จิตสาธารณะ


จิตสาธารณะ : คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์

จิตสาธารณะ : คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์

* ความหมายของจิตสาธารณะ

                   มีการกำหนดลักษณะของคำว่า “จิตสาธารณะ” ไว้อย่างหลากหลาย ทั้งคำที่ใช้ในภาษาไทย เช่น จิตสาธารณะ สำนึกสาธารณะ และจิตสำนึกสาธารณะ เป็นต้น และคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ เช่น Public Consciousness หรือ Public Mind โดยสามารถสรุปความหมายของจิตสาธารณะได้ว่า หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่า หรือการให้คุณค่าแก่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดผู้ผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่แสดงออกมา

           การปลูกฝังจิตสาธารณะนั้น ควรทำการปลูกฝังให้เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการปลูกฝังและส่งเสริมจริยธรรม วัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเด็กได้รับการปลูกฝังจิตสาธารณะให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อเติบโตขึ้น จะทำให้สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อันจะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ ตลอดจนเป็นบุคลากรที่ดี ที่เหมาะสม ของครอบครัว สังคม และประเทศชาติสืบเนื่องต่อไป ซึ่งวิธีการที่ใช้ในการปลูกฝังจิตสาธารณะนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย แต่วิธีการหนึ่งที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา โดยมีความเชื่อพื้นฐานที่ว่ากระบวนการปัญญามีผลต่อพฤติกรรม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางปัญญา ดังนั้น การใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญาที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะได้ และยังมีส่วนที่ทำให้การมีจิตสารณะนั้นมีความคงทน และเป็นจิตสำนึกที่คงอยู่ภายในตัวบุคคลเมื่อเติบโตขึ้นต่อไปในภายภาคหน้าได้

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ 5
หมายเลขบันทึก: 335093เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท