กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ม.40 บัญญัติว่า "คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระททำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งและกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฏหมายบัญญัติ" จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน กม.รธน.มาตรานี้ไม่สามารถทำได้จนในขณะนี้ วิทยุชุมชนที่เป็นของแท้ๆที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อชุมชนหายากเสียเหลือเกิน ใกล้ศุนย์พันธ์แล้ว วิทยุชุมชนหรือวิทยุท้องถิ่น เป็นความใฝ่ฝันอันแสนงามของประชาชนทั้งนี้วิทยุชุมชนเป็นสถานีวิทยุท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยคนในท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมในท้องถิ่น ,เป็นกิจกรรมที่ไม่แสวงหากำไรหรือฝักไฝ่ในธุรกิจ เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของชุมชนท้องในด้านงบประมาณการบริหารจัดการการดำเนินการ ในต่างประเทศวิทยุชุมชนสามารถสร้างความรัก ความสามัคคีและการดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชนได้ส่งผลต่อการติดตามข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานต่างๆของชุมชนเป็นไปอย่างยร้างสรร ที่น่าสนใจวิทยุชุมชนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกฝน อบรมบ่มเพาะนักจัดการทุกรุ่นทั้งรุ่นเยาว์ รุ่นกลางและรุ่นใหญ่ได้แสดงออกในฐานะนักจัดรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลายต่อหลายคนพัฒนาจนสามารถจับงานด้านนี้เป็รงานอาชีพได้อย่างดี จนคนในชุมชนให้เกียรติ ยกย่อง ที่สามารถสร้างรายได้และอาชีพเป็นอย่างดี แต่หลังจากรัฐบาลมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช)ตรวจสอบเครื่องส่งและเสาสัญญานสถานนีวิทยุชุมชนที่ไม่อยู่ในเกณฑ์คลื่นส่ง 30วัตต์ เสาสูง30เมตร และมีรัศมีส่ง 15 กิโลเมตร หรือกระแสส่งรบกวนคลื่นหลักคลื่นโทรทัศน์ คลื่นวิทยุการบิน จะถูกจับกุมและระงับการออกอากาศทันที เรื่องนี้ส่งผลให้กลุ่มสถานีวิทยุที่นอกเหนือเงื่อนไขดังกล่าว กลายเป็นวิทยุเถื่อนทันที จึงมีการดิ้นรนเพื่อต่อรองให้รัฐเปิดเสรีให้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยุท้องถิ่นไทย ซึ่งเป็นวิทยุที่ดำเนินการโดยท้องถิ่น คนในท้องถิ่นแต่สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น เป็นการดำเนินการด้านธุรกิจวิทยุกระจายเสียงขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีกำลังส่งไม่เกิน 500วัตต์ และเสาสูงไม่เกิน 60เมตรครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัด มีการร่วมลงทุนของคนในท้องถิ่น มีการลงทุนในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท มีการถือหุ้น มีโฆษณาไม่เกิน 8 นาทีต่อชั่วโมงมีผู้สนับสนุนหรือโฆษณาในท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ70 มีข่าว สาระและเนื้อหาของรายการเพื่อบริการท้องถิ่นในสัดส่วนที่เหมาะสม ความต่างของวิทยุชุมชนและวิทยุท้องถิ่นไทยที่เห็นชัดเจนก็คือ ทุน ผูจัดหรือผู้ดำเนินรายการ เนื้อหาข้อมูลข่าสารจะเอื้อในส่วนของธึรกิจเป็นส่วนใหญ่ วิทยุชุมชนของแท้แท้จึงลดหายไปตามกาลเวลา ในเกือบทุกจังหวัดภาคอีสานเหลือวิทยุชุมชนของแท้น้อยมากจริงๆ ทำอย่างไรจะให้วิทยุชุมชนเกิดขึ้น ยืนอยูได้ สร้างสรร และทำประโยชน์ให้ชุมชนจริงๆองค์กรชุมชน คณะกรรมการชุมชน ช่วยกันพิจารณาของดีดีที่วิทยุชุมชนมีแล้วสรุปบทเรียน สร้างใหม่ มีงบประมาณของชุมชนดูแล ให้วิทยุชุมชนมันได้รับใช้ท้องถิ่นชุมชนอย่างจริงจริงจังจังก็คงจะดีไม่น้อย