นายประยูร
นายประยูร ประยูร รักษ์กำเนิด

สื่อการเรียนการสอน


สื่อ

 

  • ความหมายของสื่อการเรียนรู้
    คำว่า "สื่อ" (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า "medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุ
    ข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอนก็เรียกสื่อนั้นว่า "สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ .......การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า "สื่อการเรียนรู้" ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของจริง บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตาม ถือเป็น สื่อ การเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้น ๆ หรือนำสิ่งนั้น ๆ ข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่

  • การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้
    สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
    1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
    2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
    3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
    3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
    3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
    3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
    3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

  • หลักการและแนวคิดของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร
    การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สนองความ ต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งเครือข่ายการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนและแหล่งอื่น ๆ สื่อที่จะนำมาใช้เพื่อจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรจะมีลักษณะ ดังนี้
    1. เน้นสื่อเพื่อการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทั้งของผู้เรียนและผู้สอน
    2. ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำหรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง รวมทั้งนำสื่อที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเรียนรู้
    3. รูปแบบของสื่อการเรียนรู้ควรมีความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า กระตุ้นให้ ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดเวลา

ะนั้น สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตร ถานศึกษาจึงไม่จำกัดอยู่เพียงเฉพาะหนังสือ เรียน เท่านั้นผู้เรียนและผู้สอนสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อทุกประเภท อย่างไรก็ตามสื่อที่จะนำมาใช้จัดการเรียนรู้ควรมีความสอดคล้อง กับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และศักยภาพของผู้เรียน
  • นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องสื่อการเรียนรู้
    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดสาระสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ไว้หลายมาตรา โดยเฉพาะในหมวด 9 ที่ว่าด้วยเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้วิเคราะห์สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าวแล้วเห็นว่า ควรกำหนดให้มีนโยบายในเรื่องของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้สอดรับกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ โดยกำหนดเป็นนโยบายการผลิต พัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งมีสาระสำคัญว่า
    " กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทุกประเภท ทุกสาระการเรียนรู้และทุกช่วงชั้น โดยเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันผลิตอย่างเสรีและเป็นธรรม และส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพในกระบวนการเรียน การสอน" เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดผลในทางปฏิบัติ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวดำเนินการ ตามนโยบายฯ ไว้ 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านการผลิตและพัฒนาสื่อฯ ด้านการประเมินคุณภาพสื่อฯ และด้านการเลือก และใช้สื่อฯ
    1. ด้านการผลิตและพัฒนาสื่อฯ กระทรวงศึกษาธิการจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันผลิตอย่างเสรีและเป็นธรรม ผู้ผลิตอาจเป็นได้ทั้งหน่วยงานกลาง (กรมวิชาการ) หรือหน่วยงานภาครัฐ เขตพื้นที่/เขตการศึกษา สถานศึกษา และเอกชนทั้งที่เป็นบริษัท/สำนักพิมพ์ และบุคคลทั่วไป ผู้ผลิตสามารถผลิตสื่อฯ ได้ทุกประเภท ทุกสาระการเรียนร ู้และทุกช่วงชั้น สื่อที่ผลิตควรผลิตเป็นช่วงชั้น โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสื่อฯที่หน่วยงานกลาง กำหนดเป็นแนวทาง ในการผลิต
    2. ด้านการประเมินคุณภาพสื่อฯ กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการประเมินคุณภาพและราคาจำหน่ายของสื่อฯ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านคุณภาพและราคาโดยกระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิด ที่จะรับประเมิน คุณภาพของสื่อฯ เฉพาะหนังสือเรียน คู่มือครูและชุดการเรียนการสอน ซึ่งจะแยกการประเมินคุณภาพสื่อฯ ออกเป็น 2 แบบ คือ
    การประเมินก่อนจัดจำหน่าย : ใช้สำหรับการประเมินคุณภาพสื่อฯ กลุ่มทักษะที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
    ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ขั้นตอนการตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ก่อนจัดจำหน่าย
    การประเมินหลังจัดจำหน่าย : ใช้สำหรับการประเมินคุณภาพสื่อฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มศิลปะ และกลุ่มการงานอาชีพและ
    เทคโนโลยี
    หน่วยงานที่รับประเมินคุณภาพของสื่อฯ แยกออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ
    1. สื่อฯ ที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้มีการใช้ระดับชาติ / มีการเผยแพร่ทั่วประเทศจะตัองส่งให้หน่วยงานกลางเป็น
    ผู้ประเมิน
    2. สื่อฯ ที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้มีการใช้ในระดับเขตพื้นที่ จะต้องส่งให้เขตพื้นที่ / เขตการศึกษาเป็นผู้ประเมิน
    สำหรับสื่อฯ ที่ครูเป็นผู้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาของตน ไม่ต้องส่งให้หน่วยงานกลาง / เขตพื้นที่การศึกษา
    ประเมิน การใช้สื่อฯ ที่ครูผู้สอนผลิตขึ้นใช้เองให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
    3. ด้านการเลือกและใช้สื่อฯ กระทรวงศึกษาธิการกำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
    การเลือกสื่อฯ : ถ้าเป็นสื่อฯ ประเภทหนังสือเรียน คู่มือครูและชุดการเรียนการสอน ให้สถานศึกษาเลือกใช้จากบัญชีรายชื่อสื่อฯ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพและราคาจากหน่วยงานกลาง / เขตพื้นที่แล้ว ส่วนสื่อฯ ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการประเมินคุณภาพและราคาจำหน่าย จากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบให้สถานศึกษาเลือกใช้ได้ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
    การใช้สื่อฯ สื่อประเภทหนังสือเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ สถานศึกษา สามารถกำหนดให้ผู้เรียนมีไว้ประจำตัวผู้เรียนได้ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนเรียนรู้อื่น ไม่ควรกำหนด ให้ผู้เรียน มีหนังสือเรียนไว้ประจำตัว แต่สถานศึกษาควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในห้องเรียน / ห้องสมุด / ศูนย์สื่อฯ

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เทคโน
หมายเลขบันทึก: 336861เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท