Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ไม่เฉพาะคนสัญชาติไทยนะคะที่จ่ายภาษีบำรุงประเทศไทย...ดังนั้น เราจะอ้างเรื่องภาษีมาปฏิเสธสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนต่างด้าวไม่ได้นะคะ


อ่านข่าวเดลินิวส์ที่คุณหมอก้องแนบมาแล้ว เห็นการยกประเด็นภาษีอากรมาเป็นสาเหตุในการปฏิเสธ "ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ" แก่คนต่างด้าว

อ.แหววคิดว่า เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับสังคม คนจำนวนมากคิดว่า เฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้นที่เสียภาษีอากรแต่ความจริง มีมายาคติในเรื่องนี้อยู่มาก

ในประการแรก คนทุกคนที่มีเงินได้ในประเทศไทย ต้องจ่ายภาษีเงินได้หรือภาษีธุรกิจ ตามสัดส่วนเงินได้ ไม่ฉพาะคนสัญชาติไทยที่ต้องจ่ายภาษี คนต่างด้าวจ่ายภาษีทางตรงไม่น้อยนะคะ โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย คนต่างด้าวไม่มีเฉพาะชาวเขานี่นา

ในประการที่สอง คนทุกคนที่บริโภคในประเทศไทย ก็ต้องจ่ายภาษีทางอ้อม สารพัดอย่างค่ะ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม 

คำถามเกี่ยวกับภาษีเป็นเรื่องที่ต้องชัดเหมือนกัน เมื่อวาน ไม่ทราบคุณหมอตุ่ยเจอคำถามแบบนี้ในรายการตอบโจทย์ไหมคะ ต้องซักซ้อมการตอบเหมือนกันนะคะ

 ดังนั้น เรื่องของหลักมนุษยธรรมก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวค่ะ

หรือแม้ในกรณีคนต่างด้าวที่ไม่มีการเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย ก็ควรให้หลักประกันสุขภาพ แต่ก็ควรให้ผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่าย "เบี้ยประกันภัย" เองด้วย หลักความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเป็นอีกหลักที่ต้องนำมาใช้คิดอีกด้วย

สรุป อ.แหวว เสนอว่า การจัดการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงควรมีแนวคิด ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) หลักความเป็นธรรม (๒) หลักความรับผิดชอบต่อสังคม และ (๓) หลักมนุษยธรรม

เอาแค่นี้ก่อน แล้วค่อยมาว่ากันละเอียดๆ อีกที

ขอขอบคุณคุณหมอเทวดาทั้งหลายที่ลงมาช่วยอธิบายเรื่องต่างๆ นี้ต่อสังคม

หมายเลขบันทึก: 333324เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท