บึงละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ


บึงละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ
บึงละหาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ

สภาพทางกายภาพ 
 
               บึงละหานเป็นบึงตื้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นที่ลุ่มรองรับน้ำจากลำคันฉู โดยมีห้วยต่างๆ เช่น ห้วยกอก ห้วยหลัวเป็นทางน้ำเข้าสู่บึงละหานและ
ไหลลงสู่แม่น้ำชี ในฤดูแล้งบึงจะแห้งมีเพียงตอนใต้ของบึงที่มีน้ำขังตลอดปี ความลึกที่สุดของบึงประมาณ 1.5 เมตร กลางบึงมีเกาะ ขนาดประมาณ 0.3 ตารางกิโลเมตร (187.5 ไร่) มีป่าละเมาะ พื้นที่โดยรอบบึงละหานจะมี ีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างเรียบลักษณะดินโดยรอบเป็นดินที่เกิดจากการตกตะกอนทับถมของตะกอนลำน้ำ
สภาพทางชีววิทยา

 พบนกอย่างน้อย 56 ชนิด เป็นนกน้ำและนกชายเลน 27 ชนิด นกประจำถิ่น ประมาณ 24 ชนิด นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการ ผสมพันธุ์ 29 ชนิดได้แก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) นกยางควาย
(Bubulcus ibis) นกยางโทนใหญ่ (Egretta alba) นกยางโทนน้อย (E. intermedia) นกยางเปีย (E. garzetta) นกยางไฟหัวดำ (Ixobrychus sinensis) นก ยางไฟธรรมดา (I. cinnamomeus) นกอพยพผ่านตามฤดูกาล 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus) นกอพยพมาเพื่อการผสมพันธุ์ 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่ (Glareola maldivarum) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อย่างยิ่ง (critically endangered) ได้แก่ นกกระแตผีใหญ่ (Esacus recurvirostris) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ได้แก่ นกกระสานวล (Ardea cinerea) นก กระสาแดง (A. purpurea) นกกระแตหาด (Vanellus duvaucelii) ชนิดที่พบจำนวนมากนับร้อยตัว ได้แก่ นกแอ่น ทุ่งใหญ่ เป็ดแดง (Dendrocygna javanica) พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้แก่ ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบ 9 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) พบ 3 ชนิด ปลา เศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสลาด (Notopterus notopterus) ปลา กระสูบจุด (Hampala dispar) ปลาตะเพียนขาว (Puntius gonionotus) ปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis) ปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus hasselti) ปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepis fasciata) ปลาช่อน (Channa striatus) ขอบบึงทิศตะวันตกและทิศเหนือหนาแน่นด้วยกอ ธูปฤาษี (Typha angustifolia) กกสามเหลี่ยม (Scirpus grossus) หญ้าขน (Brachiaria mutica) หญ้าชันกาด (Panicum repens) ถัดเข้าไปเป็นผักตบชวา (Eichornia crassipes) จอกแหน (Lemna trisulca) พังพวยน้ำ(Jussiaea repens) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) บัวสาย (Nymphaea lotus) บัวหลวง (Nelumbo nucifera) รุกเข้าไปถึงกลางน้ำ บริเวณที่น้ำค่อนข้างลึกมีพืชใต้น้ำมาก ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata) สาหร่ายหางวัว (Najas graminea)

คุณค่าและการใช้ประโยชน์
              มีคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบมีอายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ทำบุญบั้งไฟ แข่งเรือ พิธีปลุกศาลาท่า มีศาลเจ้าพ่อบ้านหนองใหญ่และศาลเจ้าพ่อบ้านหาญดำที่บ้านละหาน ชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบใช้ที่ดินในการผลิต และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ และใช้ประโยชน์จากบึงละหานโดยการตัดไม้ฟืน จับปลา ล่าสัตว์ ใช้น้ำ และพักผ่อนหย่อนใจ มีรายได้จากบึงละหานประมาณร้อยละ 60 ของรายได้ มีความสำคัญต่อนกที่อาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูหนาวมีนกยาง และนกชายเลนมาอาศัยอยู่นับพันตัว

การจัดการและการคุกคาม
               เป็นที่ตั้งของสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดชัยภูมิ ที่ดินรอบบึงละหานมีการถือครองและการครอบครองเป็นโฉนดที่ดินประมาณร้อยละ 30 เป็น นส. 3ก ประมาณ ร้อยละ 40 และเป็นที่ ภบท. ร้อยละ 30 ในบึงมีการกำหนด เขตสงวนพันธุ์ปลาไว้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์น้ำ มีการสูบน้ำเพื่อทำน้ำประปา มีการพัฒนาบึงโดยการกำจัดผักตบชวา มีการทิ้งขยะและการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานลงในหนองน้ำ ทำให้น้ำบางส่วนเสียและมีกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ การใช้สารฆ่าแมลงในการปลูกนาข้าวทำให้เกิดมลภาวะแก่แหล่งน้ำหลายแห่ง นอกจากนี้บริเวณบึงละหานเคยเป็นที่ทำนาเกลือมาก่อน จึงทำให้น้ำใต้ดินในหมู่บ้านบางแห่งเป็นน้ำเค็ม ดินเค็ม มีโครงการทำถนนรอบบึงกั้นคูน้ำตั้งแต่บ้านน้อยถึงบ้านสน หนองผักหวาน และโครงการสร้างเกาะแก้วเป็นแหล่งท่องเที่ยว การทำการประมงรบกวนแหล่งสร้างรังวางไข่ของนก ทำ ให้ประชากรนกในบึงลดลง และยังคงมีการล่านกทำให้ประชากรนกลดจำนวนลงเรื่อยๆ

 

อ้างอิง:องค์การบริหารส่วนตำบล ละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัด ชัยภูมิ 36130 โทร 044-840578

คำสำคัญ (Tags): #บึงละหานงามตา
หมายเลขบันทึก: 336412เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีประวัติเรื่องเล่าเก่าๆ ของคนโบราณมาบอกหรือเปล่า ครับ เพื่อลูกหลานได้ทราบ และจดจำง่ายดี

ผมชอบหาปลาที่บึงละหานมากๆๆ ช่วงน้ำหลาก แต่ช่วงนี้มีปลาซิวแก้วผมอยู่ฝั่งตำบลหนองบัวบาน ขอบคุณที่ได้มาร่วมพูดคุยกันครับบายๆๆ

ชอบดอกบัวครับ อยากปลูกบ้าง

ชอบทุกส่วนที่เป็นบึงละหานค่ะ โดยเฉพาะเวลาใกล้ค่ำไปนั่งดูพระอาทิตย์ตก สวยมากค่ะ 

จากเด็กรอบบึง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท