เศรษฐกิจของสุโขทัย


แม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองสุโขทัย คือแม่น้ำ ปิง ยม น่านทำให้มีความอุดมสมบูรณ์
เศรษฐกิจของสุโขทัย
               เศรษฐกิจสุโขทัย มีความสัมพันธ์กับอาชีพเกษตรกรรมอย่างใกล้ชิด  ทั้งนี้ เพราะลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของสุโขทัยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ได้แก่  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  ยม  น่าน  สลับกันไป จึงมีพื้นที่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง  นอกจากนั้น การที่อยู่ใกล้แม่น้ำจึงมีความสะดวกต่อการคมนาคมขนส่งส่งผลให้มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขายต่ออาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างมาก
              เศรษฐกิจของสุโขทัยเป็นแบบเกษตรกรรม เพราะมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากเป็นแบบยังชีพที่เลี้ยงตนเอง ได้ผลผลิตสำคัญคือ ข้าว ดังคำกล่าวที่ว่า  “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  นอกจากนั้น ก็ยังมีการปลูกพืชอื่นๆ อีกมากมาย  มีตลาดการค้าเรียกว่า ตลาดปสาน และสุโขทัยยังมีการสร้างระบบชลประทาน สร้างเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำเรียกว่า สรีดภงส์  ซึ่งตั้งอยู่ห่างทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสุโขทัย สุโขทัยไม่ได้ส่งข้าวไปขายเนื่องจากถือว่าข้าวเป็นสินค้ายุทธปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการทำสงคราม
 การเกษตรกรรม
              ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่  ทำนาปลูกข้าวทำไร่ทำสวน ทำการประมง ระยะแรกตั้งอาณาจักร ต่างคนเข้าจับจองที่ดินทำกินแต่คงจะทำได้ไม่มากนัก  เพราะทางทิศตะวันออกเป็นที่ลุ่มมากน้ำท่วมเสมอๆ การทำนา  ในระยะเริ่มตั้งอาณาจักรคงไม่ได้ผลดีนักแต่เมื่อตั้งบ้านเมืองได้นานพอสมควร  พระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมทางด้านเกษตรกรรมจึงเกิดความมั่นคงสมบูรณ์
              ที่ราบที่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ในทิศเหนือและทิศตะวันตกของเมือง
  
การทำไร่ในสมัยสุโขทัย
             ประชาชนในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  คือ การทำนาแล้วยังนิยมประกอบอาชีพทำไร่ในพื้นที่ดอนพืชที่ปลูกจะนำมาใช้ เพื่อยังชีพ  พืชที่นิยมปลูกกันมาก  เช่น กล้วย อ้อย  เป็นต้น  นอกจากนั้น ประชาชนยังประกอบอาชีพในการทำสวนผลไม้ต่างๆ  เช่น  มะม่วง มะขาม  มะพร้าว  เป็นต้น  ได้ผลผลิตที่เหลือจากการดำรงชีวิต ก็จะถูกนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าชนิดอื่นๆ  เป็นอาชีพที่อยู่คู่กับชาวสุโขทัยมาอย่างยาวนาน
            พืชไร่เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เหมาะสำหรับปลูกในที่ดอน เช่น กล้วย อ้อย เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 336782เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท