จิตตปัญญาเวชศึกษา 123: สอบสัมภาษณ์


สอบสัมภาษณ์

เดี๋ยวนี้การสื่อสารมีความสำคัญและมีนัยยะต่างๆมากมาย ทั้งช่วยให้คนเราเข้าอกเข้าใจกัน ทั้งช่วยให้ทะเลาะกัน ดูหมิ่นเหยียดหยามกันหรือทำให้รักกัน และผลตามจากการสื่อสารนั้นก็เกิดได้ทั้งพฤติกรรมของปัจเจก ของสมุหะ ผลระยะสั้นระยะยาว วันนี้จะขอเอาประเด็นใกล้ตัวในฐานะที่ทำงานเป็นครูและเป็นแพทย์ คือเรื่อง "สอบสัมภาษณ์"

สอบสัมภาษณ์ หรือ viva voce (รากศัพท์แปลว่า with living voice เป็นภาษาละติน หรือแปลอีกอย่างว่า by words of mouth แต่ในวงการวิชาการศึกษา viva voce คือ oral examination หรือการสอบสัมภาษณ์ เช่น การ defence thesis วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก) เป็นสองคำ คือ "สอบ" บวกกับ "สัมภาษณ์" คำว่าสัมภาษณ์เองก็น่าสนใจ ต้องขอยกวิสัชนาของผู้รู้มาขยาย คือหลวงพี่ชัยวุธ

สัมภาษณ์ มาจาก สํ+ ภาส

สํ เป็นอุปสัค แปลว่า พร้อม, กับ, ดี

ภาส เป็นรากศัพท์ แปลว่า พูด ....หรือบางครั้งก็แปลว่า ทำให้ สว่าง

ดังนั้น สัมภาษณ์ อาจแปลว่า พูดด้วยกัน นั่นคือ มีโอกาสพูดทั้งผู้ถามและผู้ถูกถาม..

อีกนัยหนึ่ง สัมภาษณ์ อาจแปลว่า คำพูดเพื่อ ให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งประดุจแสงสว่างที่กำจัดความมืดได้...

ความ เห็นส่วนตัว ครับ...

เจริญพร

หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "interview" คำว่า "inter-" เองก็มีนัยยะของสองฝ่าย ของการแลกเปลี่ยน ของการประนีประนอมออมชอมสอดประสานอยู่ในตัวเอง (แม้ว่าการสัมภาษณ์บางที่ จะกลายเป็น interrogation หรือการสอบสวนไต่สวนผู้ร้ายไปเสียฉิบ)

interview (n.) Look up   interview at Dictionary.com
1514, "face-to-face meeting, formal conference," from M.Fr. entrevue, verbal noun from s'entrevoir "to see each other, visit each other briefly, have a glimpse of," from entre- "between" (from L. inter-) + O.Fr. voir "to see" (from L. videre; see vision). Modern Fr. interview is from Eng. Journalistic sense is first attested 1869 in Amer.Eng.
"The 'interview,' as at present managed, is generally the joint product of some humbug of a hack politician and another humbug of a newspaper reporter." ["The Nation," Jan. 28, 1869]
The verb meaning "to have a personal meeting" is from 1548.

กระบวนการสัมภาษณ์ที่จริงก็เป็นการสนทนาพูดคุย แต่ถ้าเมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ที่มาของทั้งสองภาษา (หรือที่จริงจะ 4-5 ภาษาของที่มา) จะเห็น "เจตจำนง" ว่ามันไม่ใช่แค่การพูดคุยสนทนาเฉยๆ แต่เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำเพาะที่ชัดเจน หรือพอจะมองออกว่า "หลังสัมภาษณ์" จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับ "ทั้งสองฝ่าย" (หรือมากกว่านั้น ในกรณีมีมากกว่าสองฝ่าย)

และจากการที่เราเกิด "ความสว่าง" คือความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ก็จะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์ทุกฝ่าย ถ้าจะลึกซึ้งไปกว่านั้นก็คือรับรู้ถึงเสียงเพรียกจากหัวใจว่าอีกฝ่ายรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร และให้ความหมายกับเรื่องอะไรเป็นสำคัญ ทำให้เราชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเราน่าจะมีความสัมพันธ์เช่นไรต่อไปในอนาคต

และนี่เองที่เป็นที่มาว่าทำไมคนถึงเอา "สัมภาษณ์" ไปเชื่อมกับ "สอบสัมภาษณ์" ที่เราเจอตอนเรียนบ้าง ตอนสมัครงานบ้าง ตอนสอบบ้าง จากการทำเช่นนี้ "ผลข้างเคียง" ที่เกิดขึ้นและบางครั้ง ถ้าเราเผอเรอ side effect อันนี้อาจจะแซง "ผลหลัก" ของการสัมภาษณ์ได้ นั่นคือ "นัยยะแห่งการตัดสิน"

สาเหตุสำคัญที่เรา (อาจ) สามารถตัดสินได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่นเป็นเช่นไร ก็ต้อง "ต่อเมื่อเราเกิดความสว่าง เข้าใจ และสอดประสานสัมพันธ์" กับคนที่เราได้สัมภาษณ์ไปแล้วเท่านั้น การมีแค่กระบวนการสัมภาษณ์ แต่ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หรือกระบวนการมีแต่ไม่เอื้อให้เราบรรลุวัตถุประสงค์แต่แรกเริ่ม แล้วเรายังจะดันทุรัง "ตัดสิน" เพียงเพราะเราได้จัดกิจกรรมที่เราเรียกว่าสัมภาษณ์ ก็คงจะดูไม่เป็นเหตุเป็นผลที่ดีเท่าไร

เช่น การสอบสัมภาษณ์ defending thesis หรือวิทยานิพนธ์ เราก็จะถาม หรือขอให้ว่าที่บัณฑิตเล่า อธิบาย สาธก จนเราเกิดความพึงพอใจและเชื่อถือว่าคนๆนี้ได้มุ่งมั่นมานะพยายามและทำความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องนี้ จนไม่เพียงแค่ตนเองเกิดเข้าใจ แต่ยังสามารถถ่ายทอดให้คนอื่น (คือเรา) เข้าใจได้ด้วย สมฐานะมหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิตก็ว่าไป ถ้าสอบแล้วเราก็ไม่มั่นใจว่า เอ.. เราพอจะตัดสินได้ไหมว่าเขารู้หรือไม่รู้เรื่องกันแน่ ก็อย่าพึ่งด่วนสรุปไปเลย มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิด และด่วนตัดสินได้

การสอบสัมภาษณ์มีข้อดี และจุดแข็งเหนือกว่าการสอบแบบปรนัย หรือแม้กระทั่งการสอบ essay เขียนพรรณนา บรรยาย ก็ตรง communication และการเผชิญแบบ viva voce หรือ living voice นี่เอง ที่ความเป็นมนุษย์ถูกฉายออกมาได้เต็มที่ ความเสี่ยงก็คือ มันถูกฉายออกมาทั้งสองฝ่าย ทั้ง interviewer และ interviewee ซึ่งถ้ามีการเตรียมตัวทั้งสองฝ่ายให้ดี ก็จะเกิดผลลัพธ์น่าพึงพอใจ บรรลุตามที่ได้ตั้งใจไว้

ในการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกจะยิ่งท้าทายมากขึ้น เพราะตรงนี้ไม่เพียงแค่ relationship เท่านั้น เรายังต้องเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายที่พิเศษ จำเพาะมากยิ่งขึ้น การตัดสินต้องอิง parameters ที่เป็นเรื่องของคุณค่าด้่วย ไม่เพียงแค่ทักษะ หรือความรู้เฉยๆ เพราะทั้งทักษะและความรู้ในแง่ cross section การตัดสินเฉพาะกาล เฉพาะหน้า เราไม่ได้มองหา "ศักยภาพ" (คุณสมบัติอันน่าทึ่งของมนุษย์) แต่เรามองไปที่ปัจจุบัน หรือส่วนใหญ่ มองไปที่อดีตด้วยซ้ำไปของคนถูกสัมภาษณ์

ยกตัวอย่าง สัมภาษณ์สมัครงาน เราคงไม่ได้มองหาแค่คนที่เราทำงานด้วยแล้วมีความสุขเท่านั้น (แน่นอน เป็นเงื่อนไขที่ดีในการมองหาคนมาอยู่ด้วย) แต่ต้องมองหาความเหมาะเจาะเหมาะสมของคุณสมบัติกับงานที่จะทำด้วย ดังนั้นคนที่ฉายแวว stand-up comedian หรือตลกเดี่ยวไมโครโฟน อาจจะไม่เหมาะกับงานผู้พิพากษา คนที่ฉายแววศิลปินจัดๆ อาจจะทุกข์ถ้าต้องมาทำงานเอกสารจำเจปีละ 50 สัปดาห์

ยิ่งการสัมภาษณ์รับนักศึกษา ยิ่งท้าทาย เพราะโดยส่วนตัวผมคิดว่า สถาบันการศึกษานั้นมีหน้าที่ "ส่งเสริม สร้างเสริม เพ่ิมศักยภาพ" ไม่ใช่มีหน้าที่ตัดสิน ตีตรา จัดชนชั้นคน วัตถุประสงค์การสอบสัมภาษณ์เพื่อรับนักศึกษาที่สอดคล้องกับพันธกิจอันนี้ เรากำลังมองหา "ศักยภาพในการพัฒนา ในการเรียน" ของนักศึกษามิใช่หรือ?

แต่ที่ที่เราอาจจะกำลังทำอยู่ เราอาจจะใช้วัตถุประสงค์อีกแบบ คือมองหาว่า "ปัจจุบันนี้ ถ้าจะเอาเด็กคนนี้มาใช้งาน มาเป็นหมอ จะเหมาะหรือไม่" แทนที่จะเป็น "เด็กคนนี้ ในอนาคตอีก 6 ปี ถ้ามาอยู่กับเรา เขาจะเป็นหมอ เป็นบัณฑิตที่ดีหรือไม่?"

ในความสับสน (ของตัวผมเอง ไม่ใช่ใครอื่น) ก็คือ เดี่ยวนี้ สถาบันการศึกษามีการคัดเลือกเด็กที่มาเรียนหลากหลายวิธี และ aggressively recruit method ก็ดุเดือดมากขึ้น จนบางทีเราอาจจะมองเป็นว่า "เขากำลังหาเด็กเก่ง เรียนดี สอนง่าย" เข้าไปในสถาบันเพื่อผลลัพธ์การสอน การจัดการสอน จะได้ออกมาดีๆ ผลงานของสถาบันจะได้ดีๆ และเป็นวัตถุประสงค์ที่ Noble สูงส่งมากด้วยคือประชาชนจะได้มีบัณฑิตดีๆไว้รับใช้สังคม

ปัญหาก็คือ วิธีนี้มัน fair หรือยุติธรรมดีแล้วหรือไม่?

ตกลงการสอนเด็กที่เรียนที่ไหนก็สำเร็จ เพราะเขาเรียนดีอยู่แล้วมันเป็นผลงานของใครกันแน่? ของเด็ก ของสถาบัน? ความ "ท้าทาย" อยู่ที่ไหน

หรือที่สำคัญกว่านั้น แล้วเด็กที่ตอนนี้อาจจะยังไม่ SHINE เราไม่ได้รับเข้ามาเรียน จะไปอยู่ที่ไหน ศักยภาพเขาเป็นอย่างไร? เรากำลัง RANKING คนอยู่หรือไม่? ถ้าเรากำลัง ranking คนอยู่ เราเป็นสถาบันแบบไหน เป็นคนอย่างไร และกำลังทำอะไรกับสังคมที่เราอยู่?

นั่นเป็นแค่ "พลังขับดันเบื้องต้น" ของการสอบสัมภาษณ์เท่านั้นนะ ยังไม่ได้ลงไปถึง "วิธีการสอบสัมภาษณ์" เลย

เมื่อมีการตัดสิน ก็จะมีวิธีที่ได้มาซึ่งการตัดสิน อาทิ global verdict การตัดสินภาพรวม หรือการรวมคะแนน แจกแจงคะแนน ซึ่งง่ายกว่าเยอะ (และมีความเป็น "ปรนัย" สูงกว่า) เราก็เพียงแจกแจงคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของคนที่เราต้องการ ว่าต้องมีอะไรบ้าง แล้วก็ให้น้ำหนักแต่ละหมวด แล้วก็ตีกรอบ scale เอไว้ให้คะแนนแล้วเอาไปคูณกับน้ำหนักที่หลัง เช่น มีคะแนน 1-5 คะแนน ข้อนี้ให้นำ้หนัก x2 ใครได้ 2 คะแนนก็จะได้คะแนนจากข้อนี้ 2 x 2 = 4 เป็นต้น

ซึ่งอาจจะดี ถ้าเราไม่ได้กำลังตัดสินคน เพราะ "คุณภาพ" ของคนมันเป็นอิทัปปัจจยตา เป็นองค์รวม และมีความ "เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง" หรือ interconnectedness สูงมาก เราไม่สามารถจะแจกแจงเรื่องราวคุณค่าเป็น catogories แล้วประเมินแยกๆๆๆ ได้ เช่น ประเมินความกล้าที่หนึ่ง ประเมินคุณธรรมที่หนึ่ง ประเมินความรักที่หนึ่ง เพราะในขณะที่คำถามแบบหนึ่งเราอาจจะไม่กล้าทำ แต่เมื่อใส่บริบทความรักชาติลงไป จากเดิมไม่กล้าก็กลายเป็นกล้า เมื่อใส่บริบทคนที่เรารักเราห่วงใยเข้าไป จากเดิมไม่กล้าก็กลายเป็นกล้า สิ่งเหล่านี้ที่ออกมาเป็นพฤติกรรมแต่ละบริบท มันอาศัย "คุณภาพ" อันเป็นองค์รวมอย่างที่สุดของมนุษย์ การที่เราไป rubic scaling หรือแยกเป็นหมวดๆ เรากำลังหั่นซอย และ dehumanization ลดคุณภาพความเป็นมนุษย์ลงไปเรื่อยๆเพื่อความสะดวกในการตัดสินนั่นเอง

การสอบสัมภาษณ์คัดเลือก จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ ละเอียดลึกซึ้ง สะท้อนถึงคุณค่าขององค์กร ของคนสัมภาษณ์ ของสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญ และประการสำคัญที่สุด คือเป็นวาระที่เราแสดงความ empathy การรับรู้เรีื่องราวที่อาจจะผิดแผกแตกต่างจาก background ของเรา เราจะเสริมสร้างสังคมที่มีความ diversity เพื่อความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันที่สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงไร้ที่สุดของปัจจุบันและอนาคตนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเรา recruit คนที่แตกต่าง มีทักษะ มุมมอง ความชำนาญที่แตกต่างกัน มาเสริมสังคมที่มีคุณภาพ ซับซ้อนเพียงพอกับอนาคตขึ้นมาให้ได้นั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 337284เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การสัมภาษณืเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ที่พูดคุยกันเพียงครั้งแรก ซึ่งยังไม่สามารถตัดสินอีกฝ่ายที่ถูกสัมภาษณ์ได้ค่ะ

คงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คน

ระยะทาง พิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คนค่ะ

แวะมาเยี่ยมครับอาจารย์ แนะนำน้องดารินเพิ่งเขียน palliative care blog ครับhttp://gotoknow.org/blog/darinda

สวัสดีครับอาจารย์ นานมากแล้วที่ไม่ได้เข้ามาใน gotoknow เลย ช่วงนี้เหนื่อยมากทั้งงานและทั้งคน และสารพัดปัญหาที่เข้ามา เลยไม่ได้เข้ามาเลย วันนี้พอมีเวลาบ้างระหว่างรอรวบรวมคนไข้เพื่อให้ข้อมูลเรื่องวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จึงได้มีโอกาสมาเปิดดู หวังว่าอาจารย์คงสบายดีนะครับ และยังคงมีมุมมองที่น่าสนใจมาฝากพวกเราให้ได้อ่านเหมือนเดิม "สอบสัมภาษณ์" เราคงรู้สึกคุ้นชินกับคำนี้แต่บางที่เราก็ไม่ได้มองอย่างลึกซึ้งถึงกระบวนการ วัตถุประสงค์ที่แท้จริง จนทำให้นำไปใช้อย่างผิดๆถูกๆตลอดมา

สวัสดีครับท่านอาจาจารย์ หมอสกล

วาดหวัง ตั้งใจ จะไปร่วมงานHA ที่กทม. แต่เป็นเพราะไม่มีวาสนา มีโรคาพยาธิ มาเบียดเบียนไม่ไห้เคลื่อนไหวไปมาครับท่าน

ให้สัมภาษณ์ครับอาจารย์ (คำพูดเพื่อ ให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งประดุจแสงสว่างที่กำจัดความมืดได้)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท