21 สาระ การเปลี่ยนแปลงของโลก


สาระ การเปลี่ยนแปลงของโลก

นักธรณีวิทยาศึกษาธรณีประวัติได้จากสิ่งใดบ้าง

 
1) อายุทางธรณี มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 อายุเทียบสัมพันธ์ ศึกษาจากการลำดับชัน หินมาเทียบ สัมพันธ์กับดัชนีต่าง ๆ
1.2 อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินที่สามารถหา ได้จากธาตุไอโซโทป
2) ซากดึกดำบรรพ์ สามารถบอกสภาพแวดล้อมในอดีต บอกช่วงอายุของหิน
3) การศึกษาลำดับชั้นหิน สามารถลำดับเหตุการณ์ในอดีตของบริเวณนั้นได้

2. การศึกษาธรณีประวัติโดยใช้  อายุธรณีภาคมีความแตกต่างอย่างไรระหว่าง  อายุสัมบูรณ์และอายุเปรียบเทียบ
ตอบข้อ 2.
1)อายุเปรียบเทียบ เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าหินใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน
2)อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน

3. อธิบายลักษณะสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกที่ปรากฎบนโลก
ตอบข้อ 3.

สิ่งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ(properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้มีการจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 กลุ่มหรือ 5 อาณาจักร (kingdoms) อันประกอบด้วย อาณาจักรมอเนอรา (monera) อาณาจักรโพรทิสตา (protista) อาณาจักรเห็ดรา (fungi) อาณาจักรพืช (plantae) และอาณาจักรสัตว์ (animalia)

4.ตารางธรณีกาลแบ่งออกเป็นกี่มหายุค(era) อะไรบ้าง กี่ยุค (period) อะไรบ้าง กี่สมัย(sposch) อะไรบ้าง
4.ตอบ 4 มหายุค

-ซีโนโซอิก(Cenozoic)
-มีโซโซอิก(Mesozoic)
-พาลีโอโซอิก(Paleozoic)
-พรีแคมเบรียน(Precambrian)
14ยุค
-ควอเทอร์นารี(Quaternary)
-นีโอจีน(Neogene)
-เทอร์เชียรี (Tertiary)

-พาลีโอจีน(Paleogene)
-ครีเทเชียส(Cretaceous)
-จูแรสซิก(Jurassic)
-ไทรแอสซิก(Triassic)
-เพอร์เมียน(Permian)
-คาร์บอนิเฟอรัสCarboniferous)
-ดีโวเนียน(Devonian)
-ไซลูเรียน(Silurian)
-ออร์โดวิเชียน(Ordovician)
-แคมเบรียน(Cambrian)
-แอลกองเคียน(Algonkian)
5.จากตารางธรณีกาลการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยที่เป็น พืช และสัตว์ข้างล่างนี้ พบในยุคใดไดโนเสาร์, ปลาน้ำจืด, เรณูพืช

5. ตอบ
ไดโนเสาร์พบในยุค ไทรแอสซิก
ปลาน้ำจืดพบในยุค ดีโวเนียน
เรณูพืช พบในยุค ดีโวเนียน

6.จากตารางธรณีกาลบอกลักษณะเด่นสิ่งมีชีวิตของ พรีแคมเบียน
6. ตอบ
พรีแคมเบรียนตอนปลาย
กำเนิดสิ่งมีชีวิตคล้ายสาหร่าย
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
พรีแคมเบรียนตอนต้น
การก่อตัวกำเนิดโลก
7. นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่าครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่
ตอบ7

ส่วนใหญ่ได้มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นฟอสซิลโครงกระดูก รอยเท้า เปลือกไข่ อุจจาระ ตลอดจนกลายสภาพเป็นหินแข็งอยู่ภายใต้ผิวโลก ครั้นเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏบนพื้นผิวโลกให้เห็นตามที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานศึกษาการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ได้เป็นอย่างดี

8.เพราะเหตุใดจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มหินอัคนี และหินแปร

ตอบ 8

เพราะหินอัคนีเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ ส่วนหินแปรเป็นหินที่แปรสภาพไปจากเดิม โดยการกระทำของความร้อน แรงดัน และปฏิกิริยาเคมี
9.ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้

ตอบ 9

ซากดึกดำบรรพ์ เป็นร่องรอยของพืชและสัตว์ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ส่วนมากจะพบในหินตะกอนมากกว่าหินชนิดอื่น อาจพบในหินภูเขาไฟบ้างแต่น้อยมาก ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งถึงสภาพแวดล้อม และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นในขณะเวลาที่เกิดการสะสมตะกอน


10.ซากดึกดำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ 10  นักศึกษาตอบด้วยตนเองศึกษาจากตำรา

 11.การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก

ตอบ 11

1. กระบวนการกลายเป็นหิน (petrifaction) ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่เกิดโดยกระบวนการนี้ และมักเกิดกับส่วนที่แข็ง เช่น กระดูก เปลือกหอย ไม้ ฯลฯ เป็นกระบวนที่เกิดจากสารละลายในน้ำใต้ดินที่มีซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต ออกไซด์ของเหล็ก ซัลไฟด์ของเหล็ก ฯลฯ แทรกซึมเข้าไปตกผลึกในช่องว่างภายในเซลล์แทนที่เนื้อเยื่อหรือผนังเซลล์ของพืช สัตว์ เกิดเป็นแร่ในตระกูล ควอร์ตซ์ แคลไซต์ เหล็กออกไซด์ (ฮีมาไทต์หรือเกอไทต์) และแร่ไพไรต์ ตามลำดับ ทำให้เซลล์ของซากอินทรีย์แข็งตัว รวมทั้งคงรูปร่างและโครงสร้างเดิมไว้ได้ เช่น ซากของต้นไม้ที่ถูกแทนที่ด้วยสารซิลิกา ในบริเวณพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งนอกจากจะเกิดเป็นแร่ควอร์ตซ์ เชิร์ต คาลซิโดนี โอปอ อาเกต ฯลฯ ยังมีสีสันตามมลทินที่เกิดจากสารเจือปนของออกไซด์ของเหล็กหรือแมงกานีสด้วย ทำให้เกิดเป็นสีแดง น้ำตาล น้ำตาลเหลือง เหลืองหรือดำ แทรกปนอยู่ กระบวนการนี้เกิดจากกระบวนการหลัก 2 กระบวนการ คือ

1.1 กระบวนการเกิดแร่ในช่องว่าง (permineralization) เกิดจากการตกผลึกของแร่จากสารละลายน้ำใต้ดินที่แทรกซึมเข้าไปในช่องว่าง (void) ภายในเซลล์ ซึ่งเกือบทั้งหมดจะมีขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ช่องว่างเหล่านี้มีอยู่ในโครงสร้างที่แข็ง เช่น กระดูก เปลือกหอย ไม้ ฯลฯ

1.2 กระบวนการแทนที่ (replacement) เกิดจากสารละลายน้ำใต้ดินละลายเนื้อเยื่อสารอินทรีย์ ผนังเซลล์หรือส่วนที่แข็งอื่น ๆ ออกไปในเบื้องต้น และตามด้วยการตกผลึกของแร่จากสารละลาย แทนที่สารที่ถูกละลายออกไป แบบโมเลกุลต่อโมเลกุล เช่น การแทนที่เซลลูโลสเดิมของผนังเซลล์ในพืชด้วยแร่ควอร์ตซ์ ดังนั้น แม้แต่โครงสร้างขนาดเล็กที่มองไม่เห็น (microscopic structure) ก็จะถูกรักษาไว้ เพราะได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นแร่หรือหิน

 12.ถ้านักเรียนค้นพบซากดึกดำบรรพ์บนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดภูเขาลูกนั้นอย่างไร
ตอบ 12 ให้ตอบอย่างมีเหตุและผล 

 

 

หมายเลขบันทึก: 335070เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

งานกำหนดส่ง 21 กุมภาพันธ์ 2553

นักศึกษาสามารถเข้าดูข้อมูลได้

1. http://www.google เข้าแล้ว พิมพ์ กศน.ตำบลคลองห้า หรือ ขจรรณชิต หรือ สายใยรักคลองห้า

2. http://www.gotoknow.org

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท