วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ของฅนสนามหลวง


หลังจากนั้น เดือนกว่า ๆ ญาติผู้ตายก็มาเอาเงินที่ผู้ตายได้ฝากไว้ตอนทำงานให้หน่วยงานภาครัฐ เป็นสิ่งที่น่ารันทดใจที่ว่า สุดท้ายเพื่อนตาย ก็เป็นพวกเขาเองที่สังคม มองไม่เห็นค่าของเขา แต่เขาก็ต้องอยู่ได้ด้วยคนในหัวอกเดียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ส่งกันจนวินาทีสุดท้าย ช่วยเหลือกันจนเหลือแต่ขี้เถ้า

ในสังคมปัจจุบัน คำว่าเพื่อนตาย เริ่มที่จะหายากหรือมีจำนวน ลดน้อยลง แต่สิ่งหนึ่งที่อาสาสมัครอิ สรชนลงพื้นที่และพบเห็นมันย ังคงมีอยู่ในกลุ่มคนยากไร้ท ี่สังคมมองข้าม อยากจะยกตัวอย่างกรณีหนึ่งท ี่สะท้อนให้เห็นในหลาย ๆ ครั้ง เพราะ ทุกเดือนต้องมีคนสนามหลวงตา ยอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉลี่ยที่ผ่านมา เพราะเขาเหล่านี้ไม่สามารถเ ข้าถึงรัฐสวัสดิการในเรื่อง สุขภาพ อยู่ไปวัน ๆ แต่ก็ห่วงในสุขภาพของตนเองเ ท่าที่กำลังทำได้ เช่นเวลาที่เจ็บป่วยมาก็หาซ ื้อยาตามร้านขายยากินถ้าวัน นั้นมีรายได้ เพราะฉะนั้นการลงพื้นที่ของ อิสรชน เล็งเห็นว่าเรื่องยาเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับในพื้นที่เป้นอย่างมาก

อิสรชน ดูแลเพื่อนที่สนามหลวง (คนเร่ร่อน ไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ) ตั้งแต่เกิดจนตาย สิ่งที่สะท้อนใจมากสุด คือคนสนามหลวง บ้างส่วนตายแล้วไม่ได้ตาย คือ ไม่มีเอกสารยืนยัน รู้แต่ชื่อที่เรียกกัน ไม่สามารถแจ้งตายได้ สุดท้ายกลายเป็นนายที่ไม่ทราบชื่อ ไม่ระบุสัญชาติไปฝังที่ชลบุรี หรือบางคนที่มีหลักฐานก็สามารถตามญาติได้ บางทีญาติก็ไม่เอาแถมยังถามกลับมาว่า คนที่ตายทำงานได้เก็บเงินไว้ที่ไหนบ้างหรือเปล่า (ฟังแล้วก็สะท้อนใจ) หรือบางคนอย่างดีหน่อยก็มาเอาศพไปทำหรือเอากระดูกไปฝัง (ในกรณีที่ญาติตามหากันอยู่)

ในที่นี้จะยกกรณีที่ญาติไม่เอาศพ คนสนามหลวงรวบรวมเงินบางส่วน ร่วมกับอิสรชนเพื่อไปนำศพคนตาย (นามสมมติ นาย ก) ออกจากโรงพยาบาล ซึ่งตั้งแต่เช้าในวันที่ไปเอาศพ อิสรชนกับเพื่อนผู้ตาย(คนไร้บ้านที่นอนด้วยกัน ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ตาย) มานั่งรอแต่เช้าเพื่อนนำศพออกไปทำพิธี โดยมีญาติผู้ตายมาด้วย 2 คน เพื่อยืนยันเอกสาร เพราะก่อนหน้านี้ที่นาย ก เสียชีวิตในวันแรก อิสรชนทราบข่าวจากพื้นที่ก็ทำหนังสือประสานงานไปหาญาติตามที่อยู่ที่นาย ก ให้ไว้ก่อนตาย เมื่อญาติมาดำเนินเรื่อง แต่ไม่เอาศพ ให้เอาออกจากโรงพยาบาลและเผาเลย แต่ไม่มีเงินทำศพให้หรอกนะ มาดำเนินเรื่องให้เท่านั้น และคำถามที่ตามมา คือผู้ตายมีเงินเก็บหรือไม่ เมื่อช่วงบ่ายทำเรื่องเอาศพออกได้ คนสนามหลวงอีกคนที่ชื่อ ลุงแดง (ซึ่งตอนนี้ก็เสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน) ที่รอฟังข่าวที่สนามหลวง ก็เป็นคนไปประสานงานที่วัด เพื่อทำพิธีสวดและเผาเลย โดยค่าเผ่าศพและค่าใช้จ่าย ในการเคลื่อนย้ายศพออกจากโรงพยาบาล ทั้งหมดนั้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท ซึ่งอิสรชนก็นำเงินบริจาคจากผู้ที่สนับสนุนงานของอิสรชนที่เป็นคนทั่ว ๆ ไปในสังคม มาโดยตลอดมารวมกับคนสนามหลวงที่มาเรี่ยไรกันในพื้นที่ คนละเล็กละน้อย มารวมกันเพื่อส่งเพื่อนในวาระสุดท้ายให้ถึงสวรรค์ ภาพที่เห็นคือ คนสนามหลวงกลุ่มหนึ่ง ทั้งนั่งรถเข็น เดินไม่ค่อยได้ ค่อย ๆ เดินเข้าวัดมากันเพื่อรอทำพิธีการส่งเพื่อในครั้งสุดท้าย และเมื่อเผาเสร็จญาติผู้ตายก็กลับ โยนให้คนสนามหลวงจัดการเรื่องกระดูกเอง ญาติไม่เอากระดูกกลับบ้าน ในเช้าวันต่อมาคนสนามหลวงสามสี่คน รวบรวมเงินกันคนละนิดหน่อย ไปเอากระดูกเพื่อนไปลอยอังคารที่แม่น้ำเจ้าพระยา และหลังจากนั้น เดือนกว่า ๆ ญาติผู้ตายก็มาเอาเงินที่ผู้ตายได้ฝากไว้ตอนทำงานให้หน่วยงานภาครัฐที่มีมากกว่า 10,000 บาท  เป็นสิ่งที่น่ารันทดใจที่ว่า สุดท้ายเพื่อนตาย ก็เป็นพวกเขาเองที่สังคม มองไม่เห็นค่าของเขา แต่เขาก็ต้องอยู่ได้ด้วยคนในหัวอกเดียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ส่งกันจนวินาทีสุดท้าย ช่วยเหลือกันจนเหลือแต่ขี้เถ้า นี่และมิตรแท้ของคนสนามหลวง ที่สังคมพยายามยัดเหยียดให้เขาเป็นสิ่งสกปรก แต่เราว่าน้ำใจเขาสะอาดมากทีเดียว เพียงแค่คุณมองเขาเท่ากับคุณ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราที่เข้ามาเรียนรู้สังคมอีกมุมที่เรามองข้าม ติดต่อได้ที่ 086-687-0902 หรือสามารถโอนเงินเข้าบัญชีของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขา เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เลขที่บัญชี 031-0-03432-9
เขียนและเรียบเรียงโดย อัจฉรา อุดมศิลป์ สรวารี
หมายเลขบันทึก: 336543เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่งดูช่อง 9 รายการ "ตนค้นคน" เห็นแม่ขอทานตีลูกชายให้นั่งขอทาน แล้วสังเวชใจ

หวังว่าน้องเค้าคงคงได้มีโอกาสเรียนหนังสือที่ ร.ร.ข้างถนน ด้วยนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท