิริ 4. โอตตัปปะ

5. พาหุสัจจะ 6. จาคะ 7. ปัญญา

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

สามัญลักษณะ ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง

1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง

2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์

3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน

จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ

1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร

2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ

3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน

ธรรมะกับหลักการบริหาร

1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม

2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง

3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น

1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน

2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม

3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผล

วัฒนธรรม ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรม

วัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง

1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ

2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล

3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ

4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาท

ประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา

อารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่น

จรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพ

จรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 12:53 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

วันนี้ครูสุโขทัย ได้ไปอ่านเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็เลยนำให้ทุกๆได้อ่านกันหวังว่าจะนำไปใช้ในการสอบได้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536

1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี

2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้

การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้

1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )

2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )

3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)

4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)

5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)

6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)

7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)

8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)

9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)

10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)

12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)

14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 9:15 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเลื่อนขั้นเงินเดือน

วันนี้ ครูสุโขทัย จะมาสรุปเกี่ยวกับการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนซึ่งจะนำไปใช้ในการสอบดังนี้

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544

ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน

ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม

หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย

1. การลาบ่อยครั้ง

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง

**ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********

2. มาทำงานสายเนื่องๆ

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน มาทำงานสายเกิน 8 ครั้ง

- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน มาทำงานสายเกิน 9 ครั้ง

*********ข้าราชการครูที่ลาบ่อยครั้ง / มาทำงานสายเนืองๆไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน************

การแบ่งกลุ่มพิจารณา

- กลุ่มข้าราชการในสถานศึกษา

- กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา

- กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน สพท.

- กลุ่มระดับ 9 ขึ้นไป ส่งไปให้กรมประเมินให้

การประเมินประสิทธิภาพ

- ผอ.โรงเรียนประเมินครูในโรงเรียน

- ผอ.เขต ประเมินผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน

- ผู้ประเมินและรับการประเมินตกลงร่วมกันในรายละเอียดการประเมิน

แบ่งการประเมิน ดังนี้

- ผลการประเมินดีเด่น ได้คะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 1 ขั้น

- ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับได้ ได้รับคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60-89% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 0.5 ขั้น

- ผลการประเมินต้องปรับปรุง ระดับคะแนนประเมินต่ำกว่า 60% ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือน

การตั้งคณะกรรมการพิจารณา

- คณะกรรมการส่วนกลาง

- ระดับ สพฐ.

- ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

- ระดับสถานศึกษา

- ผู้บริหารสถานศึกษา ประธานกรรมการ

- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการ(ถ้ามี)

- ผู้แทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1-4 คน กรรมการ

- ผู้แทนข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 1-4 คน กรรมการ

ประธานเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

บัญชีรายละเอียดเพื่อพิจารณาเงินเดือน มี 5 บัญชี ดังนี้

หมายเลข 1 บัญชีผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น ใช้เฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ 2 ( 1 ตุลาคม ) เท่านั้น

หมายเลข 2 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น

หมายเลข 3 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น

หมายเลข 4 ผู้ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน

หมายเลข 5 บัญชีแสดงการสำรองวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือน

วันนี้พอแค่นี้ก่อนสรุปได้แค่นี้ คงมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์ก็ส่งผลบุญมาให้บ้างละกันนะขอรับ บ๊ายบาย

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 10:22 2 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปเกี่ยวกับการลา(2)

วันนี้เรามาดูเกี่ยวกับรายละเอียดของการลาแต่ละประเภทก็แล้วกันนะขอรับ..........

การลาป่วย

ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

การลาคลอดบุตร

ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม

ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน

ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ

การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้

การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ

การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้

การลากิจส่วนตัว

การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี

การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )

ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน

- ในกรณีบรรจุครั้งแรก

- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว

- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง

ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ

รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการ

ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์

ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )

ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน

กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย

ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน

เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง

ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน

การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย

ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ

ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท

1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี

- ประเทศไทยเป็นสมาชิก

- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี

- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี

- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย

การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ

ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก

ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้

- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ

- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ

- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ

สำหรับวันนี้ครูสุโขทัย ก็ขออำลาก่อนนะฝนจะตกแล้วจ้า

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 12:47 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การบริหารงานบุคคล วันนี้ ครูสุโขทัย ได้สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับผู้ที่มีความสนใจนะขอรับ

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. การบังคับใช้

1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น

2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้

3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. การนับวันลา

1) ให้นับตามปีงบประมาณ

2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ

- การลาป่วย ( ธรรมดา )

- การลากิจส่วนตัว

- การลาพักผ่อน

3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวัน

ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน

การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )

- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน

- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว

********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้

1. ลาป่วย

2. ลาคลอดบุตร

3. ลากิจส่วนตัว

4. ลาพักผ่อนประจำปี

5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์

6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล

7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย

8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ

9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ

วันนี้พอแค่นี้ก่อนละกันเดี๋ยวค่อยมาอธิบายรายละเอียดต่อนะขอรับ

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 20:10 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนอัตรากำลัง หมายความว่า การกำหนดว่าหน่วยงานนั้นต้องการกำลังคน หรือตำแหน่งประเภทไหน จำนวนเท่าไร โดยคิดคำนวณคนให้พอดีกับการปฏิบัติงาน ในระบบราชการมักมีการวางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า คือเป็นรายปี หรือราย 3 ปี หรือ 9 ปี

การวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครู

1. ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องจำนวนและคุณภาพของข้าราชการครูในสถานศึกษา

2. ปัญหาในการวางแผนอัตรากำลังคน ขาดความรู้ทางหลักวิชา ขาดข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของรัฐไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง มีการนำผลประโยชน์ส่วนตัวมาใช้ในการวางแผน ขาดปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่น เงินวัสดุ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากำลังคน

3. วัตถุประสงค์

- สร้างต้นแบบการวางแผนอัตรากำลัง

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำต้นแบบการวางแผนกำลังคนไปใช้

4. แนวคิดในการวางแผนกำลังคน ยึดหลักการจำนวนกำลังคนที่ต้องการมากขึ้น จำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด – จำนวนคนที่มีอยู่จริง

กระบวนการวางแผนกำลังคนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้

1. กำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณ คุณภาพ

2. การคาดการณ์กำลังคนในอนาคต เช่น ความชำนาญงาน พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์

3. กำลังคนเพิ่มขึ้น

การกำหนดปริมาณงานในสถานศึกษา

1) ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา มีผู้อำนวยการสถานศึกษากับรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

2) ปริมาณงานด้านการสอน เกณฑ์ข้อมูล 10 มิถุนายนของทุกปี สถิตินักเรียนของสถานศึกษา จำนวนชั่วโมงงานสอนในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง

3) ปริมาณอื่น ชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น

เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครู

1.

เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูสายการสอนในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ( 20 : 1 )

รายการ

นักเรียน 20 คนลงมา 21-40 คน 41-60 คน 61-80 คน 81-100 คน 101-120 คน

ผู้สอน 1 2 3 4 5 6

กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป

ระดับก่อนประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 30 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )

50

ระดับประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 40 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )

50

ระดับมัธยมศึกษา = จำนวนห้องเรียน x 2

เงื่อนไข

- คิดจำนวนห้องเรียนแต่ละชั้น หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขั้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง

- การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์

2. เกณฑ์อัตรากำลังสายผู้บริหารสถานศึกษา

กรณีที่ 1 โรงเรียนมีนักเรียนต่ำกว่า 360 คน มีผู้บริหาร 1 คน

กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 360 คนขึ้นไป

จำนวนนักเรียน จำนวนผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น

ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

360-719 1 1 2

720-1,079 1 2 3

1,080-1,679 1 3 4

1,680 ขึ้นไป 1 4 5

เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 20:30 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบริหารงานบุคคล

ครูสุโขทัย : วันนี้ขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ผู้ที่เตรียมตัวสอบได้ศึกษาและทราบเกี่ยวกับหลักการบริหารงานบุคคล แต่ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรก่อนเป็นพิเศษก็แจ้งเข้ามาได้นะขอรับ

การบริหารงานบุคคล

การบริหารงานบุคคล หมายถึง วิธีการจัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในอันที่จะทำให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพหรือศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการดำเนินการหรือการจัดการเกี่ยวกับบุคคลในหน่วยงาน

ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล

การบริหารงานบุคคลนั้นจะประกอบขึ้นไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ อยู่ 2 ส่วน คือ คนและงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญคือ

1. คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน เนื่องจากคนเป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ

2. การทำงานจำเป็นจะต้องเลือกคนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะกับงานและรู้จักใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท