โครงงาน ตุ่ม“อีเลิ้ง” อ.สามโคก จ. ปทุมธานี


ตุ่ม“อีเลิ้ง”

ชื่อโครงงาน ตุ่ม“อีเลิ้ง”

“ตุ่มสามโคก” อ.สามโคก จ. ปทุมธานี                                                        

           ชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากนั้นได้อพยพเข้ามาอีกหลายคราว ชาวมอญบ้านสามโคกมีฝีมือทางการทำอิฐมอญและงานเครื่องปั้นดินเผา "ตุ่มสามโคก" เป็นหนึ่งในหัตถกรรมศิลป์อันลือเลื่องด้วยฝีมือ ความคงทน และเอกลักษณ์แห่งรูปลักษณ์เฉพาะตัวคือ ปากตุ่มและก้นตุ่มมีขนาดเท่ากันป่องกลาง และเป็นตุ่มขนาดใหญ่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ตุ่มน้ำจากสามโคกได้ถูกกลืนหายไปกับยุคสมัยเสียแล้ว หลังขุดคลอง ลัดแล้วทางรัฐได้ให้คนมอญอพยพที่เข้ามาแต่สมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มาตั้งถิ่นฐานทำอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เพื่อผลิต อิฐ กระเบื้อง ไปใช้ในการก่อสร้างป้อมปราการ วัดวาอาราม รวมทั้งปราสาทราชวัง เพราะอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมาเริ่มได้รับอิทธิพลการก่อสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมากกว่าสมัยก่อนฯ ในขณะเดียวกัน แหล่งอุตสาหกรรมนี้ก็ผลิตเครื่องปั้นดินเผาแกร่งที่เป็นภาชนะใช้สอยของชาวบ้านชาวเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยทั่วไปด้วย ภาชนะใช้สอยเหล่านี้ได้แก่ ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ ครก ไห เป็นต้น แหล่งเตาเผาในบริเวณนี้มี ๓ แห่ง จึงเป็นที่รู้จักกันภายหลังว่า สามโคก เมื่อการผลิตลดน้อยลงอันเนื่องจากชุมชนมอญขยายตัวลงไปตามลำน้ำเจ้าพระยาไปยังปทุมธานีและ ปากเกร็ด โดยเฉพาะปากเกร็ดนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาสืบต่อจากสามโคกทีเดียว อย่างไรก็ตาม บริเวณสองฝั่งของคลองลัดที่กลายมาเป็นลำน้ำเจ้าพระยาจากเชียงรากมาถึงปทุมธานีนั้น นับเนื่องเป็นชุมชนเมืองที่อยู่ต่ำลงมาจากพระนครศรีอยุธยาได้ เพราะแลเห็นการขุดคลองซอยแยกออกไปทั้งสองฝั่งมากมาย ทำให้เกิดบ้านที่อยู่อาศัยของผู้คนหนาแน่นกว่าที่อื่น ๆ............ 

 

คำสำคัญ (Tags): #ตุ่ม อีเลิ้ง
หมายเลขบันทึก: 334862เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท