การยอมรับผิด กับความกล้า และความกลัว


การสอนจริยธรรมในเรื่อง "ผิดก็ควรยอมรับผิด" ให้เด็กนั้น   ครูต้องชัดก่อนว่า
อะไรจะนำไปสู่อะไรบ้าง  การแยกแยะประเด็น ไม่ใช่การตัดออกเป็นท่อนๆ 
แต่ต้องมองอย่างตลอดเป็นสายยา
ทีละมุม  ทีละมิติ 

การสอนให้เด็กกล้า  ครูต้องกล้าก่อน  กล้าที่จะไม่ปล่อย ไม่ละเลย
แต่คนกล้ามักเป็นเป้าหมายแรกของการโจมตี  คนโบราณจึงพูดติดปากว่า

"กล้าแกร่ง" เพราะถ้าไม่แกร่ง  คงตายเอาง่ายๆ
ในสังคมทั่วไป  คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือครู  จึงเลือกอยู่ข้างหลัง 
บ้างคอยให้กำลังใจ  คอยส่งเสริม  เพราะยังไม่แกร่งพอจะมายืนแถวหน้า
บ้างคอยตั้งคำถามอยู่ข้างหลัง  เพราะยังไม่แกร่งพอแม้แต่จะำกล้า "พูด" กันตรงๆ

เรากลัว เมื่อเราอ่อนแอ  อีกทั้งความไม่รู้ไม่เข้าใจก็เป็นสาเหตุของความกลัว
คนเรามีความกล้า ความกลัว ในสถานการณ์ไม่เหมือนกัน
ดังนั้นไหนๆ ก็อยู่ในสังคมเดียวกันก็ต้องหาทางช่วยกัน
ความกล้าหาญทางจริยธรรม นี้เราจะช่วยกันสร้างได้ด้วยอะไร 
จะใช่  ความรัก  การให้อภัย  เมตตา  สติ หรืออะไรบ้างก็ไม่รู้
อยากรู้ก็ต้องลองทำดู  แต่การลองต้องใช้เวลา  และกำลังปัญญา

ส่วนคนทำผิด  ย่อมกลัวผลที่จะตามมา 
ถ้าเราอยากให้เด็กยอมรับการกระทำของตนเอง
ต้องให้เขามองทะลุว่าเขาจะเจอกับอะไรบ้าง
ถ้ามองไม่ทะลุ  ความกล้าก็ไม่เกิด
สิ่งที่จะเกิดกับเด็กเมื่อเขายอมรับผิด  ไม่ใช่มีผลกับเขาแค่ที่โรงเรียน 
กล้บบ้านไปเด็กไม่รู้ว่าเขาจะเจอกับอะไร
ครูก็ไม่มีทางรู้  จึงไม่มีทางรับประกันได้ว่า
เขาจะเจอกับอะไรที่บ้านของเขาเอง

แต่ครูก็จะ "รอ" ให้เด็กยอมรับผิดเองก็ไม่ได้ 
โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนอื่นๆ
ซึ่งผู้เกี่ยวข้องอาจมีข้อสงสัยก็ได้   แต่ไม่มีสิทธิ์ตัดสินว่าใครถูกผิด

การมีกฎต่างๆ ก็เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
การใช้กฎเมื่อมีความเสียหาย  จึงต้องมีการพูดคุย  ชวนให้เล่าเรื่อง  ชวนทบทวนเหตุการณ์
ซึ่งต้องชวนเด็กมองจากหลายๆ มุม  ต้องให้โอกาสเด็กได้อธิบาย
และครูต้องทวนซ้ำอยู่เป็นระยะ  เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจตรงกัน

เรื่องอย่างนี้ต้องมองหลายมุม ทำให้อาจต้องมีครูหลายคน  และครูต้องรับฟังมากๆ
ในขั้นตอนของการทบทวนเหตุการณ์นี้
คนคิดลบก็ว่า "รุม"  "ใส่ร้าย" กันนี่หว่า
คนคิดบวกค่อยว่า "ช่วย" กันหาสังเกตและเก็บข้อมูล
การทำงานมวลชนเป็นเรื่องยาก 
คนที่บั่นทอนความกล้าแกร่งประเภทสุดท้าย  อาจเป็นพวกที่กลัวมากที่สุด
คือ รอให้เรื่องทุกอย่างจบก่อน  หรือปล่อยให้เรื่องราวดำเินินไปให้ถึงที่สุด
ค่อยออกมา "แสดง" บทบาท  หรือ "สอน"
อ.ฌาณเดช พ่วงจีน เคยกล่าวไว้ว่า
การได้สอนก็คือการได้ใช้ "อำนาจ" ในนามแห่ง "ความดี"
ที่หลายคนใช้เยียวยาความกลัวและอ่อนแอของตัวเอง

ถ้าเราเข้าใจ  ก็จะให้อภัยได้ง่ายๆ  ได้ของแถมเป็นกุศลบุญสะสมเอาไว้ใช้ต่อได้
ถ้าเราไม่เข้าใจ  โกรธเคืองไปก็มีแต่จะพอกกิเลสเอาไว้ในใจ ก็จะหนักใจตัวเองเปล่าๆ

เป็นการชวนคิดชวนคุย  แลกเปลี่ยนความเห็นกันนะคะ 
เอ...หรือกำลังใช้อำนาจในการ "สอน"
ด้วยการ "แสดงโวหาร"  ใครมองอย่างไรคะ
หมายเลขบันทึก: 338247เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สามสิ่งที่กล่าวถึงล้วนเกิดขึ้นกับทุกคนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงครับ

ต้องยอมรับว่าทุกอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ผิดพลาดกันได้ อภัยให้กันได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท