"พัฒนาภาวะผู้นำ" สำนักข่าวกรองแห่งชาติ


สวัสดีครับลูกศิษย์ชาว สขช. ที่รักทุกท่าน

            วันนี้ผมได้รับเกียรติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันครั้งที่ 4 คือ การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการวิชาการในโครงการพัฒนาภาวะผู้นำ ระดับผู้อำนวยการส่วน / หัวหน้าฝ่ายอาวุโส ระดับ 7 – 8 จำนวน 45 คน โดยผมทำหน้าที่ออกแบบจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้รวม 18 ชั่วโมง ซึ่งผมก็ได้เลือกหัวข้อที่น่าสนใจและคิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานในอนาคตของ สขช. ประกอบด้วย

1.      HR for Non-HR

2.      การสร้างและบริหารทีมงาน 

3.      จริยธรรมสำหรับนักบริหาร 

4.      ผู้นำ.. วัฒนธรรมองค์กรและความเป็นเลิศ 

5.      การสอนงาน (Coaching)

วันนี้เป็นวันแรกที่เราจะเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องของการบริหาร “คน” ในองค์กร หรือ HR for Non – HR ซึ่งคงจะมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ และผมขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของทุกคนครับ

                                                            จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 333589เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (77)

วิเคราะห์แนวคิดของอาจารย์จีระ เลือกประเด็นหลัก 2 เรื่องที่นำมาใช้ในสำนักข่าวกรองฯ แต่เน้นสิ่งที่ปฏิบัติได้ (ใช้ Flipchart)

กลุ่มที่ 1

คำ 3 คำที่สำคัญของเราในวันนี้ คือ

v   Mindset

v   Change

v   องค์กร

            เราต้องปรับตัวร่วมกันภายใต้เครือข่ายของเราทั้งภายในและภายนอกเพื่อความสำเร็จขององค์กร สิ่งที่สำคัญคือการปรับ Mindset ของตัวเราเองก่อน

            วันนี้เราต้องค้นหาว่าเครื่องมือในการเปลี่ยน Mindset ของคนใน สขช. คืออะไร?

กลุ่มที่ 2

Unlearn และ Re-learn ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร

            วันนี้เราต้องค้นหาว่าเครื่องมือในการเปลี่ยน Mindset ของคนใน สขช. คืออะไร?

กลุ่มที่ 3

v   มนุษย์จะต้องใฝ่รู้ พัฒนาเพื่อให้เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากกว่าเครื่องจักรหรือสิ่งของอื่น ๆ

v   องค์กรจะประสบความสำเร็จได้คนในองค์กรต้องมีสปิริต มีการทำงานเป็นทีม มีการสร้างเครือข่าย

 

ฟังคุณพารณและประสบการณ์ของปูนซีเมนต์ไทย นำมาใช้กับ สขช. ได้อย่างไร ระหว่างจีระ – พารณ มีอะไรที่คล้ายกัน 1 เรื่อง มีอะไรที่ต่างกัน 1 เรื่อง

กลุ่มที่ 4

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนขององค์กรที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับคนในทุกระดับ คือ

v   ให้ความรู้

v   ให้มีส่วนร่วม

v   รักษาคนดี คนเก่ง คัดคนใหม่ที่มีคุณภาพ แล้วส่งเสริมให้เขาเป็นคนเก่ง คนดี และอยู่กับองค์กร

 

กลุ่มที่ 5

ได้เรียนรู้แนวทางในการบริหารคนที่มีความเชื่อและศรัทธาว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ซึ่งในสขช.น่าจะ

v   เสริมสร้างให้คนมีประสิทธิภาพในการทำงาน

v   เน้นระบบคุณธรรม

v   ผู้นำต้องเห็นคุณค่าของการพัฒนา HR

v   ทุกคนพูดภาษาเดียวกันไปในทิศทางเดียวกัน

ใน 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ ปธน. Nelson Mandela สิ่งที่ผมชอบคือ 1) ความกล้าหาญ สามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นไปสู่จุดของความเป็นเลิศ 2) การจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักดีว่าเขาชอบอะไร 3) ความใกล้ชิดทั้งกับเพื่อนฝูงและคู่แข่ง 4)การมีภาพลักษณ์ที่ดี และ 4) การรู้จักว่าจังหวะไหนจะพอหรือถอย ส่วนประเด็นอื่นๆนอกเหนือจาก 8 ประเด็นที่ ปธน.Mandela ไม่ได้กล่าวถึง แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อ สขช.ได้แก่ ความซื่อสัตย์ (honesty) และ ปราศจากอคติ ( unbiased)

ความคิดของเมนเดลา ที่ผมชอบ มี 2 เรื่อง คือ ความกล้าหาญ และรู้ว่าจังหวะไหน จะพอหรือจะถอย

สำหรับส่งที่เมนเดลาไม่ได้พูดถึง แต่มีความสำคัญสำหรับคุณลักษณะผู้นำของ สขช. คือ Integrity และ อุดมการณ์ในการทำงาน

ความเห็นของผมที่เห็นสอดคล้องกับเมเดลลาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร สขช.คือความกล้าหาญ ,การบริหารศัตรูและการเป็นผ้นำที่ดี แต่ที่ยังขาดไม่ได้พูดถึงคือคุณธรรมและความจงรักภักดีที่จะสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นที่จะทำงานเป็นทีม

มีความเห็นสอดคล้องกับแมนเดลาในประเด็นควรเป็นผู้นำที่ใกล้ชิดกับเพื่อนโดยเฉพาะศัตรู รวมทั้งการจัดการกับศัตรูเพราะจะทำให้เราสามารถข้าใจภารกิจของเราแลเห็นด้วยกับประเด็นการเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า เนื่องจากต้องทำงานเชิงรุก และตั้งรับโดยไม่ประมาท แต่เห็นว่าควรจะเพิ่มความซื่อสัตย์ต่อตนเองและการมีคุณสมบัติ to share and to care

ประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ที่น่าจะนำมาใช้กับ สขช. ได้แก่

1) ผู้นำที่มีความกล้าหาญ เนื่องจาก สขช. ต้องการเป็นองค์กรข่าวกรองที่เป็นเลิส ดังนั้น Role Model ของผู้นำที่มีความกล้าหาญจะนำพา สขช. ให้เป็นองค์กรข่าวกรองที่เป็นเลิศ จึงมีความสำคัญต่อการกระตุ้นจิตสำนึกให้ จนท.ทุกคนมีพลังร่วมกันสานฝันทำงานและพัฒนา สขช. ให้บรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรข่าวกรองที่เป็นเลิศได้

2) ผู้นำที่ไม่เน้นถูกผิดหรือขาวดำ 100 % เนื่องจากใน สขช. ไม่ได้มีความคิดและความต้องการที่สอดคล้องกันทั้งหมด ดังนั้น การพบกันครึ่งทาง โดยมีการประนีประนอม ที่เหมาะสมแต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win – Win จึงน่าจะเป็นทางออก ที่จะช่วยให้ จนท. ทุกคนยอมรับได้ ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศความพึงพอใจใน สขช. หรือทำให้ จนท.ทำงานอย่างมีความสุข และสามารถจะประสานให้ จนท. ทุกคนร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กรได้

ประเด็นความเป็นผู้นำที่ Mandela ไม่ได้กล่าวไว้ แต่เห็นว่ามีความสำคัญควรนำมาใช้กับ สขช. ได้แก่

1) ผู้นำที่มีจริยธรรมและคุณธรรม เนื่องจาก สขช. เป็นองค์กรข่าวกรองที่มีภารกิจสำคัญในการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติและประชาชน จึงจำเป็นต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง คำนึงถึงส่วนรวม คือ ชาติและประชาชน ไม่ฝักใฝ่อำนาจและผลประโยชน์ที่มิชอบ รวมทั้งต้องมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และเสียสละ ขณะเดียวกัน การบริหารงานภายในองค์กรก็มีความจำเป็นต้องใช้ Merit System และ Good Governace อย่างจริงจัง เพื่อให้ จนท.สขช. ทำงานอย่างมีความสุข และมีพลังทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรมากขึ้น

2) ผู้นำที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ จะทำให้ จนท.สขช. ได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนจิตสำนึกที่ดีงามต่อการทำงานและองค์กร มีความคิดที่เป็นระบบ เปิดกว้าง และยอมรับการปรับเปลี่ยน รวมทั้งมีความรู้และทักษะที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลก มีพฤติกรรมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และที่สำคัญ ผู้นำที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ จะทำให้ จนท. มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น

ธรรมศักดิ์ สกุลดี

4 ก.พ.53

ภาวะความเป็นผู้นำที่ Mandela กล่าวถึงมีอยู่ 2 ประเด็นที่มีความสำคัญต่อ สขช. คือผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความสง่างามในทุกโอกาสและไม่เน้นการถูกหรือผิดแบบ 100% โดยมีการประนีประนอมที่เหมาะสมแต่ยังคงรักษาหลักการไว้ ส่วนภาวะความเป็นผู้นำที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึง แต่มีความสำคัญต่อ สขช. คือความมีคุณธรรมในการบริหารงานและการให้ความสำคัญกับคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร

<p>ชื่นชมแมนเดลามาก โดยเฉพาะคุณสมบัติความกล้าหาญ อดทน และความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง แม้ว่าอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก(ในคุก) ถึง 27 ปี ก็ไม่ย่อท้อ แต่กลับใช้เวลานั้นสะสมพลัง เพือกลับมาทำตามที่มุ่งหวังไว้จนสำเร็จ

คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นแม่พิมพ์ เป็นแบบอย่างที่ดี สมควรแก่การที่เราจะเคารพได้อย่างสนิทใจ

นอกจากนี้ ผู้นำทีมีภาวะผู้นำที่แท้จริง และเป็นคุณสมบัติทีผู้นำสขช.ต้องมี ก็คือ ความซื่อสัตย์ และ คุณธรรม ซึ่งแม้ว่าในกรณี

แมนเดลา ไม่กล่าวถึง แต่เชื่อว่าเขามีค่ะ.....ชลดา โชติสุวรรณ

สขช.

ที่ Mandela ไม่ได้พูดคือ

1. Coaching แปลว่า การฝึกสอน สอนพิเศษ ตรงนี้หมายถึงดูแลเอาใจใส่สารทุกข์สุขดิบจ๊ะ Mandela ไม่มีตรงนี้ เพราะสังคมคนดำมีความเอื้ออาทรกันอยู่แล้ว เลยไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกับคนไทยสมัยนี้

2. Creativity แปลว่าสร้างขึ้นใหม่ ตรงนี้หมายถึงรวบรวมมาเสนอแนะสิ่งใหม่ๆแต่เป็นสิ่งใหม่ที่จะทำให้ดีขึ้นไม่ใช้อาจจะดีขึ้น แต่กว่าจะดีชาวบ้านโดยรวบกะโหลกเป็นแถบๆ ในยุคของ Mandela ไม่จำเป็นต้อง Creativity เพราะต่อสู้กันผิวขาวให้สำเร็จก่อน เป็นเป้าหมายหลัก ชนะแล้วจัดระเบียบตามต้องการแล้วนะแหละ คือจะเริ่มมี Creativity แต่ทั้งนี้ถ้าบ้านเมืองอยู่ดีมีกิน สบาย สันดานไม่เสีย กันแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมี Creativity มากนักก็ได้ ถ้าคนรอบข้างตามไม่ทัน Creativity ก็ไม่สร้างปัญหาในการดำเนินของเขาได้

ที่ Mandela ไม่ได้พูดคือ

1. Coaching แปลว่า การฝึกสอน สอนพิเศษ ตรงนี้หมายถึงดูแลเอาใจใส่สารทุกข์สุขดิบจ๊ะ Mandela ไม่มีตรงนี้ เพราะสังคมคนดำมีความเอื้ออาทรกันอยู่แล้ว เลยไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกับคนไทยสมัยนี้

2. Creativity แปลว่าสร้างขึ้นใหม่ ตรงนี้หมายถึงรวบรวมมาเสนอแนะสิ่งใหม่ๆแต่เป็นสิ่งใหม่ที่จะทำให้ดีขึ้นไม่ใช้อาจจะดีขึ้น แต่กว่าจะดีชาวบ้านโดยรวบกะโหลกเป็นแถบๆ ในยุคของ Mandela ไม่จำเป็นต้อง Creativity เพราะต่อสู้กันผิวขาวให้สำเร็จก่อน เป็นเป้าหมายหลัก ชนะแล้วจัดระเบียบตามต้องการแล้วนะแหละ คือจะเริ่มมี Creativity แต่ทั้งนี้ถ้าบ้านเมืองอยู่ดีมีกิน สบาย สันดานไม่เสีย กันแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมี Creativity มากนักก็ได้ ถ้าคนรอบข้างตามไม่ทัน Creativity ก็ไม่สร้างปัญหาในการดำเนินของเขาได้

1. ลักษณะของผู้นำองค์กรข่าวกรองฯ 2 ประเด็นที่ Mandela ไม่ได้พูดถึง คือ

ผู้นำต้องมีจริยธรรม คุณธรรม มีวิสัยทัศน์ที่ดี

ต้องเป็นนักบริหารจัดการที่ดีและนักการข่าวที่ดี มีการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

2. ใน 8 ประเด็นเรื่องภาวะผู้นำของ Mandela มีเรื่องต่อไปนี้ที่เหมาะกับผู้นำองค์กรข่าวกรอง คือ

ความกล้าหาญ มีความสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศ

การจัดการบริหารศัตรู คือ ศึกษาศัตรูให้ดีจะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน

ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อทำให้บุคลากรในองค์กรชื่นชมและศรัทธา และปฏิบัติตามในสิ่งที่ผู้นำจะพาองค์กรไป

1. ประเด็นที่ชอบความคิดความเป็นผู้นำของ Mandela

ความกล้าหาญ เป็นประเด็นที่ผู้นำทุกคนต้องมี เป็นความกล้าที่จะนำหน้า ไม่ใช่ให้ผู้อื่นหรือลูกน้องนำหน้าแล้วตนเองไม่ต้องเสี่ยง

การจัดการบริหารศัตรู ผู้นำต้องมองกว้างมองไกล รู้จุดอ่อนจุดแข็งของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนำมาวางแผน/ออกแบบการจัดการกับคู่แข่งหรือบริหารคนในองค์กรได้อย่างประสบผลสำเร็จ

2. ประเด็นที่ Mandela ไ Mandela ไม่ได้พูดถึงและจำเป็นสำหรับ สขช.

ความเสียสละ

ความมีศักดิ์ศรี

สขช. เป็นหน่วยงานความมั่นคงที่ต้องอยู่เบื้องหลังเพื่อสนับสนุนข้อมูลความมั่นคงให้กับรัฐโดยที่ไม่สามารถแสดงผลงานกับผู้ใดได้ ดังนั้น ผู้นำและบุคลากรต้องมีจิตสำนึกความเสียสละเป็นอย่างสูง ในขณะที่ความมีศักดิ์ศรีเป็นความรู้สึกใต้สำนึกที่ต้องให้บุคลากรทุกคนต้องมี มิฉะนั้นจะเป็นที่มาของข่าวกรองฯ เพื่อประจบผู้บริหาร การาทำงานเพื่อรับใช้นาย การทุจริตโดยอาศัยนายบังหน้านำไปสู่การเติบโตโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรี องค์กรจะเสื่อมลงในที่สุด

การเป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์ที่ดี ปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติ

การจะอยู่แบบผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อนแนบแน่นกับคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดให้มาก

มีความกล้าหาญ ไม่มีความกลัว แต่มีความสามารถจุดประกายให้ผู้อื่นสามารถไปสู่จุดมุ่งหมาย

Mandela จะไม่ใช้ความรุนแรง

สิ่งที่ Mandela พูดถึงลักษณะของผู้นำมี 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ

1. Coaching คือ ทักษะที่ผู้นำทุกคนจะต้องมี คือ รู้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ

2. Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องจำเป็นมาก

สิ่งที่ Mandela ไม่ได้พูดถึงลักษณะของผู้นำมี 3 ประเด็นที่ผู้นำของสขช.ควรมี คือ

1. การมีจริยธรรม

2. การมีความซื่อสัตย์

3. การมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

4. การบริหารแบบโปร่งใส

ประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ที่น่าจะนำมาใช้กับ สขช. ได้แก่

1. ความกล้าหาญ สขช.ควรมีผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ กล้านำองค์กรสู่สิ่งที่ควรจะเป็น และกล้าที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นต้นแบบที่ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นกันเอง

ประเด็นความเป็นผู้นำที่ Mandela ไม่ได้กล่าวไว้ แต่มีความสำคัญควรนำมาใช้กับ สขช. ได้แก่

การสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร

ประเด็นที่มีอยู่ในตัวของท่าน Mandela แต่ไม่ได้พูดเอาไว้ คือ ความยึดมั่นในคุณงามความดีอย่างแน่วแน่

สิ่งที่ผู้นำ สขช.ควรยึดมั่นตามแนวทางของท่าน Mandela คือความมีศักดิ์ศรี ทำเพื่อประเทศชาติ

ปราศจากอคติทางการเมือง

ผู้ที่จะอยู่แถวหน้าและนำ สขช.สู่ความเป็นหน่วยข่าวกรองชั้นนำ ประการสำคัญต้องมี"ความกล้า"ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเก่าๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน อีกทั้งต้อง"รู้เขารู้เรา" โดยเฉพาะศักยภาพที่จะฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการ ลักษณะ 2 ประการใกล้เคียงแนวทางของ Mandela แต่นั่นเป็นลัษณะในตัวบุคคลมากกว่า ผมเห็นต่างออกไปว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรให้ความสนใจสภาวะแวดล้อมอีก 4 คำ ที่เสริมหนุนซึ่งกันและกัน ได้แก่ "สร้างคน สร้างงาน สร้างสรรค์ สามัคคี" กล่าวคือ มุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถและสมรรถนะของคน สขช. ให้สร้างงานที่มีคุณภาพชั้นหนึ่ง มีมุมมองเชิงบวก และทำงานเป็นทีมที่รู้จักแบ่งปันข่าวและความรู้เพื่อความสำเร็จของส่วนรวม

ปิยะ คงขำ (กลุ่ม 2)

นางวันเพ็ญ กล่ำเสถียร

สิ่งที่ Mandela กล่าวถึงของความเป็นผู้นำ มีความสำคัญทุกประเด็น แต่จะเลือกใช้ในสถานการณ์และ โอกาสที่เหมาะสมอย่างไร

สิ่งที่ผู้นำทุกระดับของ สขช.ควรยึดมั่นและสร้างให้เกิดขึ้นกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ คือการทำงานเป็นทีม และการยอมรับ ศรัธทา ต่อผู้ร่วมงาน

วันเพ็ญ กลุ่ม 3

ทั้ง 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela สามารถนำมาใช้กับงานของ สขช. ได้ทั้งหมด แต่จะยกมาเพียง 3 เรื่อง ดังนี้

1. ความกล้าหาญ จนท.สขช.ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำควรมีความกล้าที่จะตัดสินใจอย่างมีหลักการ กล้าที่จะรับผิดชอบ และกล้าที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ

2. ภาพลักษณ์ที่ดี จะช่วยสร้าง first impression ที่ดีแก่ผู้พบเห็น เป็นพื้นฐานที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่น และการโน้มน้าวจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือตัวแหล่งข่าว

3. ผู้นำที่ดีต้องไม่เน้นถูกต้องหรือผิดแบบ 100% งานด้านการข่าว มีรากฐานมาจากการสะสมประสบการณ์ในอดีตของ จนท.หน่วยข่าวทั้งหลาย ดังนั้นจึงไม่มีวิธีการหรือมาตรการใด ๆ ที่ถูกต้อง 100 % ผู้นำที่ดีควรประนีประนอม รับฟังความเห็นของคนอื่นถึงแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า จะนำไปไปสู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน

ชื่นชม และประทับใจในแนวคิด การปฏิบัติของ Mandela ที่เด่นๆ 2 เรื่อง คือ

1.ความกล้าหาญ Mandela มีความกล้าหาญมาก ถึงแม้จะต้องอยู่ในคุกนาน 27 ปีแต่ก็ไม่สิ้นหวัง กล้าเผชิญกับสิ่งที่ประสบอยู่อย่างมีสติ และมุ่งมั่น สุดยอดจริงๆ

2.การรู้ว่าเวลาไหนควรจะพอหรือถอย กล้ายอมรับความจริง เปิดใจกว้าง

สำหรับคุณสมบัติจำเป็นที่ Mandela ไม่ได้พูดถึงแต่ควรมีใน สขช. คือ

- คุณธรรมและจริยธรรม

- Learning Culture (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้)

พิพัฒน์ บุตรประเสริฐ

สิ่งสำคัญ 2 ประเด็นที่เห็นด้วยกับ Mandela คือ

1 .ความกล้าหาญ ที่สามารถจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ซึ่งผู้นำของ สขช.ควรจะต้องมี

2. จัดการบริหารศัตรู ซึ่งน่าจคล้ายคำว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ตามตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่ ซึ่ง สขช.มักจะนำมา

อ้างอิงเกี่ยวกับหลักการทำงานหาข่าว

3. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ผู้ใตบังคับบัญชาให้ความเชื่อถือและยอมรับ

ประเด็นที่ mandela ไม่มี แต่ สขช.ต้องมี คือ

1. ความซื่อสัตย์ ซึ่งจะทำให้ผู้นำได้รับการยกย่องยากที่จะมีใครทำลายได้

2. ความยุติธรรม ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งในองค์กรลงได้

พิพัฒน์ กลุ่ม 4

ลักษณะผู้นำที่ mandela ไม่ได้พูดถึงแต่จำเป็นสำหรับ สขช.คือ

1) การมีจริยธรรมและคุณธรรม เพราะจะเป้นสิ่งคุ้มครองการทำงานการตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม

2) Teamwork สำคัญต่อการทำงานข่าวอย่างยิ่งเพราะงานข่าวต้องมีทีมที่ดีจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้

3) Team Spirit มีใจร่วมหรืออยากให้งานเกิดความสำเร็จ แม้ว่าบางส่วนอาจไม่ได้อยู่ใน Line แต่มีใจปรารถนาดีต่อองค์กรก็จะขจัดพวกมือไม่พายเอาเท้ารานำ้ได้

พงษ์ศักดิ์ นวลละม้าย

หน่วยงาน องค์กร ประเทศชาติ จำเป็นต้องมีผู้นำ ที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีส่วนต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร หากองค์กรใดมีผู้นำ หรือผู้บริหารที่มีความร้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม ได้รับการยอมรับนับถือ เลื่อมใส ศรัทธาและให้ความร่วมมือของคนในองค์กร ฯลฯ องค์กรนั้น ก็จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ภาวะผู้นำตามแนวคิดของ Nelson Mandela ที่ชื่นชอบและเห็นว่าน่าจะนำมาใช้กับ สขช. คือ (1) ผู้นำที่มีความกล้าหาญ และ

(2) ผู้นำที่ไม่เน้นถูกผิดแบบ 100 % ความกล้าหาญของผู้นำที่จะฝ่าฟันอุปสรรค กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งความกล้านี้จะเป็นจุดศูนย์รวมใจของคนในองค์กร ให้ร่วมกันนำพาองค์กร(สขช.) ไปสู่จุดหมายสูงสุดได้ ในขณะเดียวกันการทำงานใดๆ หากผู้นำทำงานแบบเถรตรงจนเกินไป ไม่ประนีประนอม ไม่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ก็จะทำให้งานติดขัด ขาดความคล่องตัว ดังนั้นจึงควรมีความยืดหยุ่นในการบริหารงาน/ทำงาน โดยไม่ทิ้งหลักการ ซึ่งน่าจะทำให้งานต่างๆ เป็นไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายให้การยอมรับ

นอกจากแนวคิดของ Mandela ที่ข้าพเจ้าชมชอบดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งเห็นว่าแนวคิดภาวะผู้นำที่ควรนำมาใช้กับ สขช.อีก 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ผู้นำต้องรู้หลักการและจุดหมาย (2) เปิดกว้าง/ ใฝ่รู้ (Listening & Learning) ผู้นำหรือผู้บริหาร ต้องเป็นผู้ที่รู้หลักการ รู้หน้าที่ รู้กฎระเบียบ และต้องตั้งมั่นในหลักการ ไม่โลเลเปลี่ยนแปลงไปมา ผู้นำต้องรู้จุดหมาย ถ้าไม่รู้จุดหมาย ก็ไม่รู้จะนำคน นำ สขช.ไปในทิศทางใด นอกจากรู้แล้วยังต้องมีความชัดเจนและมีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายแม้มีสิ่งใดมากระทบก็ไม่หวั่นไหว รวมทั้งผู้นำต้องเป็นคนเปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น (Listening) ซึ่งการฟังต้องฟังด้วยใจ เพื่อรับรู้ความรู้สึก ปัญหา ความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และควบคู่กับการรับฟัง คือ ผู้นำต้องเป็นคนใฝ่รู้ หาความรู้ใหม่ๆ ทั้งด้านการบริหารงานและคน เพื่อนำมาพัฒนาตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะโลกเราเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา(พรุ่งนี้ไม่มีอะไรแน่) มีความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่องานของ สขช. ที่ต้องร้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น

-------------------------------------------------

พงษ์ศักดิ์ สขช.

1.ประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ที่ผู้นำ สขช.ควรมี คือ

1.1 ความกล้าที่ผู้นำ สขช.ต้องกล้าคิด กล้าปรับเปลี่ยนทั้งในด้าน คน องค์กร โครงสร้าง นโยบาย และเป้าหมายการบริหารงาน

เพื่อนำพาให้องค์กรอยู่รอด เจริญก้าวหน้าและเป็นเลิศด้านข่าวกรอง

1.2 การจัดการบริหารศัตรู ผู้นำ สขช. ต้องรู้เขารู้เรา โดยเฉพาะบุคคล กลุ่มบุคคลที่เป็นศัตรูของชาติและประชาชน ทั้งนี้เพื่อรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของศัตรูเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกิดความเสียหายร้ายแรงใดๆต่อประเทศชาติ

2. ความเป็นผู้นำที่ Mandela ไม่ได้กล่าวแต่ผู้นำ สขช.ควรมี คือ

2.1 การพัฒนาทรัพยากรคนและองค์กรเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ เพราะคนเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะนำพาทรัพยากรอื่นๆและเป้าหมายขององค์กรไปสู่ความสำเร็จและความเป็นเลิศ หากองค์กรใดไม่มีทรัพยากรคนที่มีคุณภาพ คุณธรรม และความคิดสร้างสรร องค์กรนั้นก็จะไม่มีความเจริญก้าวหน้าเพื่อพัฒนาไปสู่ความสำเร็จที่เป็นเลิศได้

2.2 การเปิดกว้างและสร้างเครือข่ายเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งผู้นำ สขช. จะต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มีเหตุมีผลจากทั้งบุคคลภายในและนอกองค์กร เพื่อนำมาใช้ในการปรับแก้องค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีเครือข่ายคอยแจ้งเตือน แบ่งปันข่าวสาร ความรู้ได้อย่างครอบคลุม ครบถ้อน ถูกต้อง แม่นยำ เป็นการเพิ่มพลังให้องค์กรมีความเป็นเลิศเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

พุ่งพงษ์ สุวรรณเลิศ

1.จากแนวคิด 8 บทเรียนภาวะผู้นำของ Mandela เห็นว่ามีความสำคัญ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ สขช.ได้ทุกประเด็น แต่ที่น่าสนใจมี 2 ประเด็น คือ

1.1. ความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจ เนื่องจากงานของ สขช.อยู่ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้นำต้องกล้าหาญ กล้าตัดสินใจ พร้อมรับผิดชอบ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถจุดประกายให้ผู้ร่วมงานทุกระดับ ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายองค์กร

1.2. การรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน (360 องศา) ทั้งจากผู้ใกล้ชิด เพื่อน ผู้ที่มีความเห็นต่าง คู่แข่ง หรือศัตรู เพื่อเป็นก้าวแรกของการทำลายกำแพงกั้น การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายใน/นอกองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจ การสร้างทีมงาน การถ่ายทอดความรู้ "มืออาชีพ" จากรุ่นสู่รุ่นที่ยั่งยืน เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด พฤติกรรมของคน องค์กร ให้ทำงานสอดคล้องกับภารกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายของ สขช.ในที่สุด (Trust Team Tomorrow)

2. แนวคิดที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึง แต่เห็นว่าแนวคิดภาวะผู้นำที่ควรนำมาใช้กับ สขช.อีก 2 ประเด็น คือ

2.1 การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Plan-Do-Ckeck-Act) ซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่าย HR เท่านั้น โดยเฉพาะผู้บริหารในทุกระดับ

2.2 ผู้นำที่มีจริยธรรม คุณธรรม และเป็นแบบอย่าง

จาก 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela ล้วนมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อการนำมาใช้ในการปฎิบัติงานใน สขช.แต่

มีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าหาญ และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลารวมทั้งมี

ความสามารถวิเคราะห์อย่างรอบด้าน (360 องศา) เพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

แต่สิ่งที่ Mandela ไมได้กล่าวถึงและควรที่จะนำมาใช้ใน สขช. คือ ผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากร

มนุษย์ และก้าวทันเทคโนโลยี

สำหรับผมเองแล้วหลังอบรมเสร็จจะยึดหลัก "เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อ

เพิ่มพูนความเก่งงาน เก่งคน และเก่งคิด เพื่อพิชิตความสำเร็จให้แก่ตนเองและองค์กร"

วรวุฒิ บุญเฉลียว

                              บทเรียนผู้นำของ Mandela

ประเด็นทึ่สอดคล้องกับ สขช.

ความกล้าหาญ มีความสามารถในการนำหรือจุดประกายให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามุ่งไปสู่ จุดหมายเดียวกัน ประสบความสำเร็จในงานที่มอบหมาย

การบริหารจัดการศัตรู ต้องรู้และมีความเข้าใจฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างดี โดยศึกษาความสามารถและ จุดอ่อนจุดแข็งของศัตรู เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการเอาชนะศัตรู

ประเด็นที่ไม่ได้กล่าวถึง

กล้าเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น และยอมรับในนวัตกรรม

มีคุณธรรม มีความยุติธรรม มีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้ร่วมงานรวมทั้งองค์กร

บทเรียนที่ได้จากแนวคิดของแมนเดลาที่น่าสนใจมี 2 ประการคือ 1) ความกล้าหาญ ที่จะเปลี่ยนแปลง และ 2) การรอคอยอย่างอดทนและมีความหวังว่า ความฝันที่วางไว้ต้องบรรลุผลสำเร็จ

ประเด็นที่ท่านไม่ได้กล่าวไว้คือ 1) การสอนงาน (coaching) ซึ่งมีความสำคัญและขาดเสียไม่ได้ที่จะต้องมีในสขช. เพราะประสบการณ์ของพี่ๆๆคือบทเรียนของน้องๆๆ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ประเด็นสำคัญของแมนเดลาที่ผู้นำ สขช.ควรมีคคือ

1. ความกล้าหาญ สามารถโน้มน้าวให้คนในองค์กรเห็นพ้องในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ เป็นแแบบอย่างให้คนอื่นๆเป็นเลิศ

2.รู้ว่าจังหวะไหนจะพอและจะถอย รู้จักรุกและรับในเวลาเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปรับวิธีคิดและการทำงาน จึงสำเร็จ

ประเด็นที่แมนเดลาไม่ได้พูดถึง แต่ผู้นำ สขช.ควรมี คือ

1. จริยธรรมและคุณธรรม เพราะจำเป็นเป็นมากในการยึดเป็นหลักในสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญกำลังใจ

2. กล้าเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถปรับทั้งวิธีคิดและการปฏิบัติที่ต่างออกไป แต่สามารถให้ผลดีต่อองค์กร

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นผู้นำ สขช.คือต้องมีความกล้าหาญที่จะยืนหยัด และทำในสิ่งที่ถูกต้อง (do the right thing) ไม่ว่าจะมีแรงกดดันจากฝ่ายใด ผู้นำ สขช.จะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าอะไรคือ purpose ของ สขช. และต้องใช้วิธีใดในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างสง่างาม

- แนวความคิดในการเป็นผู้นำของ Mandela ที่นิยมและน่านำไปพิจารณาก็คือ ความกล้าหาญ การเป็นผู้นำที่อยู่ข้างหน้ารวมทั้งการเป็นผู้นำในลักษณะประนีประนอม

- สำหรับลักษณะผู้นำของ สขช. คิดว่ามีลักษณะผู้ที่มีความฉลาด มีไหวพริบ มุ่งมั่น ศรัทธาในวิชาชีพอย่างแรงกล้า พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้และเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่หวาดหวั่น ในขณะเดียวกันต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย

อัญชลิภรณ์ สว่างภูมิ

ชอบidea ที่ 8 ของนาย Mandela ที่ว่า การเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่าจังหวะไหนจะ "พอ" หรือจะ "ถอย" ซึ่งหมายความว่า ผู้นำคนนั้นมีสติที่สามารถบังคับหรือบริหารกิเลสในตัวเองได้ นอกจากนี้ยังบ่งชี้ให้เห็นด้วยว่า เขาสามารถลดละทิฐิไม่ทำร้ายตัวเอง และผู้อื่นให้ต้องเสียหานเดือดร้อน

ผู้นำแบบที่ สขช.น่าจะมี น่าจะเป็นผู้นำที่มีความสามารถพิเศษเหนือคนอื่น เช่น การอ่านใจคน ซึ่งนาย Mandela มิได้กล่าวถึง

เกรียงศักดิ์ สืบสายหาญ

จุดเด่น

๑. ความกล้าหาญ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำจะต้องมี และต้องพร้อมแสดงออกให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือคนรอบข้างได้เห็นและเข้าใจด้วย ความกล้าหาญไม่ใช่ความกล้าบ้าบิ่นหรือการวิ่งเข้าปะทะกับปัญหา/อุปสรรค แต่ความกล้าหาญคือการพร้อมรับมือและเผชิญหน้ากับอุปสรรค อย่างมีสติ

๒. การประนีประนอม รักษาหลักการแต่ต้องคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของเรา ยุติการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

สิ่งที่ขาด

การทำงานเป็นทีม ในโลกยุคปัจจุบัน การทำงานแบบ “อัศวินขี่ม้าขาว” หรือ “Lone Ranger” ไม่น่ามีอีกแล้ว การทำงานเป็นหมู่คณะ น่าจะช่วยเสริมจุดอ่อนเพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กรทั่วไปได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และเตรียมฝึกคนรุ่นใหม่ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคตได้เป็นอย่างดี

------------------------------------------

เกรียงศักดิ์ สืบสายหาญ

๖ ก.พ.๕๓

1. ผู้นำตามแนวคิดของ Mandela ที่ผู้นำใน สขช. ควรมีคือ "ความกล้าหาญ" ซึ่งเป็นความสามารถที่จะจุดประกายและแรงบันดาลใจให้คนอื่นก้าวตาม (หรือเป็น role model) เพื่อไปสู่ความเป็รเลิศ และเมื่อคนอื่นๆ เกิดประกายมุ่งมั่นทำงาน ผู้นำ สขช. ควร "สนับสนุนยกย่องให้บุคคลเหล่านั้นนำได้อย่างสมศักดิ์ศรี" ขณะเดียวกันก็ควรยึดแนวทางการประนีประนอมที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกัน

2. สิ่งที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึงแต่เห็นว่า สขช. ควรนำมาใช้ ได้แก่ (1) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร และ (2) การทำงานเป็นทีม

ธัญลักษณ์ พยัคฆ์เกษม

1) ผู้นำยุคใหม่ของ สขช. ควรมีความกล้าหาญทีเป็นการจุดประกายในการนำองค์กรให้สามารถก้าวไปสู่จุดของความเป็นเลิศอย่างถูกทิศถูกทาง และสามารถรุก ตั้งรับ และไม่ประมาท รวมทั้งรู้จังหวะที่จะ "พอ" และ "ถอย" ตลอดจนต้องมีความสามารถในการสิเคราะห์รอบด้านเพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

2) สิ่งที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึง 2 ข้อ ได้แก่

2.1 การพัฒนาคน

2.2 ความเชื่อ/ศรัทธา

ธัญลักษณ์ พยัคฆ์เกษม

1) ผู้นำยุคใหม่ของ สขช. ควรมีความกล้าหาญทีเป็นการจุดประกายในการนำองค์กรให้สามารถก้าวไปสู่จุดของความเป็นเลิศอย่างถูกทิศถูกทาง และสามารถรุก ตั้งรับ และไม่ประมาท รวมทั้งรู้จังหวะที่จะ "พอ" และ "ถอย" ตลอดจนต้องมีความสามารถในการสังเคราะห์รอบด้านเพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

2) สิ่งที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึง 2 ข้อ ได้แก่

2.1 การพัฒนาคน

2.2 ความเชื่อ/ศรัทธา

แนวคิดเรื่องภาวะผู้นำของ Mr.Nelson Mandela อดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ ที่น่าชื่นชอบได้แก่

1. มีความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ (Idea) ที่จะช่วยคนผิวดำแอฟริกาใต้ให้หลุดพ้นจากการเหยียดผิดของรัฐบาล

2. มีการเรียนรู้ (Learning) โดยใช้สติและปัญญาคิดหาเหตุผลที่จะสร้างความปรองดองระหว่างคนผิวขาวและผิวดำ แทนการคิดล้างแค้นคนผิวขาว ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดสันติภาพอย่างถาวรในประเทศ

สิ่งสำคัญที่ Mandela ไม่ได้พูดถึงและสามารถนำมาใช้ใน สขช. ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม และ การสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร โดยการกำหนดค่างตอบแทน สวัสดิการที่เหมาะสม ยุติธรรม การโยกย้าย แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งที่โปร่งใส เป็นธรรม รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

คุณลักษณะของผู้นำใน สขช.ที่ Mandela ไม่ได้พูดถึง 2 ข้อ คือ

1. การมีคุณธรรม และจริยธรรม

2. การมีมโนทัศน์ (Vision) ที่มองไกลไปข้างหน้า

นายเนลสัน แมนเดลล่า ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นผู้ที่สามารถนำพาบุคคลจำนวนมาก (ส่วนใหญ่ของประเทศ) ให้มีความคิดร่วมกันที่จะเดินไปสู่จุดหมายขององค์กร (ประเทศ) ที่จะให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม (ประเทศ) จากการกดขี่ของชนผิวขาว ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ที่เข้ามาปกครองสังคม (ประเทศ) โดยต้องยอมเจ็บปวดจากผลของการกระทำต่าง ๆ แต่ไม่ยอมที่จะล้มเลิกความคิดและต่อสู้ต่อไปจนคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับความคิดของนายแมนเดลล่า จนสามารถที่จะต่อสู้จนประสบผลสำเร็จได้ ดังนั้นการที่นายแมนเดลล่าจะก้าวมาถึงจุดนี้จะต้องใช้วีธีการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าบุคคลสำคัญของประเทศอื่น ๆ ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, พระเจ้าตากสิน, มหาตมะ คานธี, โฮจิมิน เป็นต้น

สิ่งที่นายแมนเดลล่า พูดไว้แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ยังขาดอยู่ในการที่จะนำมาใช้ในองค์กรระดับต่าง ๆ คือ ประการที่หนึ่ง ภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะแล้ว นายแมนเดลล่าควรจะต้องนำในด้านความคิดที่จะให้บุคลลส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้น มีความปรองดองกับบุคคลที่เป็นศัตรู (ตามหลักการข้อเจ็ด) เพื่อที่จะให้สังคมในห้วงต่อไปเกิดความสงบ สินติ และสามารถที่จะร่วมกันพัฒนาสังคม (ประเทศ) ต่อไปได้ด้วยกัน ส่วนประการที่สอง คือ จะต้องเร่งหาจุดมุ่งหมายใหม่ ที่ต้องการจะให้สังคม (ประเทศ) เป็นไป เพื่อให้สังคมได้ร่วมกันดำเนินการต่อหลังจากที่ได้ร่วมกันจนได้รับชัยชนะมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยจะต้องเป็นจุดมุ่งหมายที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ และให้แสดงเจตนารมย์ร่วมกันที่จะร่วมกันเดินไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดพลังแห่งสังคม (ประเทศ หรือองค์กร) ต่อไป

ประเด็นที่ชอบความเป็นผู้นำของแมนเดลาคือ

1. ผู้นำควรมีความกล้าหาญที่จะจุดประกายให้คนอื่นมีความหวัง

2. ผู้นำต้องอยู่ข้างหน้า คือต้องกล้ารุก กล้านำ

3. รู้จักศัตรู คือต้องรู้จุดอ่อน และจุดแข็งเพื่อที่จะนำมาใช้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ในการต่อสู้

ประเด็นที่อยากให้ผู้นำในองค์กรทุกๆ แห่ง นอกเหนือจากของแมนเดลา คือ

1. ผู้นำควรมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ ตลอดจนปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

2. มีความองอาจ สง่าผ่าเผย กล้าพูดกล้าทำ กล้าคิด

3. ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

4. ผู้นำควรมีเสน่ห์ ดึงดูดให้ลูกน้องเข้าหา

Mandela ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้

1. คน

Mandela กล่าวถึงเฉพาะการเป็นผู้นำเท่านั้นแต่ไม่ได้กล่าวถึงคนซึ่งเป็นปัจจัยหรือทุนขององค์กรเพียงแต่กล่าวถึงการเป็นผู้นำเท่านั้น ถ้าผู้นำไม่มีคนอยู่ภายใต้การจัดการ/เคลื่อนไหวก็นับว่ายังไม่ใช่คำจำกัดความว่าผู้นำ

2. องค์กร

Mandela ไม่ได้กล่าวถึงองค์กรเช่นเดียวกัน แต่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและคุณค่าของมนุษย์ การอยู่ร่วมกันทั้งการบริหารศัตรูให้เป็นมิตร

ความคิดของ Mandela ที่น่ายึดถือ

1. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี หมายถึงการไม่มีจุดด่างพร้อยทั้งด้านจริยธรรมและมโนธรรม

2. การเป็นผู้นำต้องรู้จังหวะในการบริหาร ซึ่งนอกจากจะหมายถึงคำว่าพอเพียงแล้ว ควรมีวิสัยทัศน์ในการพิจารณาไตรตรอง และสามารถวิเคราะห์สิ่งถูกผิดท่านกลางความเชื่อหรือยั่งยุของบุคคลรอบข้าง

ผู้นำของโลกอย่าง Nelson Mandela มีลักษณะของการเป็นผู้นำ ที่ความน้อมนำมาปฏิบัติคือ การเป็นผู้นำที่อยู่ข้างหน้า แต่อย่างเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทบทวนกระบวนการขับเคลื่อนองค์กรทั้งระบบอย่างมีคุณธรรมและ ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ภาษาท่าทาง ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง สำหรับสิ่งที่ Mandela ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งผู้นำ สขช.ควรมีเพื่อนำพาองค์กร ประเทศชาติไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงปลอดภัย ประกอบด้วย ความซื่อสัตรย์ สุจริต หิริ (ละลาย ต่อบาป) โอตับปะ (เกรงกลัวต่อบาป) ขันตอ และ โสรัสจะ

กรณีของคุณยรรยง เป็นกรณีที่ข้าราชการประจำถูกนักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ และถูกวางตัวให้รับผิดชอบเมื่อเกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งผมคิดว่าคุณยรรยงคงจะทราบดีอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะผู้บังคับบัญชาคือ รมต.สั่งให้มาชี้แจงต่อ ครม. อีกทั้งยังอาจหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนให้เป็นปลัดกระทรวงฯหากทำงานชิ้นนี้สำเร็จ อย่างไรก็ตามคุณยรรยงน่าจะใช้วิธีการชี้แจงต่อ ครม.ที่รอบคอบและนิ่มนวลมากกว่านี้ โดยให้ข้อมูลอย่างละเอียด เน้นที่ประโยชน์ซึ่งรัฐหรือเกษตรกรจะได้รับเป็นหลัก แล้วค่อยโน้มน้าว ครม.โดยอ้างว่าได้ปรึกษากับ รมต.ของตนแล้ว มากกว่าการอ้างถึงการอนุมัติของ ครม.ชุดก่อน แล้วมาทำเหมือนบังคับให้ ครม.ชุดนี้เห็นชอบด้วย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นวิธีการที่พอจะช่วยให้คุณยรรยงเอาตัวรอดได้ หรือไม่เจ็บตัวมากนัก

ผมเห็นด้วยกับข้อวิเคราะห์และคำวิจารณ์ของท่านอาจารย์จีระ เรื่องศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.ครับ และใคร่ขอเสริมคำภาษิตไทยเพิ่มเติมอีกนิดว่าคุณยรรยงมีลักษณะเข้าข่าย "ยอมตายแทนนาย" ซึ่งจะทำให้เข้าใจคุณยรรยงได้ง่ายขึ้นในกรณีนี้ ส่วนจะได้อะไรตอบแทนจากนายนั้น ผมไม่กล้ายืนยันครับ

1. ลักษณะของ สขช. ที่ Mandela ไม่ได้พูด 2 อย่างคือ

1.1. การ Comport mentation คือการ Cut out คามลับของแต่ละส่วนงานในลักษณะการทำงานแบบ Top – Down รู้เท่าที่จำเป็น (need to know)

1.2. การบริหารแบบไม่สร้าง Motivation ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสนองตอบ ตามหลักทฤษฎีของแมนเดลา คือการต้องการความมั่นคงในชีวิต ความก้าวหน้าในชีวิตราชการและเป้าหมายสูงสุดของตนเองและองค์กร

2. ลักษณะที่ สขช. ควรนำใช้ดังนี้

2.1. การจัดการบริหารศัตรู

ควรจะศึกษาศัตรูให้ดีว่าศัตรูชอบอะไรเกลียดอะไร เพื่อที่จะสามารถหาจากฝ่ายตรงข้ามได้ ควรใกล้ชิดกับคู่แข่ง หรือคนนี้ไม่ชอบ สขช. จะไมสนใจคู่แข่งหรือศัตรูไม่ได้ (ยิ่งเกลียดก็ยิ่งเข้าใกล้) เพื่อให้รู้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของศัตรูเพื่อจะได้วิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้อง

2.2. การเป็นผู้นำของ สขช.อย่าถูกหรือผิดแบบ 100% การบริหารต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทางมีการประนีประนอม ที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้และหาทางตกลงกันได้แบบ Win Win

สิ่งที่แมนเดลลาไม่ได้พูด แต่ควรนำมาปรับใช้กับ สขช.

1. ผู้นำองค์กรจะต้องมีจิตสำนึกที่จะต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเปิดโลกทัศน์ในวงกว้างตลอดเวลาเพื่อให้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ อันจะนำสู่การปรับยุทธศาสตร์ขององค์กร ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาศักยภาพผู้ใต้บังคับบัญชาไปพร้อมกัน

2. นอกจากผู้นำจะต้องมีจิตสาธารณะต่อการเข้าถึงสภาพจิตใจของเพื่อนร่วมองค์กรแล้ว ผู้นำจะต้องมีจิตสาธารณะต่อการเข้าถึงสภาพจิตใจของเพื่อนร่วมองค์กรแล้ว ผู้นำ สขช. ควรจะต้องสร้างเครือข่ายพันธะมิตร กับประชาคมข่าวกรองหรือหน่วยงานที่จะเอื้อประโยชนต่อการบริหารหรือพัฒนาองค์กรทั้งในและต่างประเทศไปพร้อมกัน

3. ต้องกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาใน สขช. ให้มีส่วนร่วมในการนำเสนอวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพงานการข่างกรอง รวมถึงการนำเสนอจุดอ่อนหรือประเด็นปัญหาที่ต้องปรับแก้ในทุกมิติ พร้อมหาจุดร่วมการกำหนดแนวทางแก้ไข

4. ต้องให้ความสำคัญแก่การรักษาคำพูด การตัดสินใจและการดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ ทั้งนี้รวมถึง ผู้เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวัสดิการ การไปเยี่ยมเยือนดูแลการเจ็บป่วย ตลอดจนการหมั่นสอบถามทุกข์สุข เพื่อให้ได้ใจของคนในองค์กรนำสู่การทุ่มเทเพิ่มประสิทธิภาพของคนใน สขช.

Workshop

ถ้าจะทำเรื่อง HR ให้ประสบความสำเร็จเป็น รูปธรรม - เน้นปลูกข้าวและเก็บเกี่ยว แต่ละโต๊ะลองวิเคราะห์ How? Why? Execution ว่า จุดแข็งและจุดอ่อนคืออะไร? และยกตัวอย่างวว่า ในกรณีไหนบ้างที่ How? Why? และ Execution ประสบความสำเร็จพร้อมกัน ใช้ Flipchart

 

 

การเรียนรู้ที่ได้รับและเป็นประโยชน์อย่างมาก ในลำดับแรก การค้นหาตัวตนท่แท้จริงของตนเอง หากค้นหาได้ในการปรับเปลียนองค์กร และประเทศไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหาเกิดขึ้น เพราะทุกคนเข้าข้างตนเอง ไม่ยอมรับความคิดเห็นจากผู้อื่น การสร้างองค์ความรู้ทำให้เราเห็นตัวตนของตนเองมากขึ้น

การจะนำไปใช้ในโอกาศต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จากการเรียนรู้ เราต้องมีความตั้งใจจริง สิ่งท่เราเจอก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกเช่นกัน ประโยชน์ในครั้งนี้ หากมีการสัมมนา รุ่นท่ 1 - 3 (เฉพาะหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ) มาจัดในรูปของการสัมมนา หาสถานที่มีบรรยาศท่สบาย ๆ ไม่มีเรื่องงานเกี่ยวข้อง แล้วค้นหาตนเองอีกครั้ง ก็คงเกิดประดยชน์ท่นำความรู้ท่ได้รับมาปรับให้ถูกทากง กดีกว่าเรียนรู้ไปแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น คิดว่าทุกคนคิดเองได้ยาก เชื่ออย่างนี้จริง ต้องมีการทดสอบว่าเข้าใจ และยอมเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่........

การเรียนรู้ที่ได้รับและเป็นประโยชน์อย่างมาก ในลำดับแรก การค้นหาตัวตนท่แท้จริงของตนเอง หากค้นหาได้ในการปรับเปลียนองค์กร และประเทศไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหาเกิดขึ้น เพราะทุกคนเข้าข้างตนเอง ไม่ยอมรับความคิดเห็นจากผู้อื่น การสร้างองค์ความรู้ทำให้เราเห็นตัวตนของตนเองมากขึ้น

การจะนำไปใช้ในโอกาศต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จากการเรียนรู้ เราต้องมีความตั้งใจจริง สิ่งท่เราเจอก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกเช่นกัน ประโยชน์ในครั้งนี้ หากมีการสัมมนา รุ่นท่ 1 - 3 (เฉพาะหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ) มาจัดในรูปของการสัมมนา หาสถานที่มีบรรยาศท่สบาย ๆ ไม่มีเรื่องงานเกี่ยวข้อง แล้วค้นหาตนเองอีกครั้ง ก็คงเกิดประดยชน์ท่นำความรู้ท่ได้รับมาปรับให้ถูกทากง กดีกว่าเรียนรู้ไปแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น คิดว่าทุกคนคิดเองได้ยาก เชื่ออย่างนี้จริง ต้องมีการทดสอบว่าเข้าใจ และยอมเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่........

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

-หลังได้รับการอบรมกับอาจารย์จีระฯ เกือบ 3 วัน มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เห็นชัดเจนคือการเริ่มอ่านหนังสือ

และค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งปกติแล้วไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือมากนัก

การนำไปใช้ในองค์กร

-ขณะนี้ยังไม่ได้นำไปใช้ในองค์กร แต่เมื่ออบรมเสร็จแล้วจะนำความรู้ไปใช้กับตนเอง และนำไปพัฒนาบุคคลากร

ภานในงานที่ตนรับผิดชอบ ด้วยการสอนงานลูกน้อง ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวม

การสร้างเครือข่ายและบริหารจัดการเครือข่าย เพื่อให้นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร

ประโยชนที่เกิดกับประเทศชาติ

-คิดว่าหากบุคคลากรมีคุณภาพและทุกคนในองค์กรร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง สขช.เป็นองค์กรแห่งความรู้และมีคุณ

ธรรมและจริยธรรมแล้ว สขช.น่าจะมีส่วนในสร้างความมั่นคงแห่งชาติและความผาสุกของประชาชนได้

ส่งที่จะทำในอนาคต

-นำสิ่งที่ไดรับไปพัฒนาตนเองทุกวัน ต่อเนื่อง และทำตลอดไป ส่วนการกระทำในระดับหน่วยงานและในระดับองค์

กรนั้นยังไม่แน่ใจว่าจะกระทำได้มากน้อยเพียงไร คงขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บังคับบัญชา และท่าทีการยอมรับของ

เพื่อนร่วมงานว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่

"การปรับวิธีคิด" อ.จีระให้แนวคิดหลายเรื่องแต่ที่ผมได้จริงๆ มาจากการกระทำของอาจารย์ที่สะท้อนถึง "จิตสาธารณะ" ในส่วนลึกที่เป็นตัวตนของอาจารย์เอง ผมจะพยายามคิดถึงเพื่อส่วนรวมก่อนเสมอ อีกนัยหนึ่งคือการคิดแบบองค์รวม

"การนำไปช่วยองค์กรให้เกิดประโยชน์" ผมเป็นที่ปรึกษาของน้องๆ บางคนที่ทำงานด้านแผนของสำนัก 6 (เป็นสำนักเก่าที่ผมเคยทำอยู่นาน 8 ปี) ผมให้กำลังใจในเรื่องของคน คุณค่า และศักยภาพของพวกเขา รวมทั้งตัวน้องคนนั้นเองให้พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Do the right thing) เพื่อให้สำนักเดินหน้าอย่างมั่นคง

"อยากทำอะไรต่อ" ปัจจุบันผมย้ายไปที่สำนักใหม่ซึ่งมีวิธีการทำงานที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง (ไม่อยากใช้คำว่า "วัฒนธรรมการทำงาน" :)) ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์ ในความเห็นของผม พวกเขามีศักยภาพในการทำงานสูง ออกจะติด routine ไปนิด แต่เรื่องงานไม่มีปัญหา อย่างหนึ่งที่มองเห็นคือ หลายคนให้ความสนใจทักษะการบริหารน้อยไป ซึ่งเป็น Capacity ที่ควรขยาย ผมจะใช้วิธี Domino ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความหวังว่าจะได้อะไรบ้าง ท่าน ผขช.บอกว่า ทำได้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่รอให้ใหญ่ก่อน เพราะไปถึงตอนนั้นแล้วอาจไม่มีโอกาสได้ทำเลย

ขอบคุณอาจารย์ที่กลับมาเป็นอาจารย์ของศิษย์อีกครั้ง

ปิยะ

ตลอดระยะเวลา 3 วัน ที่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ ทำให้ผมเล็งเห็นว่าจะต้องปรับวิธีการคิดและวิธีการทำงานในหลายเรื่อง ที่สำคัญคือ ความจำเป็นขององค์กรที่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนในทุก ๆ ด้าน มิใช่เฉพาะความรู้ในสายงานวิชาชีพของ สขช.เท่านั้น เพราะคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรและสังคม

ความรู้ที่ได้รับจากท่านอาจารย์ เชื่อว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ขับเคลื่อน และกระตุ้นศักยภาพของทีมงาน ให้ร่วมกันทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถและทำงานอย่างมีความสุข โดยมีเป้าประสงค์สุดท้ายคือ ความมั่นคงของชาติ ตามวิสัยทัศน์ของ สขช.

หลังจากที่จบการอบรมหลักสูตรนี้ไปแล้ว คิดว่าคงจะต้องกระตุ้นตัวเองและเพื่อนร่วมงานให้ใช้เวลาว่าง ขวนขวายหาความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องรอโอกาสให้มีการเปิดหลักสูตรการฝึกอบรม

สำหรับตัวผมเองสิ่งที่ได้รับจากอาจารย์จีระคือการปรับวิธีคิด และการมีความสุขกับการทำงาน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ผมตั้งใจว่าจะนำไปปรับใช้กับน้องๆในส่วนงานของผมเพื่อพัฒนาให้เป็นทีมงานที่ดีของสำนัก แล้วค่อยๆขยายไปสู่ระดับที่กว้างขึ้นโดยร่วมมือกับเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมในสำนักเดียวกันและสำนักอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ผมตั้งใจว่าจะทำต่อไปคือการขยายและดำรงไว้ซึ่งเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรให้มากยิ่งขึ้นทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยใช้งานในความรับผิดชอบ และงานด้าน HR เป็นตัวเชื่อมโยง

กรณีประมูลข้าวโพด เห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่า นักการเมืองควรนำด้วยคุณธรรม ธรรมาภิบาล และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ในส่วนนี้น่าจะมีการจัดตั้งสถาบันพัฒนานักการเมือง สำหรับข้าราชการประจำนั้นก็ควรที่จะทำงานโดยยึดความถูกต้องและผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก น่าจะมีกลไกที่จะปกป้องข้าราชการประจำที่ทำในสิ่งที่ถูกต้องให้ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง หรือถ้ามีกลไกอยู่แล้วก็น่าที่จะนำมาใช้อย่างเต็มที่

ตลอดระยะเวลาที่มีโอกาสรับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ จากอาจารย์ สิ่งที่ได้รับที่ตนเองเห็นว่า

เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือการมองคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สำคัญขององค์กร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมองให้

ลึกเข้าไปในตัวคนโดยเฉพาะด้านจิตใจอีกว่า ความเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมและสังคม นอกจากนี้ยัง

เห็นถึงการสร้างคน สร้างหรือปรับทัศนคติเพื่อให้มีความสุขกับการทำงานอีกด้วย

และเมื่อมีความสุขในการทำงานแล้ว แน่นอนที่สุดคือองค์กรจะได้ประโยชน์โดยตรงในด้านประสิทธิภาพของงาน

และหากมีการปรับกระบวนการคิดการวิเคราะห์ยิ่งทำให้งานดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องมีการ

เรียนรู้ตลอดไปและที่สำคัญที่สุดคือการมีจิตสำนึกเพื่อสังคม แล้วประเทศไทยของเราก้าวไปตามที่หลายคนอยากเห็น

ในห้วงระยะเวลาที่ได้รับการถ่ายถอดวิชาความรู้และประสบการณ์ ได้ผลสรุปสั้นๆ คือ

1. นำไปใช้กับตนเองและดูครอบครัว โดยยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนา

2. ใช้ HR ที่ได้รับการฝึกอบรมไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร เพื่อจุดประกายให้แต่ละบุคคลเพื่อให้เข้าในในการพัฒนา

3. ประโยชน์ HR สามารถสร้างการขับเคลื่อนได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงจักรเฟืองตัวเล็กๆ

4. พยายามรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างยั่งยืน

- จากการเข้ารับการอบรมกับอาจารย์ 3 วัน : ได้อะไร...บ้าง คงต้องตอบว่าหลากหลาย และคงไม่ใช่เนื้อหาวิชาการเพียงอย่างเดียว

แต่ด้วยบุคคลิก การเป็นตัวตนของอาจารย์เอง ในรูปแบบของอาจารย์เอง ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกที่เป็นอิสระ

- สำหรับสิ่งที่อาจารย์สอนและสามารถนำมาปรับใช้ได้เกี่ยวกับ ”การปรับวิธีคิด” คือ การคิดและรู้จักที่จะเป็นผู้ให้ และการค้นหาตัวเองให้ได้ เหมือนที่อาจารย์เป็น

- การนำไปปรับใช้กับองค์กร มีแนวคิดการ Coaching ที่น่าสนใจและนำมาทำร่วมกับการให้คำปรึกษา และการเป็นพี่เลี้ยง รวมทั้งการเป็นผู้กระตุ้นให้งานสำเร็จ เป็นรูปแบบที่ดีมาก

- ที่สำคัญคือต้องทำ และอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

- ขอบคุณ อาจารย์ มากค่ะ ที่เข้ามาเปิดโลกทรรศน์ของพวกเรา แค่วิธีตั้งโจทย์ของอาจาย์ก็เป็นแนวทางให้ไปปรับใช้กับการทำงานได้แล้วค่ะ

ประโยชน์ที่ได้รับสำหรับตนเองคือการมองตนเองให้ถ่องแท้ว่าเราเป็นใคร อย่างไร และปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และจะยังคงยึดมั่นในการนำวิชาความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติให้เป็นผล ทั้งกับส่วนตนและกับผู้ร่วมงาน ส่วนองค์กร ทำให้เข้าใจว่า การพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ คนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่เน้นผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ

3 วันที่ผ่านมาเห็นว่า ในภาพรวมสิ่งที่เรียนรู้เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ที่เป็นประโยชน์มากคือ เรื่อง lifelong learning การเป็น learning organization การปรับ mindset เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาให้ สขช. ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สำหรับส่วนที่เหลือสามารถนำไป refine คุณสมบัติประจำตัวของ จนท.สขช. ที่ส่วนใหญ่ผ่านการอบรมขั้นพื้นฐานในด้านการเป็นผู้นำ(เครือข่าย) มาบ้างแล้ว เรื่องที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติมคือเรื่องการปลูกฝังค่านิยมขององค์กร การสร้างขวัญกำลังใจ การ indoctrination

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ ดร.จีระ.ฯในช่วง 3 วันที่ผ่านมา

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความประทับใจในความสามารถ รอบร้ของอาจารย์.ฯที่ให้ความสำคัญในการสร้างคน ท่านอาจารย์สามารถนำความร้และประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ศิษย์ได้อย่างดีเยี่ยม ผมประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ผมมีพลังไปทำงานรับใช้ชาติใน พท.จชต.สำหรับสิ่งที่รับคือ

(1) ความร้และทักษะในการสร้างผ้นำที่ดี ต้องมีคุณธรรม,ซื่อสัตย์,ขยันและอดทน และที่สำคัญอาจารย์พยายามปลูกฝังให้พวกเราทุกคนต้องเรียนร้ตลอดชีวิต อันนี้สำคัญเพราะผมก็เป็นคนชอบอ่านหนังสือทุกประเภทที่ให้อาหารสมอง การทำงานข่าวพื้นฐานสำคัญต้องเป็นนักค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำมาประมวลตกผลึกทางความคิค ต้องเป็นนักวิเคราะห์ที่ดี หากไม่มีข้อมูลและประสบการณ์ที่ดี จะเอาอะไรเป็นพื้นฐานไปวิเคราะห์

(2) สามารถนำความร้และเทคนิคการถ่ายทอดของอาจารย์ ซึ่งหาไม่ได้จากตำรา และที่สำคัญคือระบบคิคของอาจารย์ถือว่าชั้นยอดไม่น้อยหน้านักวิชาการต่างประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่นำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานใน สขช.

(3) นำองค์ความร้ที่ได้จากอาจารย์ไปสร้างกระบวนการเรียนร้ เพื่อพัฒนาบุคคลากรของ สขช.เพื่อนำองค์กรส่ความเป็นเลิศของหน่วยข่าวทั้งในและต่างประเทศ ตามที่เราใฝ่ฝันไว้

(4) นำเทคนิคการถ่ายทอดความรู้เช่นการระดมสมอง,การมีส่วนร่วม และการสอนงาน ไปถ่ายทอดเพื่อนและน้องในทีทำงานของแต่ละคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งคนและงาน เพื่อเป้าหมายสู่องค์กรข่าวที่เป็นเลิศทั้งในและต่างประเทศ

1. สื่งที่ได้รับจาก ดร.จิระ คือกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร โดยมองจากระดับ Macro สู่ระดับ Micro

2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน และพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้มีสมรรถนะและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองให้มากที่สุด

3.สิ่งที่จะทำต่อไป นอกจากจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ตามข้อ 2 แล้ว จะนำสิ่งที่ได้รับไปเผยแพร่ แนะนำ ให้ความรู้แก่บุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้รับความรู้ และนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ศังกร สมานพันธ์

กรณีคุณยรรยงมีความเห็น 2 ประการคือ

1 การเป็นคนเก่ง-คนดียังไม่เพียงพอต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการรับราชการ โดยเฉพาะในสังคม-การเมืองไทย

ซึ่งข้าราชการมักตกเป็นเครื่องมือในการแสวงประโยชน์ของนักการเมืองตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังไม่โง่ให้นักการเมืองหลอกใช้

2 การตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับความสำเร็จซึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้องคือ ประสบการณ์ ทั้งประสบการณ์ของตนเอง และประสบการณ์ของทีมงาน/ผู้ชำนาญงานอื่นประกอบ(ไม่ควรคับแคบ-เปิดกว้างรับฟัง

ผู้อื่นด้วย)

การศึกษาในหลักสูตร "การพัฒนาภาวะผู้นำ" ที่ได้ศึกษากับท่านอาจารย์จีระ ทำให้ได้กลับมาสำรวจตัวเอง จึงรู้ว่ายังมีความรู้อีกมากมายบนโลกใบนี้ ที่ต้องแสวงหา ต้องเติมเต็ม และจะต้องพยายามเก็บเกี่ยวให้มากที่สุด

ในลำดับแรก จะนำความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งในด้านการบริหารคน การพัฒนา การสอนงาน (Coaching) รวมทั้งจิตวิทยาต่าง ๆ

ไปปรับใช้กับเพื่อนร่วมงาน ในสำนักของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ สขช. เป็นองค์กรแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

กรณีที่ได้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม อยากจะศึกษาในเรื่อง ทุนทางอารมณ์ Creative Thinking กับท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ค่ะ

จะนำไปใช้พัฒนาตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศมั่นคง โดยประโยชน์ที่จะนำไปทำคือใฝ่รู้มากขึ้น

เรื่องผู้นำกับการบริหารบุคคล

1. การทำงานเกี่ยวกับการบริหารบุคคล ผู้นำต้องมีหลักการที่ถูกต้องสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง และเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย โดยผลประโยชน์จะต้องอยู่ที่องค์กรไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

2. การบริหารบุคคลภายในองค์กรปัจจุบันมีทั้งส่วนดีที่ควรดำรงไว้ และส่วนที่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง การปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้ที่ตัดสินใจ

3. การปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดคือการเริ่มเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยการสำรวจตนเองหลังจากนั้นเริ่มปฏิบัติให้เป็นผล แล้วขยายไปสู่บุคคลอื่นๆ ภายในองค์กรไม่ควรมองว่าองค์กรมีปัญหาปัญหาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากคิดเช่นนั้นการพัฒนาก็จะไม่เกิดขึ้น

1. การฝึกรู้สติและสำรวจตนเองตลอดเวลา ที่สำคัญคือต้องเพิ่มการเรียนรู้ให้มากขึ้นอีก รวมถึงการเปิดกว้างกับ New Knowledge ให้มากขึ้น (จะเพิ่มความถี่ในการเข้าร้านหนังสือด้วยค่ะ โดยเฉพาะร้านคิโนะคูนิยะ)

2. มีส่วนร่วม (Share) ในการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายร่วมกัน และเป็น Coaching ที่ดี

3. ทำหน้าที่และรับผิดชอบในฐานะคนไทยอย่างดีที่สุด

4. หลังจากเรียนจบแล้ว สิ่งแรกที่จะกระทำคือกลับไปอ่านหนังสือต่างๆ ที่ซื้อไว้ให้หมดก่อนเลยค่ะ

กราบขอบพระคุณอาจารย์ธีระ ที่กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่ายิ่ง เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ดังกล่าว นับว่าเป็นศิลปะสำคัญอย่างมาก และเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของเราทุกคนตลอดเวลา

นายอัมรินทร์ ศรีหิรัญ

จากการอบรม HR For non-HR ทำให้ทราว่า "คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร" การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ จะต้องมีการ "สร้างและพัฒนาคน" อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตามแนวคิดทฤษฎี 3 วงกลม คือ 1) Context ขององค์กรที่เอื้ออำนวย 2) competencies ของคนว่ามี skills และ cametecies อะไรและขาดอะไร และ 3) Motivation ที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงกับการทำงาน การสร้างและพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องและยั่งยื่น จะช่วยให้องค์กรแข็งแรง มีคุณภาพมีวัฒนองค์กร คุณธรรมจริยธรรม แรงจูงใจ ที่เอื่ออำนวยให้ จนท. สร้างผลงานที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น มากขึ้นอย่างยั่งยืนและสมดุล ส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงตามไปด้วย

นายเกรียงศักดิ์ สืบสายหาญ

ประโยชน์ที่ไดัรับจากการเรียนและจะนำไปใช้

๑. ตนเอง

สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจนคือเป็นการสอนที่ช่วยจุดประกายให้กับการเริ่มต้นคิดอย่างเป็นระบบของตนเองอีกครั้งหนึ่ง หลังจากละเลยเนื่องจากสนใจแต่การทำงาน/ปฎิบัติภารกิจตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมานานพอควร

จากนั้น คิดว่าจะต้องเร่งพัฒนาตนเองในประเด็นของการแสวงหาความรู้ (Learning Culture) โดยองค์รวมต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งไปสู่การมีภาวะผู้นำอย่างแท้จริง

๒. องค์กร

พร้อมที่จะนำความรู้มุ่งช่วยพัฒนาเจ้าหน้าที่ในส่วนความรับผิดชอบ ให้มีขีดความสามารถ ควบคู่กับการเพิ่มพูนสมรรถนะ เพื่อให้ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน รวมถึงผลผลิตของงานนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีและรอบด้านมากขึ้น พร้อมกับจะช่วยส่งเสริม/ให้คำปรึกษาต่อเจ้าหน้าที่ ทั้งด้านการงาน (KM) และคุณธรรมเพื่อให้มีความประพฤติดีประพฤติชอบ มีขวัญ/กำลังใจ เพื่อจะได้ร่วมกันทำงานเพื่อองค์กรต่อไปอย่างยั่งยืน

๓. ประเทศชาติ

เมื่อตนเองมุ่งมั่นที่จะกระทำตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑ และ ๒ แล้ว เชื่อได้ว่าย่อมจะส่งผลดีต่อประเทศชาติได้อย่างแน่นอน

๔. จะทำอะไรต่อไป

แน่นอนว่าจะต้องดำเนินการแสวงหาความรู้ต่อไป ซึ่งต้องเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง

อย่างไรก็ดี ยังมีความเห็นบางประการที่อยากกระทำ คืออยากที่จะเป็นเฟืองตัวเล็กตัวหนึ่งในสังคมที่ช่วยผลักดันให้ พลังเงียบในสังคมไทย ได้มีบทบาทในการแสดงความเห็นและแสดงพลังอย่างสันติ ที่จะช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ในประเทศไทยโดยเร็ว

-----------------------------------------------------------------

เกรียงศักดิ์ สืบสายหาญ

ถึงลูกศิษย์ รุ่น 4 ทุกท่าน

-        เวลา 3 วันผ่านไปเร็วมาก โชคดีท่าน ผ.อ.สุวพันธ์ ได้มาเยี่ยม ผมและพวกเราด้วย ท่านเอาจริงเรื่อง พัฒนาคนและต่อเนื่อง

-        เวลาน้อย แต่ได้อะไรร่วมกัน โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัญหาที่เป็นเรื่อง คน 1 สัปดาห์ ผมจะส่ง บทความผ่านท่านประธาน 1 เรื่อง และจะได้ทำการบ้านร่วมกัน ส่วนอนาคตคงจะมีโอกาสได้พบกันอีก เพราะเรื่องบริหารภาวะผู้นำ ปัญหาและโอกาสที่เน้นคน ยังต้องทำอีกมาก

ขอบคุณครับ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รับความรู้เรื่อง HR เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจารย์ได้จุดประกายให้กับผู้เข้าอบรมเป็นอย่างมาก

2. จะนำความรู้ได้ปฏิบัติใช้กับองค์กรทันที่

3. จะปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ

3. จะนำความรู้ที่ได้ปรับแนววัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจนและดียิ่งขึ้น

1. การปรับเปลี่ยน Mindset ของตนเองให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2.ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายทั้งหมดให้กับเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง เพื่อจุดประกายความคิดเพื่อให้องค์กรมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

3. ทำงานแบบมีส่วนร่วมหรือทำงานแบบ Teamwork บนพื้นฐานของจริยธรรมและคุณธรรมเพื่อผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ

4. จะใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ อย่างไม่รู้จบสิ้น

1. ประโยชนที่ได้รับจะนำความรู้ทั้งทฤษฎีในการพัฒนาทฤษฎีเพื่อการพัฒนามนุษย์ นำมาปรับใช้กับการปฏิบัติงานและการวางแผนของตนเองในอนาคตต่อไป

2. องค์กรจะได้ประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้นำมาในการประยุกต์ ในการการพัฒนาสำคัญให้องค์กรแห่งการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์ขององค์กร

3. ประเทศชาติได้รับประโยชน์ถ้าหากบรรดาเจ้าหน้าที่สำคัญสามารถขับเคลื่อนนำองค์กรไปสู่ยุทธศาสตร์ที่สามารถเป็นประโยชน์ได้

4. จะนำความรู้ที่ได้นำไปปฏิบัติในการเผยแพร่ความรู้ใช้กับผู้ร่วมงานบรรดาเจ้าหน้าที่ สขช. ทุกคนที่ไปในการเรียนรู้ในการหลักสูตร

ช่วงเวลา 4 วันนี้ ได้เรียนรู้กับอาจารย์และทีมงาน ผู้เข้ารับการอบรมได้ประโยชน์ใช้ตนเองที่ดี นำหลัการบริหารจัดการมนุษย์ไปใช้กับองค์กรและงานของตนเอง

ประโยชน์องค์กร ประเทศชาติ คือการสร้างผู้นำ และผู้บริหารที่ดีคุณธรรมและจริยธรรม การเปลี่ยน Mindset ไปเน้นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์การทำงานเป็นทีม

สิ่งที่จะทำคิดไปคือ การเน้นบริหารจัดการ โดยเน้นเปลี่ยนแปลง ให้เป็นผู้นำที่ดี บริหารจัดการใช้ทรัพยากรมนุษย์

อุทัย กู้เกียรติกาญจน์

1.บรรยากาศการเรียนรู้ ทำให้เป็นการเรียนรู้ที่มีความสุข อ.จีระ สามารถถ่ายทอดความรู้ไ้ด้เป็นระบบ ผู้เรียนสามารถนำไปไตร่ตรอง ปรับใช้ได้ในสถานการณ์ืีที่เหมาะสม

2. นำองค์ความรู้ด้านภาวะผู้นำไปปรับใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา รวมทั้งองค์กร และประเทศชาติ

3.ในอนาคต สามารถนำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตครอบครัว ทำให้สังคมเป็นสุขโดยรวม

ประโยชน์ที่ได้

1. ตนเอง

- รู้จักที่จะเรียนรู้ตัวเอง คนที่อยู่รอบข้าง และคนที่อยู่ไกลออกไป

- ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับ MINDSET ของตัวเอง เพื่อรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อที่จะ RELEARN และ UNLEARN

- เต็มอิ่มในความรู้ที่อาจารย์ทุกท่านให้

- อ่านให้มากขึ้น

2. องค์กร

- หากการปรับเปลี่ยนตนเองประสบผลสำเร็จ ย่อมจะส่งผลให้องค์กรได้ประโยชน์ไปด้วย

- กระตุ้นให้มีการทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น เพื่อดึงศักยภาพของคนในองค์กรออกมาใช้ให้มากที่สุด

- ต่อไปนี้จะสนใจและศึกษาการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มากขึ้น

3. ประเทศชาติ

- เมื่อคนเป็นสุข ชาติก็จะเป็นสุข

การเรียนกับอาจารย์ได้รับประโยชน์มากทั้งความรู้และแนวคิดต่างๆ

1.สำหรับตนเองคือ ควรมุ่งมั่นทำงานมากขึ้นทั้ง work hard , work smart และ work ด้วยความ happy

2. ส่วนแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรคือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ การปรับวัฒนธรรมองค์กร

ให้เหมาะสมกับงานและยุคสมัย และการเพิ่มประสิทธิภาพ coaching การทำงาน

3. ต่อประเทศนั้นทำให้ตระหนักว่า ทรัพยากรมนุษย์สำคัญยิ่ง การเป็นคนมีคุณภาพจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งทั้ง

ต่อตนเอง องค์กร และชาติบ้านเมือง ทำให้มีแรงที่จะมุ่งมั่นทำงานให้จริงจังและเต็มที่มากขึ้น

4. ส่วนเรื่องที่สนใจศึกษาต่อคือ change management และ การ coaching

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

จากบทความเรื่อง ““คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ได้ทราบข่าวสารที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐของไทยและบุคคลที่มีชื่อเสียงในเวทีโลก เกี่ยวกับการสนับสนุนให้สังคมเล็งเห็นความสำคัญของการต่อต้านการคอรัปชั่นที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือประเทศนั้น ๆ แต่ผลกระทบแผ่ขยายถึงระดับนานาชาติด้วย (จากคอรัปชั่นถึงโลกร้อน+ความยากจน)

2.แนวโน้มของการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีภูมิคุ้มกันด้านการคอรัปชั่น เริ่มจากการปรับค่านิยมให้มีค่านิยมที่ถูกต้องในการนับถือคนเก่ง และมีคุณธรรม ควบคู่กัน ไม่ใช่นับถือแต่ความเก่งเพียงอย่างเดียว โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบหลักสนใจและผลักดันให้เป็นกระแสในวงกว้างเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของคนในสังคม

3.ร่วมรับรู้และรับทราบบทบาทของตนเองที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) หากได้เริ่มจากตนเองและถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัว เพื่อน คนใกล้ชิด เพื่อให้ร่วมกันแสดงออกถึงค่านิยมที่ถูกที่ควร

ประโยชน์ต่อองค์กร

1.ถือเป็นความท้าทายต่อผู้นำองค์กรที่จะแสดงจุดยืนและพิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงจังในการขับเคลื่อนการปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติตั้งแต่คนในองค์กร ไปจนถึงในประเทศ ให้ยอมรับแนวคิด ค่านิยม เรื่องคุณธรรม จริยธรรม มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จเพื่อตอบสนองกระแสทุนนิยม

2.แนวคิดในการริเริ่มและต่อยอดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ (การจัดประชุมนานาชาติ) ทั้งในระดับองค์กร ประเทศชาติ และประชาคมโลก ซึ่งหากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน มีการตื่นตัวและร่วมมือกันในการจัดงานระดับประเทศเช่นนี้ ก็จะยิ่งทำให้วัตถุประสงค์ได้รับการตอบสนองมากขึ้น เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

3.บทบาทของสื่อสารมวลชนในโลกปัจจุบันที่เป็นเสมือนโลกไร้พรมแดน การรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่อให้ถูกต้องทั้งเนื้อหา สาระ เวลา และรูปแบบ จะเป็นเสมือนการมีเครื่องมือพิเศษในการนำไปสู่เป้าประสงค์ต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้เสพอย่างยิ่ง (ตามทฤษฎี The New Visual Media)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท